บทความ

กรณีศึกษา การปนเปื้อนตะกั่วของลำห้วยคลิตี้

by twoseadj @March,16 2009 19.36 ( IP : 117...41 ) | Tags : บทความ
photo  , 300x198 pixel , 30,720 bytes.

กรณีปัญหาห้วยคลิตี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2541 โดยมีสาเหตุจากกิจกรรมการลอยแร่ตะกั่วของโรงงานแต่งแร่บริษัทตะกั่วคอนเซนเตรทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ปล่อยน้ำขุ่นข้นจากบ่อกักเก็บตะกอนหางแร่ลงสู่ห้วยคลิตี้จนเกิดการปนเปื้อนของสารตะกั่วในลำห้วยจากโรงแต่งแร่จนถึงบริเวณน้ำตกคลิตี้ล่างเป็นระยะทาง 19 กม. กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหา มีมติให้บริษัทดังกล่าว ดำเนินการฟื้นฟูห้วยคลิตี้ ซึ่งบริษัทฯ ได้ขุดลอกตะกอนในลำห้วย จนเกิดการฟุ้งกระจายของสารตะกอน คณะทำงานฯ จึงมีมติให้สร้างฝายหินทิ้งเพื่อดักตะกอนในปี 2545

กรมควบคุมมลพิษ นำเรื่องการประกาศพื้นที่บริเวณห้วยคลิตี้เป็นเขตควบคุมมลพิษ เสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2548 คณะกรรมการฯ มีความเห็นไม่มีความจำเป็นให้ประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ การดำเนินการฟื้นฟูควรปล่อยให้มีการฟื้นฟูตามสภาพธรรมชาติและให้กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์โรคจากสารตะกั่วต่อชุมชนเสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต่อไป ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 กรมควบคุมมลพิษ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หารือแนวทางการจัดการตะกอนในห้วยคลิตี้ โดยสรุปข้อดี ข้อเสีย ของการปล่อยให้มีการฟื้นฟูโดยธรรมชาติและการขุดลอกตะกอนท้องน้ำ ที่ประชุมส่วนใหญ่มีความเห็นให้ควรปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ และจากการที่ประชุมกรมควบคุมมลพิษร่วมกับจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา 15 มีนาคม 2549 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธาน และมีผู้แทนจากภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ชาวบ้านและสื่อมวลชนเข้าร่วม มีความเห็นให้ลำห้วย คลิตี้ฟื้นตัวเองด้วยธรรมชาติ ให้กรมควบคุมมลพิษติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในลำห้วยคลิตี้และแจ้งข้อมูลให้ชาวบ้านรับทราบเป็นระยะ ๆ

จากการติดตามตรวจสอบของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งคุณภาพน้ำมีตะกั่วละลายน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ส่วนปริมาณตะกั่วทั้งหมดยังพบว่าบางจุดมีค่าสูงกว่า 0.05 มก./ล ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน อาจเนื่องจากการตรวจสอบอยู่ในช่วงฤดูฝนมีน้ำไหลแรงทำให้ตะกอนฟุ้งกระจาย ตะกั่วในตะกอนดินท้องน้ำมีค่า 115 - 87,918 มก/กก. ยังไม่มีค่ามาตรฐานกำหนด โดยจุดที่มีประมาณสูงจะอยู่ใต้โรงแต่งแร่และมีแนวโน้มลดลงตามระยะทางท้ายน้ำ ตะกั่วในดินบริเวณหมู่บ้านคลิตี้บน บ้านคลิตี้ล่างและบริเวณลำห้วยคลิตี้บางจุด โดยเฉพาะบริเวณบ้านคลิตี้บนมีค่าสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพน้ำประปาภูเขาและแหล่งน้ำธรรมชาติพบว่าค่าตะกั่วน้อยกว่า 0.005 มก./ล. ทุกตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสามารถนำมาอุปโภคบริโภคได้ตามปกติ พืชผักบริเวณบ้านคลิตี้บนและคลิตี้ล่างจากตัวอย่าง 28 ชนิด พบว่ามี 12 ชนิด ได้แก่ ข่า ผักชี ฝรั่ง คะน้า ผักกาด มะเขือพวง ยี่หร่า กระเพรา ตะไคร้ มะละกอ ฝักกูด พริกไทยและกระเจี๊ยบมีค่าตะกั่วเกินมาตรฐานอาหารที่มีการปนเปื้อนตามประกาศกระทรวงสาธารสุข จากการตรวจสอบดังกล่าว กรมควบคุมมลพิษ ได้แจ้งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวบ้านรับทราบทุก 3 เดือน

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง