รมว.สธ"เข้มตรวจสอบสมุนไพรจีน
ชี้เลือกซื้อต้องมีเครื่องหมาย อย. ปลอดภัย
จากกรณีที่มีข่าวสำนักงานอาหารและยาของจีน ออกประกาศเตือนในเว็บไชต์ว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 คน หลังฉีดยาสมุนไพรชื่อ ฉื้ออู่เจีย หรือฉึ้งโหงวเกีย ซึ่งเป็นโสมไซบีเรีย ผลิตโดยบริษัทแวนดาซาน ฟาร์มาซูติคอล ซึ่งยาดังกล่าวใช้รักษาโรคลมชื้น อาการปวดเอว หัวเข่า โรคเหน็บชา อาการบวมน้ำ มีรสเผ็ดร้อน มีฤทธิ์ต่อตับและไต โดยมีรายงานยาดังกล่าวจำหน่ายในประเทศไทย ในร้านขายยาจีนทั่วไป แพทย์จีนนิยมนำมาใช้กับสมุนไพรตัวอื่นเพื่อรักษาโรคปวดหลัง ปวดเอว มีชื่อในไทยว่า โหงวเกียพ้วย นิยมใช้ต้มดื่ม หรือทำเป็นยาดองเหล้าและยาลูกกลอนนั้น
ความคืบหน้าดังกล่าว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบเป็นการด่วนว่ายาดังกล่าวมีขายในประเทศไทยหรือไม่ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน เนื่องจากขณะนี้คนไทยจำนวนมากนิยมกินสมุนไพรจีน เบื้องต้นได้รับรายงานว่า ยาสมุนไพรจีนที่มีส่วนผสมของโหงวเกียพ้วยที่จำหน่ายในไทย ไม่มีชนิดฉีด มีเพียงชนิดกินในรูปของยาผง ยาแผ่น ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาลูกกลอน และยาน้ำ โดยผลิตในประเทศและผ่านการขึ้นทะเบียนจาก อย.แล้ว 35 ตำรับ และมีนำเข้าจากประเทศจีนอีก 5 ตำรับ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์ความปลอดภัยทั้งหมดแล้ว จึงขอให้ประชาชนไทยมั่นใจได้ ขณะเดียวกันให้ด่าน อย.ทุกด่าน เฝ้าระวังเข้มงวดยาที่นำเข้ามาทางชายแดนทั้งหมด
ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า จากการตรวจสอบบริษัทที่ขึ้นทะเบียนนำเข้ายาจากประเทศจีนทั้งหมด ไม่มียาที่ผลิตหรือนำเข้าจากบริษัทแวนดาซาน ฟาร์มาซูติคอล ที่เป็นข่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนเลือกซื้อยาสมุนไพรในร้านที่เชื่อถือได้ และต้องมีเครื่องหมาย อย. หากไม่มั่นใจก็ไม่ควรซื้อ หรือแจ้งที่สายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อ อย.จะได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
วิเคราะห์และสรุปผล
จากกรณีที่มีข่าวสำนักงานอาหารและยาของจีน ออกประกาศเตือนในเว็บไชต์ว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 คน หลังฉีดยาสมุนไพรชื่อ ฉื้ออู่เจีย หรือฉึ้งโหงวเกีย ซึ่งเป็นโสมไซบีเรีย ผลิตโดยบริษัทแวนดาซาน ฟาร์มาซูติคอลนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าป็นเรื่องที่อันตรายต่อผู้บริโภคยิ่งนัก ดังนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควรจะมีการตรวจสอบยาสมุนไพรชนิดนี้ในหลาย ๆ รูปแบบโดยละเอียด ทั้งยาผง ยาแผ่น ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาลูกกลอน และยาน้ำ รวมทั้งในผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆด้วย ว่ามีตัวยาอันตรายหรือก่อผลข้างเคียงต่อผู้บริโภคจากสมุนไพรชนิดนี้อยู่หรือไม่ เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคต้องเกิดปัญหาจากสมุนไพรชนิดนี้เหมือนในประเทศจีน
แนวทางการแก้ไข
ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควรเข้มงวดตรวจยาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะยาที่มาจากชายแดนไม่ให้มีส่วนประกอบจากสมุนไพรชนิดดังกล่าว และทางผู้บริโภคเองก่อนซื้อยาสมุนไพรชนิดใดก็ควรเลือกซื้อยาสมุนไพรในร้านที่เชื่อถือได้ และต้องมีเครื่องหมาย อย. โดยต้องตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ให้ละเอียด ทั้งเลขทะเบียนยา ที่มา ตัวยาอันตราย วันที่ผลิต วันหมดอายุ และผลข้างเคียง ฯลฯ หากพบว่ายาสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มาตรฐานก็ไม่ควรซื้อ หรือแจ้งที่สายด่วน 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อ อย.จะได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
Relate topics
- รณรงค์เลิกใช้โฟม
- รายการสงขลามหาชน ตัวอย่างอาหารของแม่ ตอน " บทบาทของพ่อ " อาหารของแม่ สร้างความอบอุ่นของครอบครัวกับมื้ออร่อยที่แม่บรรจงปรุงเพื่อลูก
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู( http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู(7 เม.ย 5…: http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- รายการอาหารของแม่ ตอน " อาหารคือภาคีและพื้นที่ " เปิดอร่อยด้วย ยำบัวบก สูตรสมุนไพรภูมิปัญญาถิ่น อบต.ท่าข้าม ของป้ายุพา ผลชนะ