กรณีศึกษา - ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

รวบรวมข่าวที่เกิดขึ้นในสังคม พร้อมวิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไข

กรณีศึกษา กะปิเคลือบขี้ผึ้ง

by twoseadj @March,13 2009 19.59 ( IP : 222...27 ) | Tags : กรณีศึกษา - ผลิตภัณฑ์สุขภาพ , อาหาร
photo  , 245x267 pixel , 26,142 bytes.

การใช้ขี้ผึ้งพาราฟิน (Paraffin Wax) เคลือบผิวหน้าผลิตภัณฑ์กะปิ เพื่อป้องกันไม่ให้กะปิเปลี่ยนสีนั้น อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้

นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับการแจ้งให้ตรวจสอบกะปิเคลือบขี้ผึ้งที่เตรียมส่งไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป (อียู) พบว่า ขี้ผึ้งพาราฟิน เป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นจากปิโตรเลียม มีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ คล้ายกับขี้ผึ้ง จุดหลอมเหลวที่ 47-64 องศาเซลเซียส

ขี้ผึ้งพาราฟินบริสุทธิ์มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ไม่ละลายน้ำ แต่จะละลายได้ดีในอีเทอร์ (Ether) เบนซีน (Benzene) และเอสเทอร์บางชนิด (Certain esters) ทั้งนี้ พาราฟินมักนำมาทำเทียนไข เคลือบไขผ้า กระดาษ ไขเนยแข็ง และวัสดุต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นทำให้เกิดการแข็งตัวและจับตัวเป็นก้อน หรือเคลือบไขเพื่อป้องกันรักษาพื้นผิวต่างๆ จากน้ำและความชื้น ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง เป็นต้น

อย่างไรก็ดี การใช้ขี้ผึ้งพาราฟินเคลือบผิวหน้าผลิตภัณฑ์กะปิเพื่อส่งออกไปยังอียูนั้น ขณะนี้อียูไม่อนุญาตให้ใช้ขี้ผึ้งพาราฟินสัมผัสกับอาหารโดยตรง เนื่องจากอาจเกิดการปนเปื้อนของน้ำมันและสารอันตรายอื่นๆ ที่เป็นพิษ และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ จากการประเมินข้อมูลความเสี่ยงด้านพิษวิทยาของ Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (JECFA) ได้ถอนค่า Acceptable Daily Intake (ADI) ซึ่งแสดงถึงความไม่ปลอดภัยในการใช้ขี้ผึ้งพาราฟินในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากพบอาการไม่พึงประสงค์ของสัตว์ทดลองที่ได้รับขี้ผึ้งพาราฟินที่มีความเข้มข้นต่ำ เช่น ทำให้เซลล์ตับเกิดความผิดปกติ และอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

จึงขอเตือนผู้ประกอบการผลิต หรือส่งออกผลิตภัณฑ์กะปิ อย่าใช้ขี้ผึ้งพาราฟินเคลือบผิวหน้ากะปิโดยเด็ดขาด และอย่าซื้อกะปิที่เคลือบผิวหน้าด้วยขี้ผึ้งพาราฟินมารับประทาน หาก อย.ตรวจพบการปนเปื้อนพาราฟินในอาหาร จะถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ซึ่งตามกฎหมายกำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต/นำเข้า เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารไม่บริสุทธิ์ หากผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อแก้ไข

1.มีการตรวจสอบกะปิ ว่ามีสารพาราฟินปนเปื้อนหรือไม่ หาก อย.ตรวจพบการปนเปื้อนพาราฟินในอาหาร จะถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ซึ่งตามกฎหมายกำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต/นำเข้า เพื่อจำหน่ายซึ่งอาหารไม่บริสุทธิ์ หากผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.ในกรณีของกะปิที่วางขายตามท้องตลาด ก็สังเกตว่าผ่านการตรวจสอบของอย.หรือยัง ถ้ายังก็ต้องติดต่อสอบถาม หรือเลือกที่จะไม่ซื้อ

3.รณรงค์ให้มีการป้องกันการผลิตและบริโภค

4.ศึกษาผลกระทบ โอกาส ของการบริโภคพาราฟิน ต่อเนื่องในเว็บเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

Comment #1
นิภาพร อุ่นเจริญ
Posted @August,05 2010 12.39 ip : 222...167

ขอไห้มีข้อมูลมากกว่านี้อีก

Comment #2
MALI
Posted @August,05 2010 12.43 ip : 222...167

ข้อมูลน้อยมาก

Comment #3........
........
Posted @January,04 2011 14.31 ip : 125...4

อยากได้ข้อมูลมากกว่านี้ น้อยเกินไป ควรปรับปรุงโดยด่วนที่สุด

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง