อย. ร่วมกับตำรวจกองบังคับการปราบปราม จับผู้ลักลอบขายยาทำแท้งผ่านเน็ต และจับร้านขายยาที่ไม่มีใบอนุญาต ลักลอบขายยาผิดกฎหมาย ดำเนินคดีอย่างเข้มงวด
ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาและพล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผู้บัญชาการตำรวจ สอบสวนกลาง แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ติดตามเฝ้าระวังการขายยาผิดกฎหมายผ่านทางอินเทอร์เน็ตมาโดยตลอดอย่างใกล้ชิด และประสานงานกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการปิดเว็บไซต์ และหาผู้กระทำผิด เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย นั้น ในวันนี้ (13 มีนาคม 2552) ตำรวจกองบังคับการปราบปรามร่วมกับเจ้าหน้าที่กองควบคุมยา อย. ได้สืบทราบว่ามีผู้ลักลอบขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องและขายยาที่อวดอ้างเป็นยาทำแท้ง ดังนั้น อย. และทางตำรวจได้ทำการล่อซื้อยา ผลปรากฏว่า สามารถจับกุมบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมลักลอบขายาดังกล่าว ณ ที่ทำการไปรษณีย์ พร้อมของกลางยาทำแท้ง จำนวน 7 ซอง จึงดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากนี้ ยังได้ขอหมายศาล เพื่อตรวจค้นร้านขายยา 2 แห่ง ที่จังหวัดนครปฐม โดยร้านขายยาทั้ง 2 แห่ง ไม่มีใบอนุญาตขายยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยร้านขายยาแห่งหนึ่งอ้างว่า อยู่ระหว่างการยื่นขออนุญาต แต่อีกแห่งหนึ่งได้ปิดกิจการแล้ว แต่ยังพบว่าลักลอบขายยาที่ผิดกฎหมายอยู่ รวมทั้ง ยังได้ตรวจค้นสถานที่เก็บยาอีก 1 แห่ง ที่ไม่มีใบอนุญาต พบยาชื่อว่า Kamagra ซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา โดยเลียนแบบยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แต่ไม่เจอของกลางที่เป็นยาทำแท้ง พบเพียงยา โอ้อวดสรรพคุณทางเพศดังกล่าว ทั้งหมดนี้ อย. และกองปราบปราม จึงแจ้งดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดกฎหมาย ข้อหาขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ ข้อหาขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผลการตรวจพิสูจน์พบเป็นยาปลอมที่มีการลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ ก็จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 -10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อการโฆษณาขายยาที่อวดอ้างว่าเป็นยาสำหรับทำ แท้งผ่านทางเว็บไซต์ หากซื้อมาใช้อาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น ตกเลือด ติดเชื้อ แท้งไม่สมบูรณ์ รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ยาที่ลักลอบขายผ่านทางเว็บไซต์มักเป็นยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ซึ่งไม่มีผู้รับรองความปลอดภัย และประสิทธิภาพของยาหรืออาจเป็นยาที่ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นยาปลอม หรือยาเสื่อมคุณภาพได้ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้ยา แต่หากพบยาต้องสงสัยและไม่ปลอดภัยในการใช้ หรือพบเห็นเว็บไซต์ที่มีการโฆษณาขายยาที่ผิดกฎหมาย ขอให้ร้องเรียนแจ้งมายัง สายด่วน อย. โทร. 1556 เพื่อ อย. จะได้ติดตามตรวจสอบเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดและลงโทษสถานหนักแก่ผู้กระทำความผิดต่อไป
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)