"กรีนพีซ" ชี้อาหารเปื้อน "จีเอ็มโอ" อีก 5 ชนิด
หนังสือพิมพ์ "ข่าวสด" วันที่ 14 มิถุนายน 2544 แจ้งว่า น.ส. อวยพร สุธนธัญญากร เจ้าหน้าที่รณรงค์เทคโนโลยีทางชีวภาพ กลุ่มกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า
กรีนพีซได้ส่งผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กและอาหารเสริม 21 ชนิดที่วางจำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ตใน กทม. ไปตรวจที่บริษัทฮ่องกง ดีเอ็นเอ ชิปส์ จำกัด เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2551 ที่ผ่านมา พบว่า มีผลิตภัณฑ์ 5 รายการที่มีผลบวกปนเปื้อน "จีเอ็มโอ" ได้แก่
ผลิตภัณฑ์อาหารเด็กเนสต์เล่ซีรีแลค สูตรธัญพืชผสมผักรวม ของบริษัทเนสท์เล่ ประเทศไทย จำกัด
อาหารเสริมสำหรับผู้ใหญ่ เอนชัวร์ ฟริโซซอย ของบริษัท แอ๊บบอด ลาบอแรตอรีส จำกัด
นมผงดัดแปลงสำหรับทารก ตรา ไวเอทเอส 26 ของบริษัทไวเอท-เอเยิร์สท ประเทศไทย จำกัด
อาหารทารกสูตรโปรตีนจากถั่วเหลือง ฟริโซซอย ของบริษัทโฟร์โมสต์ อินเตอร์เนชั่นเนลฟูดส์
อาหารสำหรับทารกที่มีระบบย่อยผิดปกติ ไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ยี่ห้อ ไอโซมิล บริษัท แอ๊บบอด ลาบอแรตอรีส จำกัด
ข่าวแจ้งว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเด็กในประเทศฟิลิปปินส์ และ ฮ่องกง ก็ตรวจสอบพบเช่นกัน ขณะที่ บริษัทเนสท์เล่ยืนยันว่าจะไม่ให้วัตถุดิบที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอกับอาหารเด็กในยุโรป
วิเคราะห์บทความ
จากบทความที่ได้อ่านจะเห็นได้ว่า เมื่อทางกลุ่มกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ออกมาตรวจสอบผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและอาหารเสริม จำนวน 21 ชนิดที่วางจำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ตในกรุงเทพมหานครแล้วนำไปตรวจที่บริษัทฮ่องกง ดีเอ็นเอ ชิปส์ จำกัด แล้วพบว่ามีการปนเปื้อนของจีเอ็มโอ ซึ่งจีเอ็มโอนั้นเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยขึ้นโดยการดัดแปลงพันธุกรรม ที่เกิดจากการตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มาใส่เข้าไปในยีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เพื่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ขึ้น ที่มีคุณลักษณะตามต้องการ ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่มีผู้ใดกล้ายืนยันได้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของจีเอ็มโอนั้น จะมีความปลอดภัยต่อการบริโภคในระยะยาวมากน้อยเพียงใดเนื่องจากมีการทดลองระยะสั้นเท่านั้น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าในปัจจุบันการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ต่างๆอาทิเช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กก็ควรมีความระมัดระวังในเลือกซื้อมากขึ้นโดยอาจจะเลือกซื้อจากบริษัทที่มีการรับรองจากสำนักงานอาหารและยาว่ามีความปลอดภัยเพราะบางบริษัทถึงแม้จะเป็นบริษัทชื่อดังก็ยังมีการปนเปื้อนของสารต่างๆในผลิตภัณฑ์
การแก้ไขปัญหา
1) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ควรเข้ามาตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆในเรื่องของสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
2) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ควรมีการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมีการตรวจสอบวัตถุดิบในการผลิตเป็นระยะๆ
3) ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ว่าไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีที่เป็นอันตราย
4) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ควรมีมาตรการขั้นเด็ดขาดเมื่อตรวจพบว่าบริษัทใดมีการปนเปื้อนของสารเคมีในผลิตภัณฑ์
5) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ควรให้ความสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเด็กไม่ให้มีการปนเปื้อน
Relate topics
- รณรงค์เลิกใช้โฟม
- รายการสงขลามหาชน ตัวอย่างอาหารของแม่ ตอน " บทบาทของพ่อ " อาหารของแม่ สร้างความอบอุ่นของครอบครัวกับมื้ออร่อยที่แม่บรรจงปรุงเพื่อลูก
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู( http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู(7 เม.ย 5…: http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- รายการอาหารของแม่ ตอน " อาหารคือภาคีและพื้นที่ " เปิดอร่อยด้วย ยำบัวบก สูตรสมุนไพรภูมิปัญญาถิ่น อบต.ท่าข้าม ของป้ายุพา ผลชนะ