การขยายผลรูปแบบโภชนาการสมวัยในระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลควนรู ปีที่ 3

แผนงานโภชนาการและอาหารคุณภาพเพื่อให้มีโภชนาการสมวัย

by dezine @June,10 2016 09.34 ( IP : 202...143 )
ระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
1. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1 »
พฤหัสบดี 9 มิ.ย. 59 พฤหัสบดี 9 มิ.ย. 59

คณะกรรมการได้เสนอแผนงานที่จะทำในปีที่ 3 ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม คือ รพ.สต. , ผู้อำนวยการทั้ง 3 รร. แกนนำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง

แผนงานที่ต้องติดตามอย่างเร่งด่วนในปีที่ 3  รพ.สต. + โรงเรียน และ ศพด.

  1. ติดตามเรื่องคุ้มครองผู้บริโภค  อย.น้อย  เพื่อจัดประชุมไม่เกินเดือน  ตุลาคม 2559

- การสำรวจร้านค้า
- การรณรงค์เลิกใช้โฟมบรรจุอาหาร - การปลูกผักปลอดสารพิษ
- การลดการกินน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ

  1. ใช้โปรแกรมการจัดการอาหารกลางวัน (INMU school lunch ) อย่างต่อเนื่อง

  2. ครัวกลาง ให้ รพ.สต เข้ามาดูแลเรื่องหลักสุขาภิบาลอาหาร

- การเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหาร
- สุขภาพอนามัยของแม่ครัว
- การเลือกวัตถุดิบที่ปลอดภัย
- การเก็บรักษาเครื่องปรุงอาหาร

  1. การติดตามภาวะโภชนาการ  ทั้ง รร.และ ศพด. โดยการคืนข้อมูลสุขภาพ (อ้วน ผอม เตี้ย ค่อนข้างผอม และเตี้ย และค่อนข้างอ้วน) ใช้สมุดบันทึกสุขภาพ (ภาวะโภชนาการ + คำแนะนำ) ให้ผู้ปกครองเด็กทุกเดือน  ในเด็กกลุ่มเสี่ยง (ซีด , ขาดไอโอดีน)  ส่งต่อ รพ.สต เพื่อให้ยา

  2. การเยี่ยมบ้าน ให้ความรู้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับด้านอาหารภาคเรียนละ 1 ครั้ง

  3. สื่อความรู้ ด้านอาหาร การติดป้ายธงโภชนาการในโรงเรียน
  4. การจัดการปัญหาการขาดสารอาหาร ใช้กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ใช้การประกวด  โดยแบ่งตามระดับชั้น เรื่องอาหารเช้า อาหารขยะ  อาหาร 5 หมู่
  5. นำผลงานทำป้ายคำขวัญ ติดตามจุดสำคัญของชุมชน
  6. การประกวดสปอตโฆษณาผ่านวิทยุในประเด็นเรื่องอาหาร
  7. จัดทำสปอตวิทยุ ผลงานที่ได้รับรางวัลเผยแพร่ในชุมชน
  8. กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายในโรงเรียน อย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการพร้อมดำเนินงานตามแผนที่วางไว้

รอดำเนินงานตามแผนงาน

-

2. ลงพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 40 ครัวเรือน »
ศุกร์ 5 ส.ค. 59 ศุกร์ 5 ส.ค. 59
  1. สำรวจครัวเรือนเป้าหมายตั้งแต่หมู่ที่ 1-9 โดยสอบถามข้อมูลจากแกนนำหมู่บ้านว่ามีครัวเรือนไหนบ้างที่ปลูกผักสวนครัว
  2. ลงพื้นที่สำรวจครัวเรือนตามข้อมูลที่ได้รับ จำนวน 41 ครัวเรือน

หาข้อมูลครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว และลงพื้นที่สำรวจตามครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 41 ครัวเรือน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอีก 1 ศูนย์ เพื่อสำรวจหาแหล่งผลิตอาหารในพื้นที่เป็นระยะเวลา 5 วัน ซึ่งมีครัวเรือนที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นครัวเรือนต้นแบบ 2 ครัวเรือน  และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอีก 1 ศูนย์ ที่สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้

คณะทำงานตามโครงการ มีเป้าหมายที่จะยกระดับครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัวโดยการส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารของคนในพื้นที่ที่ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย เป้าหมายสูงสุดสำหรับการรณรงค์ให้ปลูกผักในครัวเรือนรวมทั้งสิ้น 300 ครัวเรือนภายในตำบล

ครัวเรือนที่ปลูกผักอยู่เดิมแล้ว ได้รับความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร บริโภคอย่างไรให้ปลอดภัย และทำให้เกิดรายได้เพ่ิ่มขึ้นในครัวเรือน

-

3. อบรมให้ความรู้กับ อย.น้อย »
จันทร์ 22 ส.ค. 59 จันทร์ 22 ส.ค. 59

แผนงานโครงการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ ร่วมกับ คณะทำงานโครงการ และเจ้าหน้าที่เภสัชกรรม โรงพยาบาลรัตภูมิ ได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล จึงได้จัดทำโครงการ อย.น้อยโดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนร่วมเป็นหูเป็นตาให้อย. โดยการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง

  1. ประชุมย่อยกับคณะกรรมการในหน่วยงาน รพ.สต. เพื่อวางแผนดำเนินงาน
  2. ติดต่อประสานงานกับครูทั้ง 3 โรงเรียนเพื่อคัดเลือกตัวแทน อย.น้อย
  3. ติดต่อประสานงานวิทยากรที่ให้ความรู้เรื่อง อย.น้อย จากเจ้าหน้าที่เภสัชกรรม โรงพยาบาลรัตภูมิ
  4. จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจกับ อย.น้อย ในวันและเวลาดังกล่าว เพื่อเพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย ได้มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว เพื่อให้นักเรียนนำกิจกรรม อย.น้อยไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน เพื่อให้มีการเชื่อมโยงเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
  1. นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว
  2. นักเรียน อย.น้อย สามารถดำเนินกิจกรรมอย.น้อย ทั้งในโรงเรียนและในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว
  2. นักเรียน อย.น้อย สามารถดำเนินกิจกรรมอย.น้อย ทั้งในโรงเรียนและในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ประเมินจากการสังเกต และสนใจ

-

4. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน ครั้งที่ 1 »
จันทร์ 5 ก.ย. 59 จันทร์ 5 ก.ย. 59
  1. นัดประชุมทีมงาน อสม.ในพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจในเครื่องมือสำรวจข้อมูลครัวเรือน
  2. อสม.แยกย้ายลงเก็บข้อมูลตามครัวเรือนที่ตนเองรับผิดชอบ
  3. ส่งคืนข้อมูลมายัง อบต.เพื่อลงรายละเอียดพื้นที่ในภาพรวมแหล่งที่มาของอาหาร พร้อมชี้จุดพิกัดครัวเรือนเกษตรฯ

อสม. ทำความเข้าใจกับเครื่องมือแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน  และได้ลงไปเก็บข้อมูลในครัวเรือนที่ตนเองรับผิดชอบ รวบรวมส่ง อบต.

ครัวเรือนในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะปลูกผักรับประทานเอง เหลือก็เอาไปจำหน่ายใกล้บ้าน บางบ้านก็เอาไปจำหน่ายในตลาดนัดในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง

คนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้เป็นส่วนมาก

-

5. ตรวจสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน โดย อย.น้อย ร่วมกับเภสัช รพ.รัตภูมิ »
จันทร์ 26 ก.ย. 59 จันทร์ 26 ก.ย. 59

กิจกรรมที่ อย.น้อย ทำ ได้แก่ การตรวจสอบอาหารที่จำหน่ายภายในโรงเรียน ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น เช่น ชุดทดสอบบอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารกันรา สารฟอกขาว จุลินทรีย์ในน้ำ เป็นต้น

กิจกรรมที่ อย.น้อย ทำ ได้แก่ การตรวจสอบอาหารที่จำหน่ายภายในโรงเรียน ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น เช่น ชุดทดสอบบอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารกันรา สารฟอกขาว จุลินทรีย์ในน้ำ เป็นต้น  และได้จดบันทึกการตรวจไว้เพื่อเป็นหลักฐาน

อย.น้อยได้ตรวจสอบอาหาร (เครืองปรุงที่ใช้ในโรงเรียน) ตรวจการเก็บรักษานมโรงเรียน  และห้องยา ซึ่งพบว่า ยาในโรงเรียนหมดอายุการใช้งานประมาณ 80% และได้รับการแก้ไขโดยการเก็บทิ้ง จัดยาชุดใหม่ที่ทาง รพ.สต.จัดให้ 

การทำกิจกรรม นอกจาก อย.น้อย จะได้รับความรู้ด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องและปลอดภัยแล้ว ยังช่วยให้เพื่อนนักเรียน และครอบครัวมีความรู้ และเกิดการพัฒนา ปรับปรุงการจำหน่ายอาหารภายในโรงเรียน รวมทั้งการปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ นักเรียน อย.น้อย ยังได้รับการพัฒนาเรื่องการคิด การวางแผนการทำงาน การแสดงออก และการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน อย.น้อย โรงเรียนอื่น ๆ ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายขึ้น

-

6. กิจกรรมจัดนิทรรศการงานสร้างสุขภาคใต้ »
พุธ 5 ต.ค. 59 พุธ 5 ต.ค. 59

วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559  ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้  และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานสร้างสุขภาคใต้ เพื่อร่วมขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่สู่วิถีการจัดการตนเอง ตำบลควนรู เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย ที่เข้าร่วมจัดนิทรรศการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับผู้เข้าร่วมชมงาน

พื้นที่ตำบลควนรู ได้ร่วมจัดนิทรรศการเพื่อร่วมขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่และท้องถิ่นน่าอยู่สู่วิถีการจัดการตนเอง และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่เข้ามาร่วมชมนิทรรศการ

มีผู้คนเข้าร่วมงานอย่างล้นหลาม บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

ผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการให้ความสนใจ พร้อมร่วมแลกเปลียนเรียนรู้

-

7. อบรม อย.น้อย โรงเรียนบ้านไสท้อน »
พฤหัสบดี 6 ต.ค. 59 พฤหัสบดี 6 ต.ค. 59

ทีมงาน รพ.สต.ร่วมกับ อบต. ลงพื้นที่โรงเรียนเพื่อให้ความรู้กับ อย.น้อย เกี่ยวกับการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน และมอบป้ายธงโภชนาการ และป้ายวัดส่วนสูงให้กับโรงเรียน

อย.น้อย ลงตรวจสุขาภิบาลอาหารในโรงครัว แล้วลงแบบบันทึกการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน เช่น เกลือ ซีอิ้ว น้ำส้มสายชู น้ำมัน นอกจากนี้ยังมีการตรวจนมโรงเรียน และยาในโรงเรียนด้วย

อย.น้อย มีความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น และพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

อย.น้อย มีความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น และพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

-

8. อบ อย.น้อย โรงเรียนวัดไทรใหญ่ »
ศุกร์ 7 ต.ค. 59 ศุกร์ 7 ต.ค. 59

ทีมงาน รพ.สต.ร่วมกับ อบต. ลงพื้นที่โรงเรียนเพื่อให้ความรู้กับ อย.น้อย เกี่ยวกับการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน และมอบป้ายธงโภชนาการ และป้ายวัดส่วนสูงให้กับโรงเรียน

อย.น้อย ลงตรวจสุขาภิบาลอาหารในโรงครัว แล้วลงแบบบันทึกการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน เช่น เกลือ ซีอิ้ว น้ำส้มสายชู น้ำมัน นอกจากนี้ยังมีการตรวจนมโรงเรียน และยาในโรงเรียนด้วย

อย.น้อย มีความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น และพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

อย.น้อย มีความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองมากขึ้น และพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

-

9. ประชุมวางแผนงานเพื่อจัดกิจกรรม อย.น้อย ร่วมกับอาจารย์และนักศึกษา มอ. สาขานิติศาสตร์ »
ศุกร์ 14 ต.ค. 59 ศุกร์ 14 ต.ค. 59

นศ.มอ.คณะนิติศาสตร์ ร่วมคิดแผนงานกิจกรรมที่จะร่วมกันดำเนินกิจกรรมกับน้องๆ อย.

สรุปแผนงานที่จะทำร่วมกับ อย.น้อย ดังนี้ การแจกเอกสารความรู้ การให้ความรู้ทางหอกระจายข่าวหรือวิทยุชุมชน เป็นต้น

อย.น้อย จะได้รับความรู้ด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องและปลอดภัยแล้ว ยังช่วยให้เพื่อนนักเรียน และครอบครัวมีความรู้ และเกิดการพัฒนา ปรับปรุงการจำหน่ายอาหารภายในโรงเรียน รวมทั้งการปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ นักเรียน อย.น้อย ยังได้รับการพัฒนาเรื่องการคิด การวางแผนการทำงาน การแสดงออก และการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน อย.น้อย โรงเรียนอื่น ๆ ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายขึ้น

อย.น้อย จะได้รับความรู้ด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องและปลอดภัยแล้ว ยังช่วยให้เพื่อนนักเรียน และครอบครัวมีความรู้ และเกิดการพัฒนา ปรับปรุงการจำหน่ายอาหารภายในโรงเรียน รวมทั้งการปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ นักเรียน อย.น้อย ยังได้รับการพัฒนาเรื่องการคิด การวางแผนการทำงาน การแสดงออก และการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน อย.น้อย โรงเรียนอื่น ๆ ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายขึ้น

-

10. กิจกรรมศึกษาชุมชนต้นแบบ (นักศึกษา มอ.คณะเภสัชศาสตร์) »
พุธ 19 ต.ค. 59 พุธ 19 ต.ค. 59

เนื่องด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเภสัชศาสตร์ ต้องการศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบในพื้นที่ ตำบลควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางด้านอาหาร , อาหารปลอดภัย และ โภชนาการสมวัย  ซึ่งเหมาะแก่การเรียนรู้เพื่อนําไปเป็นแนวทางในการศึกษาเรียนรู้ด้วย วิถีที่พอเพียงได้  ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษาสามารถได้เพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ที่แท้จริง ทาง อบต.ควนรู จึงเห็นสมควรที่จะ นําคณะอาจารย์บุคลากร และนิสิตนักศึกษา ดูงานชุมชนต้นแบบ รวม 5 แห่งเรียนรู้ 

คณะนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 32 คน พร้อมคณะอาจารย์ เข้าร่วมศึกษาดูงานในพื้นที่ตำบลควนรู จำนวน 5 แหล่ง คือ
1. แหล่งเรียนรู้เกษตรผสมผสาน
2. แหล่งเรียนรู้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนชุมชนบ้านโคกค่าย และ ศพด.ลูกรัก
3. แหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการข้าวแบบครบวงจร
4. การทำงานของ รพ.สต.โหล๊ะยาว
5. แหล่งเรียนรู้บ้านหมอพื้นบ้าน

นิสิตนักศึกษาได้รับความรู้ ความเข้าใจในการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ทั้งในโรงเรียน และครัวเรือน ว่าทำอย่างไรชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ นิสิตนักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปพัฒนาต่อยอดจากการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ควบคู่กับการปฏิบัติจริงที่เกิดขึ้นในชุมชน

นิสิตนักศึกษาได้รับความรู้ ความเข้าใจในการใช้ชีวิตแบบพอเพียง ทั้งในโรงเรียน และครัวเรือน ว่าทำอย่างไรชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ นิสิตนักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปพัฒนาต่อยอดจากการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ควบคู่กับการปฏิบัติจริงที่เกิดขึ้นในชุมชน

-

11. ความรู้พี่ให้น้องเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค »
อังคาร 15 พ.ย. 59 อังคาร 15 พ.ย. 59

คณะผู้จัดทำโครงการวิชากิจกรรมเสริมหลักสูตรได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค จึงได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมที่ชุมชนควนรู โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนในชุมชมและผู้ที่สนใจ เพื่อให้ทราบถึงสิทธิและกฎหมายที่เกี่ยวกับคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในเรื่องอาหาร และ    เวชสำอางค์ ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบและทำให้ชุมชมมีความเข้มแข็ง สามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้ 

  1. จัดกิจกรรมพี่สอนน้องเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 1 วัน โดยมีการให้ความรู้เกี่ยวสิทธิพื้นฐานขงผู้บริโภค รวมถึงการคุ้มสิทธิดังกล่าว และกิจกรรมนันทนาการเพื่อฝึกภาวะความเป็นผู้นำ          ความกล้าแสดงออกของนักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  1. ประเมินผลโดยการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันจัดกิจกรรม โดยมีความความหวังว่านักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะมีส่วนร่วมและได้รับความรู้มากยิ่งขึ้น
  2. ประเมินผลจากการจัดกิจกรรม โดยการให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบทดสอบก่อนและหลังทำกิจกรรม ซึ่งเป็นแบบทดสอบเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค
  3. ประเมินผลจากการจัดกิจกรรมโดยการใช้แบบสอบถามความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
  1. นักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้พื้นฐานและเข้าใจถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
  2. นักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงสิทธิของตนเองเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
  3. นักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคและรู้ถึงช่องทางในการร้องเรียน
  4. ปัญหาเกี่ยวกับการขนส่งนมได้รับการแก้ไขในขั้นพื้นฐาน
  5. อย.น้อยของโรงเรียนมีความเข้มแข็งในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับสิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
  6. อย. น้อยมีภาวะความเป็นผู้นำและมีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น

-

12. ความรู้พี่ให้น้องเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค »
อังคาร 15 พ.ย. 59

-

 

 

 

 

13. อบรมให้ความรู้สายส่งนมโรงเรียน »
ศุกร์ 18 พ.ย. 59 ศุกร์ 18 พ.ย. 59

คณะผู้จัดทำยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริโภคนมโรงเรียนที่มีคุณภาพ ในปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานในการขนส่งนมโรงเรียนให้มีอุณหภูมิตามที่กฎหมายกำหนด จึงจัดทำโครงการที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการขนส่งนมโรงเรียนให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้แก่เยาวชนและเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในชุมชนควนรู

  1. จัดกิจกรรมพบปะพูดคุยในเรื่องการขนส่งนมโรงเรียน ระหว่างผู้ประกอบการ(ผู้ขนส่งนม) ผู้นำชุมชน บุคลากรตัวแทนโรงเรียน และคณะผู้จัดทำ เพื่อพูดคุยและทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานในการขนส่งนมโรงเรียน
  2. ให้ความรู้ ความเข้าใจวิธีการส่งนมที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์เก็บนม การจัดเรียงนมที่ถูกต้องเพื่อรักษาอุณหภูมินมให้อยู่ในระดับความเย็นไม่เกิน 8 องศา
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้พื้นฐานและเข้าใจถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงสิทธิของตนเองเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคและรู้ถึงช่องทางในการร้องเรียน

ปัญหาเกี่ยวกับการขนส่งนมได้รับการแก้ไขในขั้นพื้นฐาน ผู้ที่มีส่วนร่วมในการส่งนมทีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิธีการจัดส่งที่ถูกต้อง รวมถึงการเปลี่ยนภาชนะเก็บนมที่เหมาะสมกับจำนวนนมที่จัดส่งให้ในโรงเรียน

-

14. อบรมให้ความรู้สายส่งนมโรงเรียน »
ศุกร์ 18 พ.ย. 59

-

 

 

 

 

15. อย.น้อยลงปฏิบัติตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร , ยา และนมโรงเรียนวัดไทรใหญ่ »
จันทร์ 19 ธ.ค. 59 จันทร์ 19 ธ.ค. 59

1.การคัดเลือกนักเรียนเข้ากิจกรรม อย.น้อย ได้แก่นักเรียนชั้น ป.4 – ป.5 ได้ทราบนโยบายและรายละเอียดของโครงการ
2. แจ้งผลนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย
3. ประชุมชี แจงในการด้าเนินงานโครงการ อย.น้อย
4. แบ่งกลุ่มนักเรียนในการท้ากิจกรรมต่างๆ ของโครงการ อย.น้อย เข้ากิจกรรมชมรม เลือกหัวหน้า รอง หัวหน้า เลขานุการและประชาสัมพันธ์ชมรม วางแผน ด้าเนินกิจกรรมประชุมร่วมกันในชมรม

อย. น้อย ท้ากิจกรรมสุ่มตรวจสอบอาหารทั งจากโรงอาหารของโรงเรียน ถ้าตรวจพบสารพิษตกค้าง ให้ทางชมรม แจ้งเตือนนักเรียนในโรงเรียนทราบ พร้อมกับแจ้ง ผลให้ผู้ประกอบการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

1.จากการสุ่มตรวจอาหารสดที่แม่ครัวนำมาปรุงให้นักเรียนรับประทาน อย.น้อยพบสารปนเปื้อนในขนมจีบ เป็นสารบอแร๊กที่เจือป่นอยู่ ขณะนี้แม่ครัวได้รับทราบถึงปัญหาแล้วและพร้อมจะหยุดซื้อมาเพื่อให้เด็กได้บริโภคต่อไป

2.พบปัญหาเรื่องยาสามัญที่ใช้อยู่ในโรงเรียน บางชนิดก็หมดอายุไปแล้ว อย.น้อยได้คัดทิ้ง และทาง รพ.สต.จะสนับสนุนยาชุดใหม่ให้กับทางโรงเรียน

อย.น้อยมีความรู้ความเข้าใจ สามารถตรวจสารอาหารปนเปื้อนในอาหาร นมโรงเรียน และยาในโรงเรียนด้วยตัวเองได้ และมีการสุ่มตรวจอย่างต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง

-

16. อย.น้อยลงปฏิบัติตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร , ยา และนมโรงเรียนวัดไทรใหญ่ »
จันทร์ 19 ธ.ค. 59

-

 

 

 

 

17. อย.น้อยลงปฏิบัติตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร , ยา และนมโรงเรียนบ้านไสท้อน »
พฤหัสบดี 19 ม.ค. 60 พฤหัสบดี 19 ม.ค. 60

1.การคัดเลือกนักเรียนเข้ากิจกรรม อย.น้อย ได้แก่นักเรียนชั้น ป.1 – ป.5 ได้ทราบนโยบายและรายละเอียดของโครงการ
2. แจ้งผลนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย
3. ประชุมชี แจงในการด้าเนินงานโครงการ อย.น้อย
4. แบ่งกลุ่มนักเรียนในการท้ากิจกรรมต่างๆ ของโครงการ อย.น้อย เข้ากิจกรรมชมรม เลือกหัวหน้า รอง หัวหน้า เลขานุการและประชาสัมพันธ์ชมรม วางแผน ด้าเนินกิจกรรมประชุมร่วมกันในชมรม

อย. น้อย ท้ากิจกรรมสุ่มตรวจสอบอาหารทั งจากโรงอาหารของโรงเรียน ถ้าตรวจพบสารพิษตกค้าง ให้ทางชมรม แจ้งเตือนนักเรียนในโรงเรียนทราบ พร้อมกับแจ้ง ผลให้ผู้ประกอบการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

อย.น้อยไม่พบสารปนเปื้อนในอาหารแต่อย่างใด สิ่งที่พบคือ เครื่องปรุงอาหารไม่มีตราฉลากเพราะแม่ครัวชอบเอาไปล้างอยู่บ่อยๆ จึงทำให้ฉลากที่ติดขวดหลุดออกไป

อย.น้อยมีความรู้ความเข้าใจ สามารถตรวจสารอาหารปนเปื้อนในอาหาร นมโรงเรียน และยาในโรงเรียนด้วยตัวเองได้ และมีการสุ่มตรวจอย่างต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง

-

18. อย.น้อยลงปฏิบัติตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร , ยา และนมโรงเรียนบ้านไสท้อน »
พฤหัสบดี 19 ม.ค. 60

-

 

 

 

 

19. ลงพื้นที่เพิ่มเติมครัวเรือนเกษตรฯ ครั้งที่ 2 »
พฤหัสบดี 9 ก.พ. 60 พฤหัสบดี 9 ก.พ. 60

ทีมงานได้ลงพื้นที่ครัวเรือนปลูกผักทำการเกษตรเพิ่มเติมจากเดิมที่ได้ข้อมูลมาเพียงแค่ 300 กว่าครัวเรือน ทีมงานได้ลงเก็บข้อมูลครัวเรือนที่ตกหล่นเพิ่มขึ้นอีก 400 กว่าครัวเรือน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปทำแผนที่แหล่งที่มาของอาหารในตำบล

ทีมทำงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือนเกษตรฯ ที่ตกหล่น โดยได้รับความร่วมมือจาก อสม. ส.อบต. และแกนนำหมู่บ้านร่วมกันให้ข้อมูล

เป้าหมายที่วางไว้สำหรับครัวเรือนเกษตรฯ ในพื้นที่ประมาณ 700 กว่าครัวเรือน

ผลที่ได้รับจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่มเติม ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

-

20. ลงพื้นที่เพิ่มเติมครัวเรือนเกษตรฯ ครั้งที่ 2 »
พฤหัสบดี 9 ก.พ. 60

-

 

 

 

 

21. ทำแผนที่ระบบความมั่นคงทางอาหาร »
อังคาร 28 ก.พ. 60 อังคาร 28 ก.พ. 60

-

-

-

-

-