สคบ. เบรกศัลยกรรมด้วย “ไบโอเทคนิค”
ความสวยความงามในสมัยนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของ “บุญทำ กรรมแต่ง” “บุฯพา วาสนาส่ง” หรือ “พันธุกรรมฝ่ายบิดา มารดา” แต่ประการเดียว แต่ขึ้นอยู่กับ “ความกล้าตัดสินใจเสี่ยงและเงิน ในกระเป๋า” เป็นสำคัญ
ไม่ว่าเพศชายหรือเพศหญิงในปัจจุบันสำหรับความสวยงามแล้วเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญนำหน้าเรื่องอื่นใด และมีสถานบริการด้านความสวยความงามเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า เพื่อรองรับความต้องการนั้น อุปสงค์และอุปทานทางการตลาดต่างสอดคล้องพอดี ทั้งบุคคลที่ประสบปัญหาไม่ได้ตั้งใจ เช่น ประสบอุบัติเหตุ พิการมาแต่กำเนิด หรือบุคคลที่ต้องการเสริม เติม แต่งใน “ทุกส่วน” ของร่างกาย “สวยด้วยแพทย์” จึงเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับคนยุคนี้
โดยแต่ละสถานเสริมความงาม คลินิกหรือโรงพยาบาลจะมีกรรมวิธีแตกต่างกันไป นอกจากการผ่าตัดแล้ว วิธีการฉีดสารเข้าไปก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพราะเห็นผลทันใจ ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจศัลยกรรมควรศึกษาและสอบถามแพทย์ก่อนเข้ารับการศัลยกรรมถึงสารที่จะนำมาเสริม เติม แต่ง แก้ไข ทั่วสรรพางค์กายก่อนที่สารเหล่านั้นจะมาติดอยู่กับตัวเรา “ชั่วชีวิต”
วันนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แจ้งเตือนสาว ๆ และ หนุ่ม ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจ “สวย หล่อด้วยมือหมอ” ว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) ได้พิจารณา ออกคำสั่งห้ามผู้ประกอบธุรกิจขายสารที่ใช้ในวิธี “ไบโอเทคนิค” เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการทดสอบหรือพิสูจน์ได้ว่าสารที่ใช้นั้นไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค
วิธีศัลยกรรมตกแต่ง “ไบโอเทคนิค” นี้เป็นวิธีที่ไม่เคยผ่านกระบวนการวิจัยอย่างถูกขั้นตอนตามหลักวิชาการแพทย์ และสารที่ใช้ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และคณะกรรมการบริหารสมาคมศัลยกรรมตกแต่งแห่งประเทศไทย ได้มีมติให้ แพทย์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้“ระงับการฉีดสารเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยด้วยวิธีไบโอเทคนิค จนกว่าจะมีหลักฐานข้อมูลใหม่ที่ทำให้พิสูจน์ได้ว่าไม่ทำอันตรายและความเสียหายแก่คนไข้”
เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ร้องเรียนจากการเข้ารับการทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า เพื่อแก้ไขริ้วรอยจากสถานบริการด้วยสารที่ใช้ในวิธีไบโอเทคนิคแล้วปรากฏว่า ใบหน้าของผู้ร้องได้รับความเสียหาย ซึ่งความเสียหายดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นความเสียหายอย่างถาวรหรือยากแก่การแก้ไข
สำหรับคำสั่งห้ามขายสารที่ใช้ในวิธีไบโอเทคนิคเป็นการชั่วคราว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่๔ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการทดสอบหรือพิสูจน์ได้ว่าสารที่ใช้นั้นไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค สำหรับคำสั่งห้ามขายสารที่ใช้ในวิธีไบโอเทคนิคเป็นการชั่วคราวนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจต้องการจะขาย ผลิต สั่ง หรือนำเข้ ามาในราชอาณาจักรให้ติดต่อกับสคบ.โดยเร็วที่สุด เพื่อดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าดังกล่าวว่าไม่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคเพื่อจะรู้ผลได้ภายใน ๓๐ วัน มิฉะนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย
เคราะห์ข่าวการทำไบโอเทคนิค
1.การให้ข้อมูลที่แท้จริงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทยสภา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และกรมการแพทย์ ถึงโทษและประโยชน์ของการทำไบโอเทคนิค ผลกระทบตามมา
2.การมีมาตรการทงกฎหมายมาควบคุม การทำศัลยกรรมด้วยวิธีไบโอเทคนิค
3.การส่งเสริมจรรยาบรรณทางวิชาชีพแพทย์ เรื่องการรักษาคนไข้หรือการกระทำไดๆกับคนไข้โดยมิได้อธิบายถึงประโยชน์และโทษที่แท้จริงของวิธีการรักษาหรือขั้นตอน เพื่อให้คนไข้ตัดสินใจ
4.การทคี่แพทย์หลายท่านมักจะคิดค้นวิธีการรักษาแบบใหม่ๆๆและจะทดลองโดยมิได้ผ่านการพิจารณาทางจริยธรรม อันเป็นการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาของแพทย์
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)จึงได้แจ้งเตือนผู้บริโภคถึงวิธีศัลยกรรมตกแต่ง “ไบโอเทคนิค” ว่าเป็นวิธีที่ไม่เคยผ่านกระบวนการวิจัยอย่างถูกขั้นตอนตามหลักวิชาการแพทย์และสารที่ใช้ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารสมาคมศัลยกรรมตกแต่งแห่งประเทศไทย ได้มีมติให้ แพทย์ที่เกี่ยวข้องงดการฉีดสารเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยด้วยวิธีไบโอเทคนิค จนกว่าจะมีหลักฐานข้อมูลใหม่ที่ทำให้พิสูจน์ได้ว่าเป็นอันตรายแก่คนไข้ รวมทั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(คคบ.) ได้ออกคำสั่งห้ามผู้ประกอบธุรกิจขายสารที่ใช้ในวิธี “ไบโอเทคนิค” ชั่วคราวจนกว่าจะมีการทดสอบหรือพิสูจน์ได้ว่าสารที่ใช้นั้นไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค หากผู้ประกอบธุรกิจต้องการจะขาย ผลิต สั่ง หรือนำเข้ ามาในราชอาณาจักรให้ติดต่อกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)โดยเร็วที่สุด เพื่อดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าว่าไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค มิฉะนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย
Relate topics
- กรณีศึกษา อย.เตือนยาคีไตรโซนผิดมาตรฐาน-อันตราย สั่งเก็บทุกสถานพยาบาล
- กรณีศึกษา อย.เผยพบแบคทีเรียปนเปื้อน “น้ำยาบ้วนปากออรัล-บี” เตือน ปชช.ระงับใช้
- กรณีศึกษา สลด!! ว่าที่ "นิสิตเภสัช" ม.มหาสารคาม กินยาลดความอ้วนดับ น้องสาวเผยกลัวใส่ชุดไม่สวย
- กรณีศึกษา สั่งถอนยา "บีเวลล์" แก้เซ็กซ์เสื่อมอาจมีผลข้างเคียงถึงตาย!
- กรณีศึกษา ธนาคารมีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมอย่างอื่นนอกเหนือจากดอกเบี้ยหรือไม่