สร้างจินตนาการ ต้านขนมถุง
รายจ่ายกว่า ร้อยละ 20-40 ของครัวเรือนในประเทศไทยถูกใช้เพื่อเป็นเงินค่าขนมของเด็ก
กว่าหมื่นล้านบาท คือค่าใช้จ่ายที่ถูกใช้ผ่านการโษณาขนมของเด็กเพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้า
รวมแล้วนับแสนล้าน เป็นค่าใช้จ่ายที่ประชาชนไทย 62 ล้านคน ต้องจ่ายในเรื่องของขนมเด็ก แต่ผลที่ได้รับกลับมาคือ การสำรวจพบว่ามีจำนวนของเด็กป่วยด้วยโรคอ้วนเพิ่มขึ้น และ พบเด็กอายุเพียง 3 ขวบ ป่วยด้วยโรคไต<br />
เรื่องราวเหล่านี้ถูกรวบรวมเละเก็บเป็นประเด็นที่ใช้พูดคุย ในสภาผู้บริโภค ครั้งที่ 3 ที่ใช้ชื่อว่า “ขนมเด็กเรื่องเล็กจริงหรือ” ที่ได้จัดขึ้นเมื่อ วันที่ 22 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา ณ. โรงแรมไดอิชิ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา
แม้ยังไม่มีผลการศึกษาที่ยืนยันชัดเจนว่า สถิติเด็กป่วยด้วยโรคอ้วน หรือ พบเด็กที่ป่วยด้วยโรคไตในวัยเพียง 3 ขวบปี จะเป็นผลกระทบที่เกิดจากการบริโภคขนมถุง ขนมซอง เพียงอย่างเดียว แต่จะมีใคร กล้าออกมาปฏิเสธว่า ขนมถุงที่มีส่วนประกอบหลัก คือ แป้ง เกลือ และผงชูรส ไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดผลกระทบเหล่านี้กับเด็ก<br />
เด็กด้วยวัยที่ไร้ประสบการณ์ในการใช้ชีวิต ขาดข้อมูลในการตัดสินใจเลือก ในสังคมที่พ่อแม่ต่างต้องเร่งทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว ปัญหาที่เกิดขึ้น ผมไม่อยากคิดและสรุปเอาว่า “พ่อแม่ปล่อยปละละเลยลูก” เพราะจากข้อมูลเรื่องรายจ่ายเรื่องขนมเด็กที่มีการนำเสนอ บอกชัดเจนว่า ทั้งพ่อแม่ ความสำคัญกับนี้ไม่น้อยไปกว่าเรื่องอื่นๆ จนทำให้ผู้ผลิตกล้าที่จะทุ่มเงินจำนวนไม่น้อยในการประเคนขนมถุงเหล่านี้ให้กับเด็กๆ ตรงถึงที่นอน อย่างเร่งด่วนโดยไม่มีวันหยุดพักแม้ในวันหยุดราชการ ผ่านการโฆษณาทางโทรทัศน์ ด้วยวิธีการต่างๆ ที่สามารถเร้าให้เด็กเกิดความรู้สึกอยากใช้สินค้าที่นำเสนอ และที่ร้ายกว่านั้นคือ การโฆษณาเหล่านี้ได้เชื่อมโยงจินตนาการของเด็กเข้ากับตัวสินค้าเพื่อสร้างให้เด็กเป็นผู้บริโภคที่ซื่อสัตย์กับตัวสินค้า
หากลองมองย้อนกลับไปในสมัยเมื่อผมยังเป็นเด็กการเข้าถึงขนมถุงเหล่านี้คงเป็นไปได้ยากกว่าในปัจจุบัน เมื่อราคาสินค้าในร้านของชำข้างบ้าน ตอนนั้น ไข่ไก่ ฟองละ 2 บาท ขนมถุงซองละ 5 บาท โรตีกรอบ ชิ้นละ 1 บาท และค่าขนมเด็กชั้นป.2 อยู่ที่วันละ 3 บาท ทางเลือกจึงอยุ่ที่โรตีกรอบ แต่ในปัจจุบัน ราคาไข่ฟองละ 3 บาทขาดตัว ราคาขนมถุงในหีบห่อสวยงามบวกค่าจ้างดาราวัยรุ่นมาบอกว่านี่คือรสชาดของเด็กรุ่นใหม่ รวมแล้ว 5 บาท โรตีกรอบ 3 ชิ้น ในถุงพลาสสติกใสรัดด้วยยางวง ราคา 5 บาทเท่ากัน และค่าขนมเด็กชั้น ป. 2 ที่น่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว ทางเลือกจึงอยู่ที่ขนมซองอย่างไม่ต้องสงสัย จึงเป็นเรื่องที่น่าลองนำมาคิดูว่าหากลองหาขนมพื้นบ้านสักอย่างมาให้เป็นทางเลือกให้เด็กได้ทดลอง เราจะทำยังไงให้ขนมชนิดนั้นสามารถเรียกความสนใจจากเด็กได้บ้าง<br />
“สร้างพื้นที่ทางจินตนาการให้กับขนมพื้นบ้านสิ” พี่โต เทพรัตน์ จันทพันธ์ ผู้มีประสบการณ์โชกโชนในการทำงานร่วมกับเด็ก จากกิจกรรมของเลสาปเจ้าเอย เสนอความเห็นโดยให้ความหมายของ จินตนาการ ไว้ว่าเป็นความรู้สึกนึกคิด ที่อยู่เหนือกว่าความรู้ ซึ่งขอบเขตของความรู้จำกัดอยู่แต่เพียงการสามารถคิดได้ถึงรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส แต่ในส่วนของจินตนาการ คือความสามารถในการรู้สึก และคิดต่อเพิ่มเติม ได้จากสิ่งที่เห็น ดังนั้นจินตนาการของขนมพื้นบ้านจึงเป็นความรู้สึกนึกคิดด้านต่างๆ ที่มีต่อขนมพื้นบ้าน และการสร้างพื้นที่ให้กับจินตนาการในตัวเด็ก ย่อมเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เด็กเลือกกินขนมพื้นบ้านที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้ นอกจากวิธีคิดแล้วพี่โตยังได้นำเสนอวิธีการปฏิบัติ โดยต้องมีการร่วมมือกันของคนในชุมชนเพื่อดูแลเด็กๆ ที่ถือว่าเป็นลูกหลานของชุมชนร่วมกัน ผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถได้เนื่องในโอกาสต่างๆ ยกตัวอย่าง เทศกาลวัน สารทเดือน 10 ที่กำลังจะมาถึงนี้ หากมีหน่วยงานส่วนท้องถิ่นร่วมมือกับทางครู ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ ได้จัดกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาส ร่วมขูดมะพร้าว ผสมแป้ง นวดแป้ง ปั้นขนม และทอดให้ออกมาเป็นขนมเจาะหู และระหว่างที่ทำขนมก็ได้รับฟังเรื่องราวความเป็นมาของเทศกาลวันสารทเดือน 10 บอกถึงที่มา และความหมายในเชิงสัญลักษณ์ของขนมเจาะหู ที่มีความหมายแทนเงินทองให้บรรพบุรุษได้นำติดตัวไปใช้ในโลกหน้าเป็นการสอนให้เด็กรุ้จักความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ที่สำคัญทำให้เด็กได้รู้จักขนมเจาะหูในมุมที่มากกว่าขนมพื้นบ้านที่ทำจากแป้ง มะพร้าว และน้ำตาล ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกกินขนมของเด็กด้วย
การกันพื้นที่ในจินตนาการเด็กบางส่วนไว้สำหรับขนมพื้นบ้าน คงเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ช่วยดูแลพฤติกรรมการกินขนมของเด็ก ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้สุขภาพของเด็กดีขึ้น แล้วยังสามารถช่วยสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นระหว่างคน ต่างวัยอีกด้วย เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการป้องกันเด็กจากขนมถุงที่สามารถเริ่มได้ที่ตัวเราเอง ที่บ้าน และในชุมชน ควบคู่ไปกับการต่อสู่ทางความคิดกับคนส่วนใหญ่ในสังคมให้หันมาใส่ใจเรื่องขนมถุง เรื่องเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยเล็ก
ผลประโยชน์ทางการตลาดที่ผู้ใหญ่กำหนด ทิศทางการบริโภคสร้างความอยากบนรายได้มหาศาลของผู้ประกอบการรายใหญ่ ยักษ์ในวงการบริษัทขนมอาจจะไม่รู้สึกสะเทือน แต่นั่นเป็นแนวคิดภูมิคุ้มกันในชุมชนที่ต้องประกอบด้วยนโยบายใส่ใจของภาครัฐที่ต้องจริงใจต่อการโฆษณาในทีวี ฉลากขนมที่บอกข้อเท็จจริงทางคุณค่าของอาหาร ข้อควรระวังในเด็กเล็ก หญิงท้อง มาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคม คือสิ่งที่สภาผู้บริโภคคาดหวังให้เป็นทางออกของแนวลุกในลัทธิบริโภคนิยมนี้
โดย ..วรชาติ มอแป
Relate topics
- รณรงค์เลิกใช้โฟม
- รายการสงขลามหาชน ตัวอย่างอาหารของแม่ ตอน " บทบาทของพ่อ " อาหารของแม่ สร้างความอบอุ่นของครอบครัวกับมื้ออร่อยที่แม่บรรจงปรุงเพื่อลูก
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู( http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู(7 เม.ย 5…: http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- รายการอาหารของแม่ ตอน " อาหารคือภาคีและพื้นที่ " เปิดอร่อยด้วย ยำบัวบก สูตรสมุนไพรภูมิปัญญาถิ่น อบต.ท่าข้าม ของป้ายุพา ผลชนะ