สธ.. เผยมาตรการเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐานนมโรงเรียนรวมทั้งสถานที่ผลิต ได้ตรวจประเมินอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง พบไม่ผ่านตามเกณฑ์ 3 แห่ง จาก 70 แห่ง ผลิตภัณฑ์นมผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 35 ตัวอย่าง ไม่ผ่านเกณฑ์ 8 ตัวอย่าง จากจำนวน 43 ตัวอย่าง พร้อมจัดสรรงบประมาณในการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพหลังออกสู่ท้อง ตลอดไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาทต่อปี เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการกระทรวงสาธารณสุข มอบให้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำกับดูแลอาหารหลังออกสู่ท้องตลาดทั้งในด้านการตรวจประเมิน มาตรฐานการผลิตของสถานที่ผลิตและเฝ้าระวังคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ โดยมีการจัดสรรงบประมาณในการ ตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท ต่อปีงบประมาณ ซึ่งจากปัญหาเรื่องนมโรงเรียน กระทรวง สาธารณสุข มิได้นิ่งนอนใจ ได้ให้ อย. ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรวจประเมินสถานที่ผลิตนมพร้อมดื่มใน โครงการอาหารเสริม(นม) โรงเรียนตามหลักเกณฑ์จีเอ็มพี และเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มเพื่อตรวจวิเคราะห์ คุณภาพมาตรฐาน ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าผลการตรวจสถานที่ผลิตนมโรงเรียนจำนวน 70 แห่ง ผ่านตาม เกณฑ์จำนวน 59 แห่ง และไม่ผ่านเกณฑ์ 3 แห่ง ได้แก่ โรงงานนำศรีชลเครื่องดื่ม จ.ชุมพร วิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยีขอนแก่น และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ในเบื้องต้น อย. ได้ดำเนินการเปรียบเทียบปรับ รวมถึงให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงแก้ไข และจะตรวจประเมินซ้ำต่อไป ในส่วนของผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ มาตรฐานตัวอย่างนมโรงเรียนจำนวน 43 ตัวอย่าง พบว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมาตรฐานผ่านตามเกณฑ์จำนวน 35 ตัวอย่าง ไม่ผ่านตามเกณฑ์จำนวน 8 ตัวอย่าง ซึ่งตัวอย่างที่ไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน อย. ได้เปรียบเทียบปรับ แต่หากพบการ ปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค จะดำเนินการสั่งให้หยุดการผลิตทันที เพื่อตรวจสอบกรรมวิธีการผลิต และให้ คำแนะนำเพื่อปรับปรุงแก้ไขแล้วจึงดำเนินการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อตรวจสอบซ้ำต่อไปด้วย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นมมี ความปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ เด็กนักเรียนจะต้องได้ดื่มนมที่มีคุณภาพมาตรฐานโดยทั่วถึง
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า อย. มีจุดมุ่งหมายการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคอาหารที่มี ความปลอดภัย คุ้มค่า และสมประโยชน์ โดยเฉพาะการควบคุมผู้ผลิตนมทุกรายให้เน้นมาตรฐานกระบวนการผลิต ทุก โรงงานต้องได้มาตรฐานจีเอ็มพี และมาตรฐานของนมต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดทั้งในค่ามาตรฐานเรื่องโปรตีน ไขมันและ เนื้อนมไม่รวมมันเนย รวมถึงความปลอดภัยด้านแบคทีเรีย ขอให้ผู้ผลิตอาหารทุกรายปฏิบัติให้ถูกต้องตาม กฎหมาย และ อย.จะสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ที่ออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดอย่างใกล้ชิด
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)