อย. เผย กรณีข่าวขนมและอาหารที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ขนมเยลลี่สตรอเบอรี่ ฟรุตบายเดอะฟุตสตรอเบอรี่ เป็นต้น เป็นอาหารซึ่งผู้นำเข้าไม่ได้ขอความเห็นชอบการใช้สีหรือวัตถุเจือปนอาหารกับทาง อย. และได้ดำเนินคดีตาม กฎหมายเรียบร้อยแล้ว ส่วนกรณีผลการวิจัยที่ระบุว่าสีสังเคราะห์ในอาหารก่อให้เกิดโรคสมาธิสั้นในเด็ก อย. ขอให้ ผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนก แนะควรหลีกเลี่ยงอาหารสีฉูดฉาด
ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยถึงกรณีที่ อย. เผยแพร่ข่าวผลดำเนินคดี ผู้นำเข้าขนมและอาหารจากต่างประเทศ เช่น ขนมเยลลี่สตรอเบอรี่ ฟรุตบายเดอะฟุตสตรอเบอรี่ และลูกอมวีดฟันแคนดี้ กลิ่นสตรอเบอรี่และองุ่น เนื่องจากมีการตรวจพบว่าอาหารดังกล่าวมีการใช้วัตถุเจือปนอาหาร เช่น สีสังเคราะห์ วัตถุกัน เสีย หรือซัคคาริน โดยผู้นำเข้ามิได้ขอความเห็นชอบการใช้วัตถุเจือปนอาหารเหล่านั้นกับทาง อย. ดังนั้น จึงจัดเป็นการฝ่า ฝืนประกาศที่ออกตามมาตรา6(5) มีโทษตามมาตรา 47 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ทั้งนี้ทาง อย. ได้ ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับกรณีที่มีข่าวทางหนังสือพิมพ์ ถึงผลการวิจัยจาก มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษที่มีการระบุว่า การใช้สีสังเคราะห์ผสมอาหารร่วมกับสารโซเดียมเบนโซเอต ซึ่งใช้เป็นวัตถุ กันเสียในอาหารประเภทขนมหวาน ลูกกวาด ลูกอม ไอศกรีม น้ำผลไม้และน้ำอัดลม อาจเป็นสาเหตุให้เด็กอายุระหว่าง 3-9ปี มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งหรือเป็นโรคสมาธิสั้นเพิ่มขึ้นนั้น กรณีนี้ อย. ไม่ได้นิ่งนอนใจและติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด และพบว่าคณะกรรมการสำนักความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) ได้ พิจารณาและประเมินผลการวิจัยดังกล่าวแล้วมีมติไม่รับรองผลการศึกษา เนื่องจากยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีการเก็บข้อมูล ทางสถิติ และยังไม่มีข้อมูลที่สามารถอธิบายกลไกของ สีสังเคราะห์และวัตถุกันเสียที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กที่แน่ชัด ดังนั้น จึงให้คงค่าความปลอดภัยในการบริโภค (ค่า ADI) ของสีสังเคราะห์และวัตถุกันเสียเหล่านี้ไว้เท่าเดิม และ อย. ยัง ไม่มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเกี่ยวกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารกลุ่มนี้ในขณะนี้ โดย อย. จะได้มีการติดตามข้อมูลและ สถานการณ์ความปลอดภัยในกรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป
รองเลขาธิการ ฯ กล่าวต่อไปว่า อย. ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด และ ได้มีมาตรการที่คุมเข้มเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคอยู่แล้ว โดยวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดที่ใช้ จะต้องผ่าน กระบวนการประเมินความปลอดภัยและกำหนดค่าความปลอดภัยในการใช้ เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ นอกจากนี้ อย.ได้เฝ้าระวังอาหารกลุ่มเสี่ยงที่มีการใช้วัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ผสมอาหารโดยตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐานของผลิตภัณฑ์อาหาร สถานประกอบการ รวมทั้งการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม อย . ขอให้ผู้ปกครองและเด็ก ๆ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีสีฉูดฉาด ควรสังเกตที่ฉลากว่าอาหาร หรือเครื่องดื่มนั้นใช้สีสังเคราะห์หรือวัตถุกันเสียหรือไม่ และควรหลีกเลี่ยงการให้เด็กบริโภค
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)