นับตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีพิจาณาความแพ่งผู้บริโภค พ.ศ.2551โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา ...ตอนแรกนึกว่าคงจะเป็นก้าวใหม่สำหรับผู้บริโภคที่ถูกล่วงละเมิดสิทธิ แต่อนิจจา..ปรากฎว่า...ผู้บริโภคสงขลากลับถูกฟ้องอื้อจากผู้ประกอบการ
จากการสอบถามสถิติคดีผู้บริโภคที่ฟ้องร้องไปยังศาลแขวงจังหวัดสงขลา นิติกรประจำศาลแขวงจังหวัดสงขลา ได้เปิดเผยอันเป็นสาลที่มีพื้นที่รับผิดชอบจังหวัดสงขลา พบข้อมูลว่าตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2551 ที่พรบ.วิธีพิจารณาความแพ่งผู้บริโภคบังคับใช้เป็นต้นมา มีคดีผู้บริโภคมาฟ้องยังศาลแล้ว 964 คดี และนับตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน(วันที่ 6 มีนาคม 2552) มีคดีผู้บริโภคเข้ามายังศาล 480 คดี รวมแล้วมีคดีผู้บริโภคส่งมายังศาลแขวงแล้ว 1444 คดี แต่ข้อมูลที่น่าตกใจคือ มีเพียง 4 คดีเท่านั้นที่ผู้บริโภคฟ้องร้องผู้ประกอบการ คิดเป็นร้อยละ 0.278 เท่านั้น น้อยมากเมื่อเทียบกับคดีที่ผู้ประกอบการฟ้องร้องผู้บริโภค โดยประเด็นคดีส่วนใหญ่เป็นคดีบัตรเครดิต คดีเช่าซื้อ คดีค้ำประกันเช้าซื้อ อย่างนี้คงต้องทบทวนช่องว่างที่ก่อให้เกิดปัญหาการที่กลับกลายว่าผู้บริโภคฟ้องร้องเป็นจำเลยในคดีผู้บริโภค หรือว่าผู้ประกอบการรู้จักช่องทางของกฎหมายในพรบ.ฉบับนี้ดีกว่าผู้บริโภค
อนึ่งศาลผู้บริโภคหรือศาลแผนกคดีผู้บริโภค เป็นระบบวิธีพิจารณาคดีทางแพ่งของศาลยุติธรรมรูปแบบใหม่ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๑เป็นต้นมา ประชาชนในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตรายต่าง ๆ สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องต่อแผนกคดีผู้บริโภคที่มีประจำอยู่ในศาลแขวง ศาลจังหวัด ทุกแห่ง โดยระบบวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคจะเอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภค เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรม และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น
ผู้ยื่นฟ้องสามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ฟ้องด้วยตนเองหรือแต่งทนายความ หรือขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรอง ดำเนินการฟ้องร้องแทนให้ก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม และประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่เป็นอันตรายไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเช่นกัน ซึ่งทั้งสองกรณีต้องไม่เป็นการเรียกค่าเสียหายเกินควร ไม่เช่นนั้นศาลอาจมีคำสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในภายหลังได้
ที่สำคัญการที่ผู้บริโภคไม่มีความรู้ ขาดข้อมูลในหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการ ดังนั้น ในคดีผู้บริโภคจึงกำหนดให้ภาระการพิสูจน์เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการต่อสู้คดีให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมากสำหรับขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อไปใช้กระบวนวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนั้นผู้บริโภคควรจะ...
๑. เตรียมข้อมูล ลำดับ สถานการณ์ความเสียหายของตนเองเพื่อไปยื่นต่อศาล เพื่อป้องกันการหลงลืมเพราะความตื่นเต้นเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ศาล
๒. ศึกษาขั้นตอนวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเบื้องต้นได้ที่ http://www.coj.go.th/jla เว็บไซต์นี้มีคำตอบ เพราะคุณสามารถโหลดแบบฟอร์มเพื่อเขียนคำฟ้องจากบ้านไปยื่นต่อศาลได้เลย
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)