ระยะเวลา | เป้าหมาย/วิธีการ | ผลการดำเนินงาน | ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข | |||
---|---|---|---|---|---|---|
ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | |
1. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 » | ||||||
พฤหัสบดี 2 มิ.ย. 59 | พฤหัสบดี 2 มิ.ย. 59 | คณะกรรมการได้เสนอแผนการทำงานเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการอาหารของเทศบาลตำบลชะแล้ ดังนี้
1.ติดตามภาวะโภชนาการอาหารกับโรงเรียนวัดชะแล้ และ ศพด. โดยคืนข้อมูลให้กับผู้ปกครอง และส่งข้อมูลให้กับ รพสต. เพื่อดูแลเด็กนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยง
2.ติดตั้งสื่อการเรียนรู้ และป้ายธงโภชนาการอาหารใน รร.และศพด.
3.ให้เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทำกิจกรรมอาหารพื้นบ้าน
4.สำรวจติดป้ายตามแหล่งครัวกลางแปลงผักที่ ศพด. รร. ทั้ง 2 รร. และแกนนำชุมชนเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร
5.ส่งเสริมกลุ่มประมง โดยการประชุม เพื่อทำข้อตกลงเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ และทำฟาร์มทะเล
6.ลงพื้นที่เก็บข้อมูลครัวเรือนตำบลชะแล้
7.จัดกิจกรรม อย.น้อย
8.จัดกิจกรรมขยะแลกไข่ของ ศพด.เทศบาลตำบลชะแล้
9.จัดกิจกรรมเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงสู่ชุมชนและโรงเรียน
10.ส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพของโรงเรียนลงสู่ชุมชน
11.จัดกิจกรรมอาหารประจำท้องถิ่นของตำบลชะแล้
12.ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการอาหาร ทั้ง 2 โรงเรียน 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
คณะกรรมการได้เสนอแผนการทำงาน มีผู้เข้าร่วมประชุม คือ รพ.สต.ชะแล้ ครูโรงเรียนวัดชะแล้ ครูโรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยา ครู ศพด. และแกนนำชุมชน |
คณะกรรมการเตรียมความพร้อมดำเนินการตามแผนที่วางไว้ |
รอดำเนินการตามแผนที่วางไว้ |
- |
2. ติดตั้งป้ายตามแหล่งความมั่นคงทางอาหาร » | ||||||
พุธ 6 ก.ค. 59 | พุธ 6 ก.ค. 59 | ดำเนินการติดตั้งป้ายเกษตรในโรงเรียน แกนนำชุมชน และความมั่นคงทางทะเล |
ติดตั้งป้ายตามสถานที่สำคัญดังนี้ 1.ศพด.เทศบาลตำบลชะแล้ จำนวน 1 ป้าย 2.โรงเรียนวัดชะแล้ จำนวน 1 ป้าย 3.โรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยา จำนวน 1 ป้าย 4.วอล์คเวย์ป่าชายเลน จำนวน 1 ป้าย 5.บ้าน นางนำ ไชยมนตรี จำนวน 1 ป้าย |
ดำเนินการติดตั้งป้ายเกษตรในโรงเรียน แกนนำชุมชน และความมั่นคงทางทะเล |
ดำเนินการติดตั้งป้ายเกษตรในโรงเรียน แกนนำชุมชน และความมั่นคงทางทะเล รวมทั้งหมด จำนวน 5 ป้าย |
- |
3. เดินหน้าพิทักษ์ รักษ์ ฟาร์มทะเล » | ||||||
พุธ 10 ส.ค. 59 | พุธ 10 ส.ค. 59 | สร้างคอนโดให้สัตว์น้ำอยู่อาศัย และระวางแนวเขตพื้นที่ห้ามจับสัตว์น้ำในรัศมีที่กำหนด |
สร้างคอนโดให้สัตว์น้ำอยู่อาศัย และใช้ท่อพีวีซีปักในเขตพื้นที่ห้ามจับสัตว์น้ำรัศมี 200 เมตร จากชายฝั่ง และตอนกลางคืนจะมีกลุ่มชาวประมงที่เลี้ยงปลาบริเวณนั้น คอยสังเกตุการณ์ผู้บุกลุก ที่ฝ่าฝืนเข้ามา |
สัตว์น้ำตัวเล็กๆ มีที่อยู่อาศัยหลบภัยจากศัตรู และจะมีอาหารทะเลซึ่งเป็นปลา กุ้ง ที่โตเต็มที่เป็นอาหารของคนเลี้ยงชุมชนได้ |
สร้างคอนโดให้สัตว์น้ำอยู่อาศัย จะช่วยในการอนุบาลสัตว์น้ำให้เจริญเติบโตขึ้นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้สัตว์น้ำมีอัตรารอดเพิ่มสูงขึ้น เป็นเป็นอาหารเลี้ยงคนในชุมชนได้ |
- |
4. พัฒนาระบบเกษตรในโรงเรียน » | ||||||
พฤหัสบดี 18 ส.ค. 59 | พฤหัสบดี 18 ส.ค. 59 | ให้เมล็ดพันธุ์ผักให้กับโรงเรียนทั้ง 3 โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีพืชผักปลอดสารพิษรับประทานอย่างเพียงพอ และมีสุขภาพตามหลักโภชนาการ ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข |
ให้เมล็ดพันธ์ผัก เช่น ผักบุ้ง บวบ มะเขือ แตงกวา ผักสายซิ่ม ฯลฯ กับโรงเรียนวัดชะแล้ โรงเรียนชะแล้นิมิตรวิทยา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะแล้ |
โรงเรียนมีผักปลอดสารพิษให้เด็กรับประทานตลอดทั้งปี |
โรงเรียนมีพืชผักปลอดสารพิษที่ใช้ในการประกอบอาหารที่เกิดจากผลผลิตของนักเรียน นักเรียนมีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น |
- |
5. สำรวจข้อมูลครัวเรือนเกี่ยวกับอาหารของตำบลชะแล้ » | ||||||
ศุกร์ 2 ก.ย. 59 | ศุกร์ 2 ก.ย. 59 | 1.นัดประชุมทีมงาน อสม.บางส่วนและแกนนำชุมชนในพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจในเครื่องมือสำรวจข้อมูลครัวเรือน 2.ผู้รับผิดชอบแยกย้ายลงเก็บข้อมูลตามครัวเรือนที่ตนเองรับผิดชอบ 3.ส่งคืนข้อมูลมายัง เทศบาลตำบลชะแล้ |
อสม.บางส่วนและแกนนำชุมชนในพื้นที่ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลของครัวเรือนตำบลชะแล้ ซึ่งตำบลชะแล้มีทั้งหมด 5 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 777 ครัวเรือน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านปากช่อง มีครัวเรือนทั้งหมด 166 ครัวเรือน หมู่ที่ 2 บ้านชายเหมือง มีครัวเรือนทั้งหมด 171 ครัวเรือน หมู่ที่ 3 บ้านกลาง มีครัวเรือนทั้งหมด 137 ครัวเรือน หมู่ที่ 4 บ้านป่าเกาะชะแล้ มีครัวเรือนทั้งหมด 166 ครัวเรือน หมู่ที่ 5 บ้านเขาผี มีครัวเรือนทั้งหมด 103 ครัวเรือน โดยแบ่งเก็บข้อมูลตามพื้นที่ ๆ ได้รับมอบหมาย ซึ่งจะลงเก็บข้อมูลในวันอาทิตย์ เพราะจะมีคนหยุดงาน(โดยส่วนใหญ่คนตำบลชะแล้จะทำงานนอกบ้าน) |
ครัวเรือนในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะปลูกข้าวและผักรับประทานเอง เหลือก็เอาไปจำหน่ายใกล้บ้าน บางบ้านก็เอาไปจำหน่ายในตลาดนัดในพื้นที่ |
คนในชุมชนใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้เป็นส่วนมาก |
- |
6. สนับสนุนปฏิบัติการโครงการ อย. น้อยในโรงเรียน » | ||||||
จันทร์ 5 ก.ย. 59 | จันทร์ 5 ก.ย. 59 | จัดกิจกรรม อย.ของโรงเรียนวัดชะแล้และโรงเรียนชะแล้นิมิตวิทยา |
นักเรียนโรงเรียนวัดชะแล้ จำนวน 30 คน และคณะครู นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลสงขลาบรมราชชนนี สงขลา เข้าร่วมอบรมโครงการ อย.น้อย |
๑. นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว ๒. นักเรียน อย.น้อย สามารถดำเนินกิจกรรมอย.น้อย ทั้งในโรงเรียนและในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
นักเรียนทั้ง 2 โรงเรียน นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมและสาธิตอาหารที่ปลอดภัย ไปใช้และเป็นแกนนำตัวแทนนักเรียน ดูแลเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในโรงเรียน |
- |
7. สนับสนุนปฏิบัติการโครงการอบรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากโรงเรียนลงสู่ชุมชน » | ||||||
พุธ 7 ก.ย. 59 | พุธ 7 ก.ย. 59 | จัดอบรมให้ความรู้ทำปุ๋ยเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ให้กับนักเรียนและแกนนำชาวบ้านที่สนใจเรื่องนี้ในชุมชน |
ให้ความรู้และสาธิตการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ กับ ครู นักเรียนโรงเรียนวัดชะแล้ และแกนนำชาวบ้านที่สนใจเรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และนำปุ๋ยหมักชีวภาพที่ผลิตได้ แจกจ่ายให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนวัดชะแล้ และชุมชน |
ประชาชนและกลุ่มโรงเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยหมักชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นการรักษาคุณภาพดินและสิ่งแวดล้อม และสามารถนำไปปฏิบัติได้ |
ได้รับความรู้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และมีปุ๋ยหมักชีวภาพใช้แทนปุ๋ยเคมี |
- |
8. นักศึกษาเภสัชศาสตร์ลงเรียนรู้ชุมชนต้นแบบในพื้นที่ตำบลชะแล้ » | ||||||
จันทร์ 19 ก.ย. 59 | จันทร์ 19 ก.ย. 59 | นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มอ.แบ่งกลุ่ม 5 กลุ่มเพื่อลงพื้นที่แหล่งเรียนรู้ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 แหล่งเรียนรู้ธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้
กลุ่มที่ 2 แหล่งเรียนรู้การจัดการระบบอาหารกลางวันที่มีคุณภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะแล้
กลุ่มที่ 3 แหล่งเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง |
นักศึกษาเภสัชศาสตร์จำนวน 32 คน และอาจารย์ ลงพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบในพื้นที่ตำบลชะแล้ โดยแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่มลงพื้นที่แหล่งเรียนรู้ตำบลชะแล้ |
นักศึกษาเภสัชศาสตร์ลงเรียนรู้ชุมชนต้นแบบในพื้นที่ตำบลชะแล้ โดยแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่มลงพื้นที่แหล่งเรียนรู้ตำบลชะแล้ และสรุปผลการแลกเปลี่ยนของแหล่งเรียนรู้แต่ละจุด |
นักศึกษาเภสัชศาสตร์ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้แต่ละด้าน ที่นอกเหนือจากทฤษฏีในรายวิชาที่เรียน และนำปัญหาที่ได้จากการลงพื้นที่ไปหาแนวทางแก้ปัญหา |
- |
9. ติดตั้งธงโภชนาการอาหารให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก » | ||||||
จันทร์ 3 ต.ค. 59 | จันทร์ 3 ต.ค. 59 | ติดตั้งธงโภชนาการอาหารให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
ติดตั้งธงโภชนาการอาหารให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 ป้าย |
มีธงโภชนาการอาหารในศูนย์พัมนาเด็กเล็กในครัว |
มีธงโภชนาการอาหารในศูนย์พัมนาเด็กเล็กในครัว |
- |
10. บริหารจัดการข้อมูลโครงการ » | ||||||
อาทิตย์ 30 ต.ค. 59 | อาทิตย์ 30 ต.ค. 59 | คีย์กิจกรรมลงเว็บไซต์ และจัดเก็บข้อมูลกิจกรรมแต่ละกิจกรรม |
จัดเก็บเอกสารและข้อมูลกิจกรรมทั้งหมด ลงเว็บไซต์และรายงานผลการดำเนินกิจกรรมต่อ สจรส. |
เพื่อให้มีเอกสารที่สมบูรณ์พร้อมส่งและรายงานผลให้กับพี่เลี้ยงโครงการ |
รายงานผลกิจกรรมทั้งหมดลงเว็บไซต์และรวบรวมเอกสารส่งพี่เลี้ยงโครงการ |
- |
11. โครงการปลูกพืชสมุนไพร » | ||||||
พุธ 16 พ.ย. 59 | พุธ 16 พ.ย. 59 | สวนปลูกพืชสมุนไพรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสว่างอารมณ์เทศบาลตำบลชะแล้ |
นร.และครู ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กร่วมกันปลูกพืชสมุนไพร โดยจัดสวนเพื่อปลูกพืชสมุนไพร |
เด็กนักเรียนมีความรู้ เรื่องสมุนไพรที่ปลูก ภูมิปัญญาพืชสมุนไพรไทย |
มีสวนปลูกพืชสมุนไพรที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
- |
12. โครงการชุมชนปากช่องร่วมใจ ใส่ใจรักษ์สุขภาพผู้สูงอายุ » | ||||||
เสาร์ 26 พ.ย. 59 | เสาร์ 26 พ.ย. 59 | ให้ความรู้ผู้สูงอายุ แบ่ง 4 ฐานเรียนรู้ดังนี้ ฐานที่ ๑ คัดกรองภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ ฐานที่๑ กินเค็มน้อยลงสักนิด พิชิตความดันฯ ฐานที่ ๒ สุขภาพดีด้วยวิถีโยคะ ฐานที่ ๓ ดวงตาสดใส ผู้สูงวัยสดชื่น ฐานที่ ๔ สูงวัย ใส่ใจข้อเสื่อม และนักศึกษาพยาบาลราชชนนี สงขลา มาทำกิจกรรมในตำบลชะแล้ เป็นเวลา 1 เดือน ต่อ 1 รุ่น |
เทศบาลตำบลชะแล้ร่วมวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา และอสม รพ.สต.ตำบลชะแล้ร่วมกันจัดกิจกรรมนี้ขึ้นโดยแบ่ง 4 ฐานเรียนรู้ดังนี้ ฐานที่ ๑ คัดกรองภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ ฐานที่๑ กินเค็มน้อยลงสักนิด พิชิตความดันฯ ฐานที่ ๒ สุขภาพดีด้วยวิถีโยคะ ฐานที่ ๓ ดวงตาสดใส ผู้สูงวัยสดชื่น ฐานที่ ๔ สูงวัย ใส่ใจข้อเสื่อม และลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ |
ให้ความรู้ผู้สูงอายุ แบ่ง 4 ฐานเรียนรู้ดังนี้ ฐานที่ ๑ คัดกรองภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ ฐานที่๑ กินเค็มน้อยลงสักนิด พิชิตความดันฯ ฐานที่ ๒ สุขภาพดีด้วยวิถีโยคะ ฐานที่ ๓ ดวงตาสดใส ผู้สูงวัยสดชื่น ฐานที่ ๔ สูงวัย ใส่ใจข้อเสื่อม |
มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมและให้ความตระหนักสนใจต่อกิจกรรมที่จัดขึ้น ให้ รพ.สต ติดตามประเมินภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร ประเมินโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว ทุก ๑ เดือน |
- |
13. โครงการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการ และการสร้างเสริมภาวะโภชนาการทุกช่วงวัยในระดับท้องถิ่น » | ||||||
พุธ 14 ธ.ค. 59 | พุธ 14 ธ.ค. 59 | ร่วมจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
เทศบาลตำบลชะแล้ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัย- สงขลานครินทร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา และสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ได้ร่วมกำหนดแนวทางสร้างความร่วมมือและการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดสงขลาในการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการระบบอาหารแบบบูรณาการ และการสร้างเสริมภาวะโภชนาการทุกช่วงวัยในระดับท้องถิ่น |
มีท้องถิ่นต่างๆ ในจังหวัดสงขลาเข้ามารับฟังผลที่เกิดขึ้นของตำบลตัวอย่าง เช่น ควนรู รัตภูมิ ชะแล้ และตลาดเกษตร มอ. |
ได้รับความรู้จากพื้นที่ตำบลตัวอย่างและท้องถิ่นที่เข้าร่วม ทำให้แต่ละท้องถิ่นนำความรู้ที่ได้กลับไปเขียนโครงการส่งมาที่ สจรส. |
- |
14. โครงการรวมพลังชาวชะแล้ สร้างนิสัย ใส่ใจสุขภาพ » | ||||||
เสาร์ 24 ธ.ค. 59 | เสาร์ 24 ธ.ค. 59 | เทศบาลตำบลชะแล้ร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี รพ.สต รร.วัดชะแล้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะแล้ ผู้สูงอายุหมูที่ 2 ตำบลชะแล้ โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหาร และแบ่งฐานกิจกรรม ออกเป็น 4 ฐาน ดังนี้ 1.สูงวัย สดใส ใส่ใจสุขภาพ 2.สตรีไทยร่วมใจ ห่างไกลโรคมะเร็ง 3. เติบโต สมวัย สดใส แข็งแรง 4.ลดหวาน มัน เค็ม เติมเต็มผักผลไม้ ห่างไกลโรคเรื้อรัง และนักศึกษาพยาบาลราชชนนี สงขลา มาทำกิจกรรมในตำบลชะแล้ เป็นเวลา 1 เดือน ต่อ 1รุ่น |
แบ่งฐานกิจกรรม ออกเป็น 4 ฐาน ดังนี้ 1.สูงวัย สดใส ใส่ใจสุขภาพ 2.สตรีไทยร่วมใจ ห่างไกลโรคมะเร็ง 3. เติบโต สมวัย สดใส แข็งแรง 4.ลดหวาน มัน เค็ม เติมเต็มผักผลไม้ ห่างไกลโรคเรื้อรัง มีนักศึกษาพยาบาล บรมราชชนนี ให้ความรู้ |
ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน |
ประชาชน ผู้สูงอายุ เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง ให้ความสนใจในกิจกรรมครั้งนี้จำนวนมาก |
- |
15. โครงการเด็กน้อยวัยใส พัฒนาการสมวัย ใสใจโภชนาการ » | ||||||
ศุกร์ 13 ม.ค. 60 | ศุกร์ 13 ม.ค. 60 | จัดกิจกรรม แบ่งออกเป็น 4 ฐานเรียนรู้ ดังนี้ ฐานที่ 1 รวมกันหรรษา ฐานที่2 หนูน้อยวัยใส พัฒนาการสมวัย ฐานที่ 3 โภชนาการ อาหารสมวัย ฐานที่ 4 รู้ทันพฤติกรรมเด็กพิเศษ และนักศึกษาพยาบาลราชชนนี สงขลา มาทำกิจกรรมในตำบลชะแล้ เป็นเวลา 1 เดือน ต่อ 1รุ่น |
เด็กก่อนวัยเรียนมีทั้งหมด 47 คน มีการให้ความรู้ผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยง ตามฐานเรียนรู้ 4 ฐาน ดังนี้ |
เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยและโภชนาการสมวัย |
ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม |
- |
16. โครงการความมั่นคงทางอาหาร(กลุ่มประมงพื้นบ้าน) » | ||||||
อังคาร 21 ก.พ. 60 | อังคาร 21 ก.พ. 60 | ขับเคลื่อนเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารทางทะเล |
มีวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับประมง คือ คุณสมชาย แสงกลัด หัวหน้าประมงเกาะหมาก มาให้ความรู้กับกลุ่มประมงตำบลชะแล้ มีการทำข้อตกลง และร่วมกันอนุรักษ์ปกป้องระบบนิเวศน์ทางทะเล |
กลุ่มประมงพื้นบ้านนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในกลุ่ม มีการเชื่อมโยงทางอาหาร ขายกุ้ง ปู ปลา ให้กับโรงเรียน และคนในชุมชน |
มีการจัดตั้งกลุ่มประมงพื้นบ้านขึ้นมาและเข้าใจกระบวนการเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร |
- |