การนำรูปแบบอุทยานอาหารเพื่อสุขภาพโดยมีต้นแบบจากตลาดเกษตร ม.อ. ไปสู่ตลาดในชุมชน

แผนงานอาหารปลอดภัย

by dezine @March,15 2016 11.58 ( IP : 202...17 )
ระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
1. เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอควนกาหลง และเกษตรกรศึกษาดูงานตลาดเกษตร ม.อ.รูปแบบในการบริหารจัดการ การบริหารจัดการและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานของตลาดนัดสินค้าเกษตร »
พุธ 9 มี.ค. 59 พุธ 9 มี.ค. 59

เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับระบบการดำเนินงานของสหกรณ์ประชารัฐ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

  • คุณวรภัทร  ไผ่แก้ว นำเสนอเรื่องรูปแบบในการบริหารจัดการ การบริหารจัดการและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานของตลาดนัดสินค้าเกษตร  โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 24 ท่าน

เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอควนกาหลง และเกษตรกร เข้าใจ  เรื่อง รูปแบบในการบริหารจัดการ การบริหารจัดการและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานของตลาดนัดสินค้าเกษตร เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับระบบการดำเนินงานของสหกรณ์ประชารัฐ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

คุณวรภัทร  ไผ่แก้ว นำเสนอเรื่องรูปแบบในการบริหารจัดการ การบริหารจัดการและปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานของตลาดนัดสินค้าเกษตร  ให้กับเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอควนกาหลง และเกษตรกร โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 24 ท่าน เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับระบบการดำเนินงานของสหกรณ์ประชารัฐ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

-

2. เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดสงขลา เยี่ยมชม เก็บตัวอย่างสินค้า และสัมภาษณ์ข้อมูลตลาดเกษตร ม.อ. ตลาดนัดต้นแบบ »
จันทร์ 14 มี.ค. 59 จันทร์ 14 มี.ค. 59

เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  จังหวัดสงขลา เยี่ยมชม เก็บตัวอย่างสินค้า และสัมภาษณ์ผู้บริหารตลาดเกษตร ม.อ.

เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  จังหวัดสงขลา เยี่ยมชม เก็บตัวอย่างสินค้าที่จำหน่ายภายในตลาดเกษตร ม.อ. และสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้บริหารตลาดเกษตร ม.อ. ในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 15.00-17.00 น.  ณ ตลาดเกษตร ม.อ. คณะทรัพยากรธรรมชาติ 

เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  จังหวัดสงขลา เยี่ยมชม เก็บตัวอย่างสินค้า และสัมภาษณ์ผู้บริหารตลาดเกษตร ม.อ.

เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  จังหวัดสงขลา เยี่ยมชม เก็บตัวอย่างสินค้าที่จำหน่ายภายในตลาดเกษตร ม.อ. และสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้บริหารตลาดเกษตร ม.อ. ในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 15.00-17.00 น.  ณ ตลาดเกษตร ม.อ. คณะทรัพยากรธรรมชาติ 

-

3. อบรมการบริหารจัดการตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัย สำนักงานพาณิชย์ จังหวัด สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา รุ่นที่ 1 »
พุธ 23 มี.ค. 59 พุธ 23 มี.ค. 59

เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินโครงการส่งเสริมตลาดสินค้าอินทรีย์ ปี 2559 เพื่อใช้ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตรงกับความต้องการของตลาด

คุณวรภัทร  ไผ่แก้วดำเนินกิจกรรมให้ความรู้วิธีการบริหารจัดการตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัย ของตลาดเกษตร ม.อ. มีเกษตรกร และเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์ จังหวัด สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา รุ่นที่ 1จำนวน  45 ท่าน

  • ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ความรู้ารบริหารจัดการตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัย เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินโครงการส่งเสริมตลาดสินค้าอินทรีย์ ปี 2559 เพื่อใช้ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตรงกับความต้องการของตลาด

เกษตรกร และเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์ จังหวัด สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา รุ่นที่ 1 จำนวน 45 ท่าน เข้าร่วมฝึกอบรมได้ความรู้ารบริหารจัดการตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัย เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินโครงการส่งเสริมตลาดสินค้าอินทรีย์ ปี 2559 เพื่อใช้ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตรงกับความต้องการของตลาด

-

4. อบรมการบริหารจัดการตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัย สำนักงานพาณิชย์ จังหวัด สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา รุ่นที่ 2 »
จันทร์ 28 มี.ค. 59 จันทร์ 28 มี.ค. 59

เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินโครงการส่งเสริมตลาดสินค้าอินทรีย์ ปี 2559 เพื่อใช้ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตรงกับความต้องการของตลาด

  • คุณวรภัทร  ไผ่แก้วดำเนินกิจกรรมให้ความรู้วิธีการบริหารจัดการตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัย ของตลาดเกษตร ม.อ.
  • มีเกษตรกร และเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์ จังหวัด สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา รุ่นที่ 2 จำนวน  39 ท่าน
  • ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้ความรู้การบริหารจัดการตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัย เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินโครงการส่งเสริมตลาดสินค้าอินทรีย์ ปี 2559 เพื่อใช้ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตรงกับความต้องการของตลาด
  • เกษตรกร และเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์ จังหวัด สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา รุ่นที่ 2 จำนวน  39 ท่าน เข้าร่วมฝึกอบรมได้ความรู้ารบริหารจัดการตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัย เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินโครงการส่งเสริมตลาดสินค้าอินทรีย์ ปี 2559 เพื่อใช้ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตรงกับความต้องการของตลาด

-

5. จัดฝึกอบรมโครงการเรียนรู้สู่โลกกว้างกับอัจฉริยะ »
พฤหัสบดี 7 เม.ย. 59 พฤหัสบดี 7 เม.ย. 59

เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียนกับตลาดเกษตร ม.อ.

  • น้องนักเรียนโรงเรียนอัจฉริยะ จำนวน 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมสอนวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาล้างจาน และการทำปุ๋ยหมัก การเพาะแมล็ดผักของตลาดเกษตร ม.อ. พร้อมให้นักเรียนปฏิบัติจริง
  • เด็กนักเรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียนกับตลาดเกษตร ม.อ.
  • น้องนักเรียนโรงเรียนอัจฉริยะ จำนวน 60 คน เข้าร่วมกิจกรรมสอนวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำน้ำยาล้างจาน และการทำปุ๋ยหมักของตลาดเกษตร ม.อ. พร้อมให้นักเรียนปฏิบัติจริง เพื่อเด็กนักเรียนได้เรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียน

-

6. ตรวจเยี่ยมแปลงเกษตรกรผู้จำหน่ายในตลาดเกษตร ม.อ. ต้นทางการผลิตสินค้า »
เสาร์ 30 เม.ย. 59 เสาร์ 30 เม.ย. 59

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เยี่ยมแปลงเพาะปลูกผักปลอดสารพิษ ต้นน้ำของการผลิตอาหารปลอดภัย ของผู้จำหน่ายในตลาดเกษตร ม.อ.

วันที่ 30 เมษายน 2559 เจ้าหน้าที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ และเกษตรกรในเครือข่ายจำนวน 20 ราย ร่วมเดินทางลงพื้นที่เพาะปลูกดังนี้

  • แปลงคุณคำนึง  สร้อยสีมาก และเกษตรกรในพื้นที่ อ.สทิงพระ จ.สงขลา

  • แปลงคุณทรงยศ  ศิวิไลกุล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

  • แปลงคุณควง  ประทุมทอง ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

  • เกษตรกรภายในกลุ่มได้ศึกษาเรียนรู้แลกเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกพืชในรูปแบบต่างๆ
  • เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เก็บข้อมูลการทำแปลงเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นต้นน้ำของห่วงโซ่อาหารปลอดภัย

เกษตรกรภายในกลุ่มได้ศึกษาเรียนรู้แลกเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกพืชในรูปแบบต่างๆ

  • แปลงของคุณคำนึงเป็นแปลงผักติดทะเลขนาด 2 ไร่ ตลอดระยะเวลา 6 ปี พี่คำนึงเล่าว่า ต้องซื้อขี้ไก่มาใส่ จนกลายเป็นดินสีดำ ที่ร่วนซุย ง่ายต่อการไถ พรวน ยกแปลง  สามารถปลูกผักปลอดภัย เป็นอาชีพเลี้ยงทั้งครอบครัวได้อย่างมั่นคง พี่คำนึงพาไปเยี่ยมชมสวนเครือข่าย ชื่อพี่พร  ที่ปลูกกล้วยน้ำว้าพื้นเมืองของสทิงพระ ในพื้นที่ 5 ไร่ พี่พรปลูกกล้วยยาวสองแถวตลอดแนว โดยขุดบ่อน้ำเป็นระยะๆ ด้านข้างเพื่อปลูกต้นกระจับ

  • แปลงผักไฮโดรโปนิกส์ ของคุณทรงยศ  ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนมาปลูกผักบนแคร่ครึ่งหนึ่ง ทำแปลงเกษตรในโรงเรือนหลังบ้าน  โรงเรือนสะอาด ใช้ระบบน้ำแบบสเปรย์พ่นโดยตั้งเวลาอัตโนมัติ  การปลูกผักบนโต๊ะทำให้จัดการได้ง่าย สะดวกสบาย และไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ต้องลงทุนค่อนข้างสูงในครั้งแรก

  • แปลงของคุณควง ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ ที่เข้าไปค่อนข้างลึกพอสมควร  ไปถึงต้องตกใจเพราะคลองชลประทานแห้งไม่เหลือน้ำเลย  คุณควงบอกว่า น้ำเริ่มหมดมา 1 อาทิตย์แล้ว อีกสัก 5 วัน ต้นไม้ในสวนคงตายหมดเพราะขาดน้ำ  ไม่เคยคิดว่าในหาดใหญ่จะขาดแคลนน้ำขนาดนี้

-

7. เสวนาขยายผลการดูงาน"เรื่องการปลูก แลโรงคัดแยกผักโครงการหลวง" »
พฤหัสบดี 16 มิ.ย. 59 พฤหัสบดี 16 มิ.ย. 59

จัดเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้จากคณะศึกษาดูงาน กับบุคลากรในคณะทรัพยากรธรรมชาติ  "เรื่องการปลูกและคัดแยกผักโครงการหลวง" เพื่อนำมาต่อยอดในการทำโรงคัดแยกผักของ คณะทรัพยากรธรรมชาติ

คณาจารย์ บุคลากร และเจ้าหน้าคณะทรัพยากรธรรมชาติร่วมรับฟังเวทีกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ จำนวน 70 ท่าน โดยมีผู้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนดังนี้ 1. ดร.เทวี มณีรัตน์  2.ดร.อดิเรก รักคง 3. นายสิน พรหมเทพ  4.นางวรภัทร ไผ่แก้ว  5.นายพงศ์เทพ ศรีเอียด

  • ผู้เข้าร่วมรับฟังได้ความรู้ "เรื่องการปลูกและคัดแยกผักโครงการหลวง"เพื่อนำมาต่อยอดในการทำโรงคัดแยกผักของ คณะทรัพยากรธรรมชาติ

จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้"เรื่องการปลูกและคัดแยกผักโครงการหลวง" เพื่อนำมาต่อยอดในการทำโรงคัดแยกผักของ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มีคณาจารย์ บุคลากร และเจ้าหน้าคณะทรัพยากรธรรมชาติร่วมรับฟังจำนวน 70 ท่าน โดยมีผู้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนดังนี้ 1. ดร.เทวี มณีรัตน์  2.ดร.อดิเรก รักคง 3. นายสิน พรหมเทพ  4.นางวรภัทร ไผ่แก้ว  5.นายพงศ์เทพ ศรีเอียด

-

8. ตัวแทนองค์กรภาครัฐและภาคธุรกิจจากจังหวัดเชียงราย ศึกษาดูงานตลาดสินค้าเกษตรต้นแบบ »
พุธ 22 มิ.ย. 59 พุธ 22 มิ.ย. 59
  • วันที่ 22  มิถุนายน(ช่วงบ่าย) ศึกษาดูงาน"การจัดการตลาดเกษตร ม.อ. ตลาดนัดต้นแบบ" โดยมีท่านคณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต และคุณวรภัทร  ไผ่แก้ว  ผู้จัดการตลาดเกษตร ม.อ. ให้การต้อนรับพร้อมนำเสนอความเป็นมาของตลาดเกษตร ม.อ.  ซึ่งมีระยะเวลากว่า 15 ปี มีการบริหารจัดการ การพัฒนา การส่งเสริมผู้จำหน่าย การส่งเสริมผู้ใช้บริการ การส่งเสริมเกษตรกร ปัญหาในการดำเนินงาน  และความสำเร็จของตลาดเกษตร ม.อ. ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน
  • วันที่ 22  มิถุนายน(ช่วงบ่าย) ศึกษาดูงาน"การจัดการตลาดเกษตร ม.อ. ตลาดนัดต้นแบบ" โดยมีท่านคณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต และคุณวรภัทร  ไผ่แก้ว  ผู้จัดการตลาดเกษตร ม.อ. ให้การต้อนรับ 
  • เกษตรกรและภาคธุรกิจได้แลกเปลี่ยนวิธีการทำงาน การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร
  • วันที่ 22  มิถุนายน(ช่วงบ่าย) ศึกษาดูงาน"การจัดการตลาดเกษตร ม.อ. ตลาดนัดต้นแบบ" โดยมีท่านคณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต และคุณวรภัทร  ไผ่แก้ว  ผู้จัดการตลาดเกษตร ม.อ. ให้การต้อนรับพร้อมนำเสนอความเป็นมาของตลาดเกษตร ม.อ.  ซึ่งมีระยะเวลากว่า 15 ปี มีการบริหารจัดการ การพัฒนา การส่งเสริมผู้จำหน่าย การส่งเสริมผู้ใช้บริการ การส่งเสริมเกษตรกร ปัญหาในการดำเนินงาน  และความสำเร็จของตลาดเกษตร ม.อ. ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน

-

9. ตัวแทนองค์กรภาครัฐและภาคธุรกิจจากจังหวัดเชียงราย ศึกษาดูงานแปลงเกษตรปลอดภัย ต้นแบบผู้ผลิตผักปลอดภัยตลาดเกษตร ม.อ. »
ศุกร์ 24 มิ.ย. 59 พฤหัสบดี 23 มิ.ย. 59

ตัวแทนองค์กรภาครัฐและภาคธุรกิจจากจังหวัดเชียงราย ศึกษาดูงานแปลงเกษตรปลอดภัย ต้นแบบผู้ผลิตผักปลอดภัยตลาดเกษตร ม.อ.

  • วันที่ 22  มิถุนายน คณะดูงานจากจังหวัดเชียงรายเดินทางไปเยี่ยมชมแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ ณ บ้านคุณทรงยศ สุวรรณานนท์ เกษตรกรผู้จำหน่ายสินค้าในตลาดเกษตร ม.อ. ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านพรุ อ.หาดใหญ่
  • วันที่ 23  มิถุนายน ศึกษาดูงานที่แปลงผักปลอดสารพิษของคุณคำนึง  สร้อยสีมาก เกษตรกรผู้ปลูกผักจำหน่ายสินค้าในตลาดเกษตร ม.อ.  ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ บ้านดีหลวง อำเภอสทิงพระ
  • เกษตรกรและภาคธุรกิจได้แลกเปลี่ยนวิธีการทำงาน การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร
  • เกษตรกรได้แลกเปลี่ยนความรู้ในการทำเกษตร ระหว่างเกษตรกรทั้ง 2 จังหวัด
  • วันที่ 22  มิถุนายน คณะดูงานจากจังหวัดเชียงรายเดินทางไปเยี่ยมชมแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ ณ บ้านคุณทรงยศ สุวรรณานนท์ เกษตรกรผู้จำหน่ายสินค้าในตลาดเกษตร ม.อ. ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านพรุ อ.หาดใหญ่ แปลงผักของคุณทรงยศ ทำการปลูกผักในโรงเรือนขนาดใหญ่ มีการแบ่งพื้นที่การเพาะปลูกออกเป็น 3 รูปแบบ
    ส่วนที่ 1 เป็นการปลูกผักบนโต๊ะ แบบไฮโดรโปนิกส์ มีผักหลากหลายชนิด เช่น คะน้า กวางตุ้ง ขึ้นฉ่าย กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค และผักสลัดชนิดอื่นๆ ส่วนที่ 2 เป็นการปลูกผักในกระถาง เช่น มะเขือเทศ เมล่อน บรอกโคลี
    ส่วนที่ 3 เป็นการปลูผักบนโต๊ะโดยใช้ดินและใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูก มีผักจำพวกแครอท คะน้าเห็ดหอม คะน้าใบหยิก จิงจูฉ่าย ผักกาด และผักสลัดชนิดต่างๆ การปลูกผักของคุณทรงยศทั้งหมดไม่ได้ใช้ยากำจัดศัตรูพืช แต่จะใช้สารจำพวกจุลินทรีย์ เชื้อราที่มีประสิทธิภาพมาดูแลแปลงผัก เช่น ใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการควบคุมแมลงศัตรูพืช  ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อรา ภายในแปลงของคุณทรงยศได้วางระบบการเพาะปลูก การให้น้ำ  การดูแลวัชพืช การควบคุมโรคพืชไว้เป็นอย่างดีง่ายต่อการจัดการ ทำให้คณะศึกษาดูงานให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
  • วันที่ 23  มิถุนายน ศึกษาดูงานที่แปลงผักปลอดสารพิษของคุณคำนึง  สร้อยสีมาก เกษตรกรผู้ปลูกผักจำหน่ายสินค้าในตลาดเกษตร ม.อ.  ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ บ้านดีหลวง อำเภอสทิงพระ  เมื่อคณะศึกษาดูงานจากเชียงรายเดินทางมาถึงบ้านดีหลวงมีคณะบุคคลต่างๆให้การต้อนรับจำนวนมาก เช่น นายอนุสร  ตันโชติกุล  นายอำเภอสทิงพระ  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  ชาวบ้านในตำบลดีหลวง และมี ผศ.ดร.ปราโมทย์  แก้ววงศ์ศรี  รองคณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติร่วมให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงาน  แปลงผักของคุณคำนึง เป็นแปลงผักปลอดสารพิษ 100 %  ปลูกพืชผักหลากหลายชนิดผสมผสานกัน เช่น ถั่วฝักยาว มะเขือยาว  อัญชัน หัวไชเท้า กวางตุ้งดอก คะน้า ผักบุ้ง ผักโขมแดง  ผักโขมเขียว  แตงกวา กะเพรา และพืชผักอื่นๆอีกจำนวนมาก คณะศึกษาดูงานทุกคนตื่นเต้นกับการเยี่ยมชมแปลงครั้งนี้  พี่คำนึงได้ต้อนรับทุกคนด้วยลูกตาลโตนดอ่อน ปอกกันสดๆบริเวณหน้าแปลง และเมื่อเดินลงมาจะพบกับแปลงผักที่ทอดเป็นแนวยาวสีเขียวตัดกับสีแดงของผักโขมแดง สวยสดุดสายตาของทุกคนที่เยี่ยมชม  พร้อมคำเชื้อเชิญของพี่คำนึงให้ทุกคนลองเก็บถั่วฝักยาวและแตงกวามาลองชิม ทำให้ทุกคนได้พบกับความหวานกรอบอร่อยของผักปลอดสารพิษที่เก็บด้วยมือตนเอง

-

10. การตลาดสร้างรายได้ เพิ่มกำไร ใส่ใจผู้บริโภค เทศบาลตำบลกำแพงเพชร »
จันทร์ 27 มิ.ย. 59 จันทร์ 27 มิ.ย. 59

จัดกิจกรรมให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำตลาดอย่างยั่งยืน สร้างรายได้ เพิ่มกำไร ใส่ใจผู้บริโภค  และศึกษาดูงานตลาดเกษตร ม.อ.

  • ช่วงเช้าคุณวรภัทร  ไผ่แก้ว จัดกิจกรรมให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำตลาดอย่างยั่งยืน
  • นำคณะศึกษาดูงานตลาดเกษตร ม.อ.
  • มีผู้จำหน่ายและเจ้าหน้าที่ สำนักงานเทศบาลตำบลกำแพงเพชร เข้าร่วมจำนวน 50 ท่าน

ผู้เข้าร่วมโครงการได้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำตลาดอย่างยั่งยืน และศึกษาดูงานต้นแบบจริงของตลาดเกษตร ม.อ. 

  • ช่วงเช้าคุณวรภัทร  ไผ่แก้ว จัดกิจกรรมให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำตลาดอย่างยั่งยืน
  • นำคณะศึกษาดูงานต้นแบบจริง อย่างตลาดเกษตร ม.อ.
  • มีผู้จำหน่ายและเจ้าหน้าที่ สำนักงานเทศบาลตำบลกำแพงเพชร เข้าร่วมจำนวน 50 ท่าน

-

11. ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ (นายวิชัย โภชนกิจ) และพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลาเยี่ยมชมตลาดเกษตร ม.อ. ตลาดต้นแบบการบริหารจัดการ »
ศุกร์ 8 ก.ค. 59 ศุกร์ 8 ก.ค. 59

ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ (นายวิชัย โภชนกิจ) และพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลาเยี่ยมชมตลาดเกษตร ม.อ. ตลาดต้นแบบการบริหารจัดการ

ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ (นายวิชัย โภชนกิจ) และพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลา จำนวน 16 ท่านเยี่ยมชมตลาดเกษตร ม.อ.

  • ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ เยี่ยมชมตลาดเกษตร ม.อ.

ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ (นายวิชัย โภชนกิจ) และพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสงขลา จำนวน 16 ท่านเยี่ยมชมตลาดเกษตร ม.อ. โดยมี ผศ.ทวีศักดิ์  นิยมบัณฑิต ให้การต้อนรับ

-

12. น้องๆชุมชนแออัดจันทร์วิโรจน์ เรียนรู้การทำเกษตรวิถีพอเพียง ณ ตลาดเกษตร ม.อ. »
เสาร์ 16 ก.ค. 59 เสาร์ 16 ก.ค. 59

น้องๆชุมชนแออัดจันทร์วิโรจน์ เรียนรู้การทำเกษตรวิถีพอเพียง ณ ตลาดเกษตร ม.อ.

  • น้องๆจากชุมชนแออัดจันทร์วิโรจน์จำนวน 25 คนเข้าร่วมกิจกรรม ทำบุ๋ยหมัก เผาแกลบดำ ทำดินผสม ปลูกผัก
  • ผู้จำหน่าย และเกษตรกรในตลาดเกษตร ม.อ.จำนวน 25 คนร่วมกันจัดกิจกรรม

น้องๆชุมชนแออัดจันทร์วิโรจน์ได้ศึกษาเรียนรู้การทำการเกษตรวิถีพอเพียง

  • น้องๆจากชุมชนแออัดจันทร์วิโรจน์จำนวน 25 คนเรียนรู้การทำการเกษตรวิถีพอเพียง การทำปุ๋ยหมัก การเผาแกลบดำ การทำดินผสม การปลูกผัก
  • ผู้จำหน่าย และเกษตรกรในตลาดเกษตร ม.อ.จำนวน 25 คนร่วมกันจัดกิจกรรม

-

13. แปลงสาธิตคนปลูกผักอินทรีย์ ถ่ายทอดวิธีการปลูกพืชปลอดสารพิษของเกษตรกรในตลาดเกษตร ม.อ. »
ศุกร์ 12 ส.ค. 59 ศุกร์ 12 ส.ค. 59

แปลงสาธิตคนปลูกผักอินทรีย์ ถ่ายทอดวิธีการปลูกพืชปลอดสารพิษของเกษตรกรในตลาดเกษตร ม.อ. ในงานเกษตรภาคใต้ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ให้กับผู้เยี่ยมชมงาน

  • ภายในแปลงจัดให้มีวิทยากรประจำแต่ละจุด 1.จุดเผาแกลบ  ทำดินผสม  2.จุดแนะนำการใช้ชีวินทรีย์ในการปลูกพืช
  • ผู้เข้าชมแปลงได้ความรู้ ได้สัมผัสถึงกระบวนการ รูปแบบการปลูกพืชปลอดภัย โดยใช้วิธีการชีวนทรีย์
  • เกษตรกรเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำการเกษตรปราณีตในรูปแบบต่างๆ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดการเพาะปลูกของตนเองได้

จัดทำแปลงสาธิตการปลูกผักปลอดภัย ใช้วิธีชีวินทรีย์ แต่ละวันจะมีเกษตรกรประจำจุดคอยอธิบายให้ความรู้ให้กับผู้สนใจ โดยได้แบ่งพื้นที่การเพาะปลูกออกเป็นส่วนๆดังนี้

  • แปลงสาธิตการปลูกผักบนโต๊ะ เป็นวิธีการปลูกพืชแนวใหม่ เพื่อแก้ปัญหาสำหรับการปลูกในพื้นที่จำกัด ไม่มีพื้นดิน หรือมีสภาพดินไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก การปลูกบนโต๊ะสามารถผสมดินได้ตามความเหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด  การเพาะปลูกลักษณะนี้สามารถปลูกผักได้ทุกชนิด เช่น ผักสลัด ผักไทย ผักพื้นบ้าน ผลไม้บางชนิด (แคนตาลูป แตงจีน) ถ้าท่านมาถึงแล้วแนะนำให้เข้าไปชมโต๊ะปลูกผักเหนาะซึ่งมีผักหลายชนิดปลูกบนโต๊ะเดียวกัน

  • แปลงสาธิตการปลูกผักผสมผสาน ปลูกผักบนพื้นดินหลากหลายชนิดตั้งแต่
    ผักตระกูลกะหล่ำ คือ กะหล่ำปลี บล๊อคโคลี่ กะหล่ำดอก
    ผักอายุสั้น คือ คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง และผักโขม
    และผักอายุยาว คือ กะเพรา โหระพา และพริก
    ซึ่งผักทั้งหมดในทุกแปลงเน้นการปลูกโดยชีววิธี ผลิตผักปลอดภัยโดยไม่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช

  • แปลงสาธิตพีระมิดผัก เป็นการปลูกผสมผสานระหว่างผักและดอกไม้ โดยตัวชั้นพีระมิดมี 4 ชั้น ในแต่ละชั้นปลูกผักสลัด กรีนโอ๊ค เรดโอ๊คสลับกัน มีวงกลมวงในล้อมด้วยดอกดาวเรืองฝรั่งเศส 2 สี ปลูกสลับกับบานชื่น 2 สี  สำหรับวงกลมวงนอกล้อมด้วยผักสลัด

  • แปลงสาธิตสกายวอล์คสะพานน้ำเต้าขาควาย ประกอบด้วย (1.) ตัวสะพาน ความยาวตัวสะพาน 20 เมตร ความกว้าง 3 เมตร และความสูง 1.7 เมตร  (2.) พื้นสะพาน ที่ทำจากไม้ไผ่ขัดสาน (3.) กระถางดอกไม้และผักกลางสะพาน  (4.) ค้างน้ำเต้าขาควาย มีโครงเป็นรูปทรงต่างๆ ที่ยึดติดกับตัวสะพาน สำหรับให้เถาของน้ำเต้าขาควายได้ปีนป่าย และเมื่อถึงคราวออกลูก ในแต่ละรูปทรงก็เป็นที่ยึดเกาะและตัวลูกห้อยลงมาให้เราได้มองลูกของน้ำเต้าใกล้ชิด  (5.) สำหรับตีนสะพานส่วนเป็นพื้นดิน ปลูกต้นผักโขม 2 สี สลับกัน
  • ศาลาใบเหรง ศาลาใบเหรง “เหรง” เป็นพืชตระกูลปาล์ม สามารถพบได้มากในพื้นที่ภาคใต้  การนำใบมามุงหลังคาสามารถทำได้โดย    ไม่ต้องใช้ตะปูหรือลวดเลย ศาลานี้ทำเพื่อเป็นที่พักร้อนหลังจากเสร็จจากลงแปลง เป็นที่เก็บอุปกรณ์การเกษตร สารชีวินทรีย์  เตรียมเพาะเมล็ด และเป็นโรงผสมดิน ลานดินบริเวณหน้าศาลาใบเหรงเป็นจุดเผาแกลบ เพื่อใช้ผสมดินเพาะปลูก  และควันไฟจากการเผาสามารถช่วยไล่แมลงได้อีกทางหนึ่ง

-

14. ตลาดเกษตร ม.อ. เข้าร่วม โครงการ "สงขลาเกษตรสุขภาพ เกษตรคุณภาพ เกษตรผสมผสาน เกษตรทางเลือกและนวัตกรรมการเกษตร" และ ลงนาม MOU ความร่วมมือจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร ผู้บริหารห้างสรรพสินค้า »
พุธ 31 ส.ค. 59 พุธ 31 ส.ค. 59

ตลาดเกษตร ม.อ. เข้าร่วม โครงการ "สงขลาเกษตรสุขภาพ เกษตรคุณภาพ เกษตรผสมผสาน เกษตรทางเลือกและนวัตกรรมการเกษตร" และ ลงนาม MOU ความร่วมมือจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร ผู้บริหารห้างสรรพสินค้า

การประชุมเริ่มตั้งแต่เวลา 9.00 น. ณศาลากลางจังหวัดสงขลาและลงนาม MOU ความร่วมมือจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร

  • ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ชีแจงแผนการพัฒนา การส่งเสริมเกษตรกรในจังหวัดสงขลา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ บรรยายแนะนำการบริหารจัดการเวลา การแบ่งสัดส่วนพื้นที่แปลงปลูกพืช
  • ดร.ทัศนี ขาวเนียม บรรยายการเตรียมแปลงดิน การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเหยื่อ
  • ดร.เทวี มณีรัตน์ บรรยายแนะนำวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการชีวินทรีย์
  • ผู้บริหารห้างสรรพสินค้า ท๊อปซุปเปอร์มาเก็ต แม็กโคร บิ๊กซี โลตัส โอเดี่ยนแฟชั่นมอลล์ ชีแจ้งการรับผักเข้าจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า และตอบข้อซักถาม
  • เกษตรกรรับทราบแนวทางการดำเนินงานของจังหวัดสงขลา
  • เกษตรกรเข้าใจแนวทางการรับผักเข้าจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า
  • เกษตรในเครือข่าย แลกเปลี่ยนรู้กับเกษตรกรกลุ่มอื่นๆในจังหวัดสงขลา

การประชุมเริ่มตั้งแต่เวลา 9.00 น. ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา  และลงนาม MOU ความร่วมมือจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรโดยแบ่งออกเป็นช่วงเช้าและช่วงบ่าย

ช่วงเช้า - ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ชี้แจงแผนการพัฒนา การส่งเสริมเกษตรกรในจังหวัดสงขลา - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ บรรยายแนะนำการบริหารจัดการเวลา การแบ่งสัดส่วนพื้นที่แปลงปลูกพืช - ดร.ทัศนี ขาวเนียม บรรยายการเตรียมแปลงดิน การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ - ดร.เทวี มณีรัตน์ บรรยายแนะนำวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการชีวินทรีย์

ช่วงบ่าย - ท่านผู้ว่าราชการสรุปบทเรียนให้กับเกษตรกร กิจกรรมการการสนันสนุนเกษตรกรในจังหวัดสงขลาที่กำลังจะดำเนินงาน - ผู้บริหารห้างสรรพสินค้า ท๊อปซุปเปอร์มาเก็ต แม็กโคร บิ๊กซี โลตัส โอเดี่ยนแฟชั่นมอลล์ ชี้แจ้งการรับผักเข้าจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า และตอบข้อซักถามจากเกษตรกร - ร่วมลงนาม MOU ความร่วมมือจำหน่ายสินค้าทางการเกษตร - เกษตรกรแต่ละพื้นที่ แต่ละชนิดพืชรวมกลุ่มกันปรึกษา แนวทางการทำการตลาดรวมกันในโอกาศต่อไป (กลุ่มกล้วยหอมทอง กลุ่มสมาทฟาร์มเมอร์ กลุ่มปลูกผักไฮโดร กลุ่มปลูกมะม่วงเบา ,พิมเสน กลุ่มไม้ผล  กลุ่มอ้อยคั้นน้ำ )

-

15. กลุ่มแม่บ้าน ผู้จำหน่าย ตลาดตำบลคูขุด และเกษตรกรในอำเภอสทิงพระ ศึกษาดูงานแปลงผักปลอดภัย และการจัดตลาดเกษตร ม.อ. »
ศุกร์ 2 ก.ย. 59 ศุกร์ 2 ก.ย. 59

เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินโครงการตลาดสินค้าอินทรีย์ สร้างมูลค่าเพิ่ม  ปรับปรุงการดำเนินงานของตลาดกลุ่มแม่บ้าน ตลาดตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ

กลุ่มแม่บ้าน ตลาดตำบลคูขุด  และผู้จำหน่ายในอำเภอสทิงพระจำนวน 16 ท่าน ศึกษาดูงานการแปลงผักปลอดภัยของคุณคำนึง สร้อยสีมาก และศึกษาดูงานการจำหน่ายสินค้า ณ ตลาดเกษตร ม.อ.

กลุ่มแม่บ้าน ตลาดตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ ผู้จำหน่าย ได้ความรู้การปลูกผักปลอดภัย และการจำหน่ายสินค้าเกษตร

กลุ่มแม่บ้าน ตลาดตำบลคูขุด และผู้จำหน่ายในอำเภอสทิงพระจำนวน 16 ท่าน ศึกษาดูงานการแปลงผักปลอดภัยของคุณคำนึง สร้อยสีมาก และศึกษาดูงานการจำหน่ายสินค้า ณ ตลาดเกษตร ม.อ.

-

16. จัดอบรมหลักสุขาภิบาลอาหาร การเลิกใช้โฟมพื่อพัฒนายกระดับสถานที่จำหน่ายอาหาร ให้กับตลาดกรีนเวย์หาดใหญ่ ห้างอาเซียนพลาซ่าและโรงเรียนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ »
อังคาร 27 ก.ย. 59 อังคาร 27 ก.ย. 59

ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารกับผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้ประกอบการร้านอาหารในโรงเรียน รวมทั้งบุคลากรในโรงเรียน รวมจำนวน 150 คน โดยจัดอบรมที่ห้างอาเชียนพลาซ่า หาดใหญ่

ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารกับผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้ประกอบการร้านอาหารในโรงเรียน รวมทั้งบุคลากรในโรงเรียน รวมจำนวน 150 คน โดยจัดอบรมที่ห้างอาเชียนพลาซ่า หาดใหญ่

ผู้ประกอบร้านอาหารจากห้างกรีนเวย์หาดใหญ่ ห้างอาเซียนพลาซ่า ผู้ประกอบการในโรงเรียนศรีนครมูลนิธิ วิทยาลัยเทคโนโลยีนครหาดใหญ่ วิทยาลัยอุดมศึกษาพาณิชยการ วิทยาลัยหาดใหญ่อำนวยวิทย์  โรงเรียนพาณิชยการหาดใหญ่ โรงเรียนคุณธรรมวิทยา รวมผู้เข้ารับการอบรม 150 คน นอกจากนี้ได้เชิญคุณวรภัทร ไผ่แก้ว  มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการตลาดเกษตร ม.อ.

ร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้ร่วมกันประเมินร้านจำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลทางกายภาพก่อนให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้ประกอบการในโรงเรียน เข้ารับการอบรมความรู้เรื่องการจัดการสุขาภิบาลอาหารในวันที่ 27 กันยายน 2559

-

17. บรรยายความเป็นมาของชุมชนตลาดเกษตร ม.อ. ให้กับนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ »
พุธ 12 ต.ค. 59 พุธ 12 ต.ค. 59

เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงความหมาย ประวัติและคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา พลวัตของภูมิปัญญาท้องถิ่น บทบาทของคนรุ่นใหม่ในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

  • นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ  ม.อ.หาดใหญ่ จำนวน 50 คนเข้าร่วมรับฟังความหมาย ประวัติและคุณค่าของตลาดเกษตร ม.อ. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา พลวัตของภูมิปัญญาท้องถิ่น บทบาทของคนรุ่นใหม่ในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • นักศึกษาผู้เข้ารับฟังประวัติความเป็นมาในและคุณค่าของตลาดเกษตร ม.อ. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา พลวัตของภูมิปัญญาท้องถิ่น บทบาทของคนรุ่นใหม่ในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • คุณวรภัทร  ไผ่แก้ว บรรยายให้นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ  ม.อ.หาดใหญ่ จำนวน 50 คนเข้าร่วมรับฟังความหมาย ประวัติและคุณค่าของตลาดเกษตร ม.อ. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญา พลวัตของภูมิปัญญาท้องถิ่น บทบาทของคนรุ่นใหม่ในการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น  และศึกษาดูงานตลาดเกษตร ม.อ.

-

18. คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะครูจาก12โรงเรียน ตชด พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และบุคลากรจากกรมชลประทาน ศึกษาดูงานเทคโนโลยีการปลูกพิช ผัก และเทคโนโลยีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลาเกษตร ม.อ. »
ศุกร์ 14 ต.ค. 59 ศุกร์ 14 ต.ค. 59

คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะครูจาก12โรงเรียน ตชด พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และบุคลากรจากกรมชลประทาน ศึกษาดูงานเทคโนโลยีการปลูกพิช ผัก และเทคโนโลยีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลาดเกษตร ม.อ.

คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะครูจาก 12 โรงเรียน ตชด พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และบุคลากรจากกรมชลประทาน รวมจำนวน 60 ท่าน ศึกษาดูงานเทคโนโลยีการปลูกพิช ผัก และเทคโนโลยีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลาดเกษตร ม.อ.

ได้รับความรู้งานเทคโนโลยีการปลูกพืช ผัก และเทคโนโลยีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลาดเกษตร ม.อ.เพื่อเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ในการนำไปสู่การเรียนการสอนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศ

คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะครูจาก 12 โรงเรียน ตชด พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และบุคลากรจากกรมชลประทาน รวมจำนวน 60 ท่าน ศึกษาดูงานเทคโนโลยีการปลูกพิช ผัก และเทคโนโลยีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของตลาดเกษตร ม.อ.เพื่อเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ในการนำไปสู่การเรียนการสอนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศ

-

19. เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตร และเกษตรกรอำเภอนาทวี ศึกษาดูงานกิจกรรมของเครือข่ายตลาดเกษตร ม.อ.และเยี่ยมชมมแปลงผักของเกษตรกรและโต๊ะปลูกของเครือข่ายเกษตรกรฯ »
จันทร์ 17 ต.ค. 59 จันทร์ 17 ต.ค. 59

เพื่อให้เครือข่ายเกษตรกรโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชอาหารในพื้นที่ป่าชุมชนทุ่งหัวเมืองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามวาระจังหวัดสงขลา (ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา)

เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตร และเกษตรกรอำเภอนาทวี จำนวน 16 ท่าน ศึกษาดูงานแปลงปลูกผักปลอดสารพิษของคุณคำนึง  สร้อยสีมาก ในอำเภอสทิงพระ และร่วมปลูกผักบนโต๊ะ พร้อมศึกษาดูงานการจำหน่ายสินค้าเกษตร ณ ตลาดเกษตร ม.อ.

  • ถ่ายทอดความรู้การทำการเกษตรแบบปลอดภัย และการจำหน่ายสินค้าเกษตร เพื่อให้เครือข่ายเกษตรกรโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชอาหารในพื้นที่ป่าชุมชนทุ่งหัวเมืองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามวาระจังหวัดสงขลา (ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา)

วันที่ 17 ตุลาคม เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตร และเกษตรกรอำเภอนาทวี จำนวน 16 ท่าน ศึกษาดูงานแปลงปลูกผักปลอดสารพิษของคุณคำนึง  สร้อยสีมาก ในอำเภอสทิงพระ และร่วมปลูกผักบนโต๊ะ พร้อมศึกษาดูงานการจำหน่ายสินค้าเกษตร ณ ตลาดเกษตร ม.อ. เพื่อให้เครือข่ายเกษตรกรโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชอาหารในพื้นที่ป่าชุมชนทุ่งหัวเมืองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามวาระจังหวัดสงขลา (ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา)

-

20. การยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนล่าง ศึกษาดูงานเรื่องการจัดการทั้งระบบ ของตลาดเกษตร ม.อ. »
ศุกร์ 21 ต.ค. 59 ศุกร์ 21 ต.ค. 59
  • เจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนล่าง ศึกษาดูงานการบริหารจัดการทั้งระบบของตลาดเกษตร ม.อ.
  • คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 13 ท่าน ร่วมศึกษาดูงาน  โดยมี ผศ.ทวีศักดิ์  นิยมบัณฑิตเป็นผู้ถ่ายทอดการบริหารจัดการทั้งระบบของตลาดเกษตร ม.อ.
  • เจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนล่าง เข้าใจรูปแบบ อุปสรรค การบริหารจัดการตลาดเกษตร ม.อ.
  • คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 13 ท่าน ร่วมศึกษาดูงาน  โดยมี ผศ.ทวีศักดิ์  นิยมบัณฑิตเป็นผู้ถ่ายทอดการบริหารจัดการทั้งระบบ ปัญหา อุปสรรค ความสำเร็จของตลาดเกษตร ม.อ.

-