สคบ.เตือน! เครื่องน้ำเย็น
นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับแจ้งว่า ปัจจุบันมีการใช้เครื่องทำน้ำเย็นอย่างแพร่หลายในสถานที่ต่างๆ เช่น สถานศึกษา และสถานประกอบการ โดยมีทั้งแบบเครื่องทำน้ำเย็นที่ผลิตอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเครื่องที่ผลิตด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ด้วยการใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ำหรือท่อส่งน้ำ ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารตะกั่วในน้ำดื่มที่บรรจุในเครื่องทำน้ำเย็นดังกล่าว ซึ่งมีรายงานผลการสำรวจและตรวจพิสูจน์น้ำดื่มในเครื่องทำน้ำเย็นในสถานศึกษาในหลายจังหวัดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบการปนเปื้อนของสารตะกั่วในน้ำดื่มเกินมาตรฐานความปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนในวัยเจริญเติบโต
พบสารตะกั่วเกินมาตรฐานใน 5 จังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่านเขต 1ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน เรื่องการพัฒนาคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียน พบว่าส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 80 ผลิตน้ำดื่มให้นักเรียนดื่มเอง ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียนมีการปนเปื้อนสารตะกั่วเกินมาตรฐาน
นายเพ็ชร ธรรมราช ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่านเขต 1 แจ้งว่า จากเรื่องสืบเนื่องกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการสำรวจคุณภาพน้ำจากเครื่องกรองน้ำ และน้ำจากเครื่องทำน้ำเย็นในสถานศึกษา พบว่าปริมาณสารตะกั่วในน้ำจากเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ตะกั่วบัดกรีเชื่อม มีปริมาณสารตะกั่วในน้ำดื่ม 0.052 – 1.060 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งปริมาณสารตะกั่วในน้ำดื่ม ค่ามาตรฐานไม่ควรเกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร นั้น
ในปี 2550 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน เรื่องการพัฒนาคุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียน พบว่าส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 80 ผลิตน้ำดื่มให้นักเรียนดื่มเอง ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียนมีการปนเปื้อนสารตะกั่วเกินมาตรฐาน ตัวอย่างน้ำดื่มมีตะกั่วเกินมาตรฐาน ตามจังหวัดที่ได้ดำเนินโครงการ ไปแล้ว ตรวจพบมี 14 โรงเรียน ใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี 5 โรงเรียน มีระดับสารตะกั่ว 0.060 – 0.670 มิลลิกรัมต่อลิตร จังหวัดสงขลา 2 โรงเรียน มีระดับสารตะกั่ว 0.100 – 0.200 มิลลิกรัมต่อลิตร จังหวัดภูเก็ต 1 โรงเรียน มีระดับสารตะกั่ว 0.240 มิลลิกรัมต่อลิตร จังหวัดพิษณุโลก 5 โรงเรียน มีระดับสารตะกั่ว 0.115 – 0.153 มิลลิกรัมต่อลิตร และจังหวัดเชียงราย 1 โรงเรียน มีระดับสารตะกั่ว 0.080 มิลลิกรัมต่อลิตร
ฉะนั้น ขอให้สถานศึกษาทุกแห่งในจังหวัดน่าน ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของกระทรวงสาธารณสุข ให้มีการตรวจสอบมาตรฐานของเครื่องทำน้ำเย็นในโรงเรียน หากตรวจพบมีสารปนเปื้อนดังกล่าวให้รีบทำการแก้ไขโดยด่วน
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลฯ พบสารตะกั่วในน้ำดื่ม เผยเป็นเหตุให้เด็กโง่
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี ค้นพบสารตะกั่วในน้ำดื่ม จากการจัดโครงการศูนย์วิทย์ฯ เพื่องานคุ้มครองผู้บริโภค เผยเป็นต้นเหตุทำให้เด็กมีพัฒนาการเรียนรู้ช้า เตือนระวังหลอกขายเครื่องกรองน้ำ แนะเพียงต้มก่อนดื่มก็ปลอดภัย
นายวรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี เปิดเผยว่า จากการจัดทำโครงการของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่องานคุ้มครองผู้บริโภคที่ผ่านมาพบว่า น้ำดื่มในเขตชนบทของจังหวัดอุบลราชธานีมีการปนเปื้อนของแร่เหล็กและตะกั่วในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยพบตามแหล่งตามธรรมชาติซึ่งนำมาทำน้ำประปาของหมู่บ้าน โดยแต่ก่อนนี้การดื่มน้ำตามธรรมชาติอาจจะปลอดภัย แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น ทำให้มนุษย์เรามีการผลิตสารสังเคราะห์ต่างๆ ขึ้นมาทดแทนธรรมชาติ จึงเกิดสารเคมีตกค้างจำนวนมาก เช่น ขยะจำพวกแบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย เป็นเหตุให้มีสารปนเปื้อนมากับน้ำดื่ม ซึ่งมีแหล่งน้ำใกล้กับแหล่งกำจัดขยะ ซึ่งหากเราวิเคราะห์ต้นเหตุของสารปนเปื้อนดังกล่าวนี้ได้จะทำให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้มาก
“สารปนเปื้อนที่พบคือแร่เหล็ก สถานที่พบคือ ในเขต อ.ดอนมดแดง ซึ่งมีปริมาณมากพอสมควรสังเกตได้จากน้ำเป็นสีแดง ส่วนสารปนเปื้อนอีกชนิดหนึ่งคือ ตะกั่ว พบในเขตพื้นที่ของ อ.วารินชำราบ โดยมีประมาณที่เกินกว่ามาตรฐานคือ 0.3 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งปกติปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายนั้นจะอยู่ที่ 0.05 ล้านในล้านส่วน โดยปกติในธรรมชาติจะมีระบบกำจัดภายในของตัวมันเอง แต่เพราะการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ทำให้ขยะเหล่านั้นมากขึ้นการกำจัดตามธรรมชาติจึงไม่เพียงพอ ซึ่งผลจากการดื่มน้ำที่มีสารตะกั่วเข้าไปนั้น ถ้าในวัยเด็กจะส่งผลในระยะยาว โดยจะไม่แสดงอาการอย่างเฉียบพลัน แต่จะทำให้เด็กมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ช้ากว่าเด็กปกติ เติบโตช้า ไม่ฉลาด”
นายวรวิทย์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการค้นพบดังกล่าวได้ประชุมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ซึ่งทุกฝ่ายก็ยินดีที่จะให้ความร่วมมือ เดินหน้าสำรวจแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ที่ อ.เขื่องในนั้นนายอำเภอท่านได้ย้ายมาจาก อ.ดอนมดแดง ได้ประสานของบผู้ว่า ซีอีโอ มาดำเนินโครงการนี้ด้วย
“แหล่งน้ำที่นำมาทำน้ำดื่มนั้นในพื้นที่ชนบทจะมีอัตราเสี่ยงต่อการพบสารปนเปื้อนนี้มาก แต่ในเขตเทศบาลนครอุบลฯ มีแหล่งน้ำและกระบวนการที่ได้มาตรฐานก็ไม่ได้พบแต่อย่างไร ผมต้องการให้งานของศูนย์ฯลงไปสู่พื้นที่มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีปัญหาเรื่องการประสานงานแต่อย่างไรทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการและชาวบ้านเอง โดยเขามองว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อตัวเขา มีเพียงบางเรื่องที่กระทบต่อธุรกิจของเอกชน แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดา เราก็ลุยงานของเรา เอาผลประโยชน์ของชาวบ้านเป็นหลัก”
ขณะเดียวกัน นายวรวิทย์ ได้กล่าวเตือนประชาชนซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลว่าแม้จะน้ำประปาที่ได้มาตรฐานแต่ถ้าจะให้ปลอดภัยควรต้มน้ำก่อนดื่มทุกครั้ง เพราะระบบการวางท่อน้ำยังไม่ได้ปรับปรุง ส่วนในเขตชนบทนั้นทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดหาน้ำดื่มที่มีคุณภาพให้ประชาชนและควรมีงบประมาณสำรวจในเรื่องดังกล่าวนี้ รวมทั้งการซื้อน้ำขวดดื่มก็เป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และให้ระวังการหลอกขายเครื่องกรองน้ำด้วย ทั้งนี้ตนอยากย้ำว่าเพียงนำน้ำมาต้มก่อนดื่มก็เพียงพอและปลอดภัยแล้ว
ทั้งนี้ทีมข่าวได้ประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขของพื้นที่ปัญหาแต่ไม่ได้รับการชี้แจงแต่อย่างไรตะลึง !!พบสารตะกั่วตกค้างในตู้ทำน้ำเย็นของโรงเรียนเกินมาตรฐาน 20 เท่าศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 14 อุบลฯ ตรวจพบสารตะกั่วในถังน้ำดื่มเด็กนักเรียนเกินมาตรฐาน 20 เท่า ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญ เผยสารตะกั่วมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กโดยตรง
สืบเนื่องจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มอบหมายให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่ง ทั่วประเทศได้ศึกษาความเสี่ยงในน้ำดื่มของโรงเรียน ทั้งในเขตชนบท เขตเทศบาล เขตกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล ซึ่งจากการตรวจสอบไม่พบเชื้อโรคใด ๆ ในน้ำดื่มแต่กลับพบสารตะกั่วในน้ำดื่มที่เกินมาตรฐานกว่าร้อยละ 20
นายวรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 14 จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวในเรื่องนี้ว่า ทางศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจพบว่า เครื่องทำน้ำเย็นในสถานศึกษามีสารตะกั่วปนเปื้อนในน้ำดื่มของนักเรียน ซึ่งพบสารดังกล่าวอยู่ในถังของน้ำดื่ม 3 จุด ได้แก่ บริเวณขอบด้านในที่ใช้สารบัดกรี บริเวณท่อจ่ายน้ำที่ใช้สารบัดกรีเช่นเดียวกัน และบริเวณลูกลอย ซึ่งทางศูนย์วิทย์ ฯ ได้ประสานเรื่องดังกล่าวไปยังผู้ผลิตถังน้ำเย็นว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นได้หรือไม่ เนื่องจากมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถผลิตเครื่องทำน้ำเย็นที่ปราศจากสารดังกล่าวได้ โดยวิธีการเชื่อมวัสดุสแตนเลสสมัยใหม่ นั่นคือ การเชื่อมด้วยเครื่องเชื่อมไฟฟ้าความร้อนสูง ส่วนตัวท่อน้ำเย็นนั้นก็สามารถผลิตเปลี่ยนจากการใช้สารบัดกรีเป็นการใช้ท่อพลาสติกสมัยใหม่ที่ไม่สะสมเชื้อ ซึ่งต้นทุนในการผลิตถูกกว่า ส่วนตัวที่เป็นลูกลอยนั้นเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ผลิตลูกลอยที่เป็นพลาสติกความเพื่อสะดวกในเรื่องของการผลิตแล้ว โดยทางศูนย์วิทยาศาสตร์ได้ประสานไปยังผู้ผลิตที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและผู้ผลิตที่อยู่ต่างจังหวัดแล้ว โดยผู้ผลิตสามารถเลือกใช้วัสดุสมัยใหม่ดังกล่าวนั้นได้ ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้ดื่มน้ำที่สะอาดและปลอดภัย
ด้าน ดร.เพียงเพ็ญ ชิโสดา อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า สารตะกั่วคือโลหะหนักที่สามารถพบได้โดยทั่วไป ทั้งที่ล่องลอยอยู่ในอากาศและจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ซึ่งสารตะกั่วเป็นสารที่มีพิษต่อร่ายกาย โดยจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก และเด็กก็สามารถรับสารประเภทนี้ได้มากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า สารตะกั่วเป็นสารที่สามารถดูดซึมจากกระแสเลือดเข้าสู่เนื้อสมองได้โดยตรง ในขณะที่สารชนิดอื่นไม่สามารถทำได้ จึงเป็นเรื่องที่อันตรายหากสารชนิดนี้ปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำดื่ม
ด้านนางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า เพื่อให้มีความปลอดภัยกับผู้บริโภค สคบ. จึงประกาศให้เครื่องทำน้ำเย็นเป็นสินค้าควบคุมฉลาก และมีคำเตือนติดที่เครื่อง 2 ข้อความ คือ "อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ติดตั้งสายดินให้ถูกวิธี" และ "ห้ามใช้ตะกั่วบัดกรีในการซ่อมแซมโดยเด็ดขาด" รวมทั้งห้ามขายสินค้าเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยต่อ ซึ่ง สคบ.จะเดินหน้าตรวจสอบอย่างเข้มงวดต่อไป
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) จึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนที่จะป้องกันอันตราย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ห้ามขายสินค้าเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็มถังน้ำหรือท่อส่งน้ำเป็นการชั่วคราว และให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขายผลิตสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ำหรือท่อส่งน้ำ ให้ทำการติดต่อกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โดยเร็วที่สุด เพื่อดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าดังกล่าว
ห้ามขายสินค้าภาชนะสำหรับปรุงหรือบรรจุอาหารที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อเป็นการชั่วคราว และให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิตสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายเครื่องทำน้ำเย็นที่ใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถุงน้ำหรือท่อส่งน้ำให้ทำการติดต่อกับ สคบ.โดยเร็วที่สุด เพื่อดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าดังกล่าว
ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจรายใดฝ่าฝืนจำหน่ายสินค้าดังกล่าว มีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในส่วนของผู้ผลิตนั้นมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เหตุการณ์โดยสรุป
ปลายปีที่แล้ว (ต.ค. 2550) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับแจ้งจากผลการสำรวจและตรวจพิสูจน์น้ำดื่มในเครื่องทำน้ำเย็นในสถานที่ต่าง ๆ ในหลายจังหวัดของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่าพบการปนเปื้อนของสารตะกั่วในน้ำดื่มเกินมาตรฐานความปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลก ทั้ง ๆ ที่ไม่พบเชื้อโรคใด ๆ โดยเฉพาะสถานศึกษาเกือบ 4,000 แห่งทั่วประเทศ รวมเครื่องทำน้ำเย็นจำนวนหลายหมื่นเครื่อง ซึ่งสาเหตุเกิดจากเครื่องทำน้ำเย็นที่ผลิตด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ด้วยการใช้ตะกั่วเป็นตัวประสานรอยเชื่อมต่อของตะเข็บถังน้ำหรือท่อส่งน้ำ ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารตะกั่วในน้ำดื่มที่บรรจุในเครื่องทำน้ำเย็นดังกล่าว ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนในวัยเจริญเติบโต โดยจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก
ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ออกข้อบังคับอย่างเร่งรัด มาควบคุมผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
วิธีการแก้ไขปัญหา
1.การประกาศห้ามขาย และเลิกใช้เครื่องทำน้ำเย็น ที่มีสารตะกั่วปะปน
2.การประกาศให้เครื่องทำน้ำเย็นเป็นสินค้าควบคุมฉลาก และมีคำเตือนติดที่เครื่อง 2 ข้อความ คือ "อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ติดตั้งสายดินให้ถูกวิธี" และ "ห้ามใช้ตะกั่วบัดกรีในการซ่อมแซมโดยเด็ดขาด"
3.สถานศึกษาหรือแหล่งประกอบการ ควรตรวจเครื่องทำความเย็นทุกเครื่องที่ใช้อยู่ว่า มีการใช้สารตะกั่วบัดกรีหรือไม่ หากพบให้เลิกใช้ทันที
4.ควรมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านสุขอนามัยของสถานศึกษาหรือสถานประกอบการให้ดูแลเรื่องน้ำดื่มโดยเฉพาะ และควรตรวจสอบน้ำดื่มเกี่ยวกับการปนเปื้อนในน้ำดื่ม เช่น สารเคมี และจุลินทรีย์ โดยประสานกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในพื้นที่
5.การร่างมาตรฐานการผลิตตู้น้ำเย็นป้องกันการปนเปื้อนของสารตะกั่ว โดยอ้างอิงข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงกำหนดห้ามไม่ให้มีสารอันตราย หรือโลหะหนักในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด
6.การสร้างจิตสำนึกให้ผู้ผลิต ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิต โดยวิธีการเชื่อมวัสดุสแตนเลส ปราศจากตะกั่ว ใช้ท่อพลาสติกสมัยใหม่ที่ไม่สะสมเชื้อเป็นตัวท่อทำน้ำเย็นแทนสารบัดกรี เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
7.การให้ความรู้แก่ผู้บริโภคด้านการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำเย็น และโทษของการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำเย็นที่ไม่ได้คุณภาพโดยใช้สารตะกั่ว
8.การออกมาตรการบังคับผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนจะได้รับโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ นั่นคือ ผู้ประกอบการจะมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และในส่วนของผู้ผลิตนั้นมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Relate topics
- รณรงค์เลิกใช้โฟม
- รายการสงขลามหาชน ตัวอย่างอาหารของแม่ ตอน " บทบาทของพ่อ " อาหารของแม่ สร้างความอบอุ่นของครอบครัวกับมื้ออร่อยที่แม่บรรจงปรุงเพื่อลูก
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู( http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู(7 เม.ย 5…: http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- รายการอาหารของแม่ ตอน " อาหารคือภาคีและพื้นที่ " เปิดอร่อยด้วย ยำบัวบก สูตรสมุนไพรภูมิปัญญาถิ่น อบต.ท่าข้าม ของป้ายุพา ผลชนะ