บทความ

สภาผู้บริโภค

by คุณนาย @April,10 2008 15.50 ( IP : 222...71 ) | Tags : บทความ
photo  , 400x300 pixel , 55,675 bytes.

บ่นพันครั้ง ไม่เท่ากับร้องเรียนหนึ่งครั้ง  เป็นที่มาของ  สภาผู้บริโภคจังหวัด สงขลา  เกิดขึ้นมาจากการรวมตัวกันของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค จังหวัดสงขลา
      การรวมตัวกันของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจังหวัดสงขลา  จนกลายเป็นสภาผู้บริโภคสืบเนื่องจากการได้รับผลกระทบต่าง ๆ จากการบริโภคและเพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคและเพื่อเป็นการหาทางออก/แนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันของผู้บริโภค  ซึ่งบางปัญหายากจะพึ่งพาหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการแก้ไข ช่วยเหลือ  จึงมีแนวคิดการรวมตัวกันขึ้นมาเป็นสภาผู้บริโภคจังหวัดสงขลา       สภาผู้บริโภคจังหวัดสงขลาเริ่มเปิดตัวครั้งแรกในวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย  30 เมษายน  2550 (จัดงาน 29 เมษายน  2550 สถานที่ มอ.หาดใหญ่ )ในการเปิดสภาครั้งแรกเป็นการร่วมกันจัดลำดับความสำคัญของปัญหาผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในจังหวัดสงขลา  เพื่อสู่การนำแต่ละปัญหามาหาทางออก/แนวทางการแก้ไข ตามลำดับต่อไป  ซึ่งนอกจากจะได้ประเด็นปัญหา  ก็ยังค้นพบความถนัดของแต่ละกลุ่ม/องค์กรผู้บริโภคในจังหวัดที่แตกต่างกันออกไป  เช่น    กลุ่มผู้บริโภคเข้มแข็ง จะถนัดในเรื่องข้อมูลเชิงวิชาการ /นโยบาย  ,    กลุ่มพิทักษ์สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคบ้านพรุ จะมีความถนัดในเรื่องของข้อมูลเชิงพื้นที่  , ชมรมส่งเสริมและคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสงขลา จะมีความถนัดในเรื่องงานสื่อ  ,  กลุ่มไทรงาม  เป็นกลุ่มที่เข้าถึงประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เด่นชัดมาก  , กลุ่มอย.น้อย  ที่มุ่งเน้นให้ความคุ้มครองโดยผู้บริโภคตัวน้อยในโรงเรียน  และโครงการบริโภคเพื่อชีวิตสงขลา ซึ่งเป็นเสมือนตัวเชื่อมร้อยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในจังหวัดสงขลาให้เกิดการทำงานร่วมกัน  จากความถนัดที่แตกต่าง แต่ความมุ่งหมายที่ไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดการรวมตัวกันของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจังหวัดสงขลา โดยอาสาจัดสภาผู้บริโภคจังหวัดสงขลา นำร่องก่อนเกิดองค์กรอิสระผู้บริโภค ชี้ให้เห็นถึง ความเข้มแข็งและความพร้อมของกลุ่มผู้บริโภคจังหวัดสงขลา  ในการที่จะร่วมมือกัน แก้ไขปัญหา หาทางออก สำหรับผู้บริโภค  รวมถึงการร่วมกันกำหนดข้อเสนอ/นโยบาย ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภคต่อไป
      เปิดประเด็นต่อเนื่องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ความโดดเด่นที่ทำให้เห็นว่าสภาผู้บริโภคจังหวัดสงขลามีความเข้มแข็งนั่นก็คือ การเปิดสภาครั้งที่  2  เริ่องบิลค่าไฟ ... ใครกำหนด  เมื่อวันที่  14  กรกฎาคม  2550  (ที่โรงแรมไดอิชิ ) เป็นประเด็นที่ถูกจุดประกายปัญหาโดยกลุ่มพิทักษ์สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคบ้านพรุ ทางกลุ่มบ้านพรุได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ รวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้น  และความร่วมมือกันของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจังหวัดสงขลา  รวมไปถึงได้รับความร่วมมือจากการไฟฟ้าหาดใหญ่ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคกับการใช้ไฟฟ้า  จากเวทีชี้ให้เห็นถึงภาระเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บค่าไฟฟ้าระบบใหม่  ความเดือดร้อนด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นอีกด้วย  เช่น  การตัดไฟฟ้าซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน  ที่ไม่ควรตัด  ฯลฯ จากการจัดเวทีในครั้งนี้ทำให้ได้รับการตอบรับจากภูมิภาคอื่น ๆ เกิดการเชื่อมโยง ผ่านสื่อสาธารณะ  และถือเป็นการขับเคลื่อนประเด็นร่วมกับเครือข่ายภาคอื่น ๆ ต่อไป โพลส์เครื่องมือขับเคลื่อนสร้างพลังผู้บริโภค ในประเด็นบิลค่าไฟก็มีการสานต่อด้วยการทำหาดใหญ่โพลส์  โพลส์ที่เกิดขึ้นชี้ให้เห็นความจำยอมของผู้บริโภคทั่วไปไม่ใช่เฉพาะกลุ่มเท่านั้นที่ประสบปัญหาเรื่องการจัดเก็บค่าไฟแบบใหม่  และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ไฟฟ้าแบบคล้ายกัน  นอกจากนี้เพื่อการรับรู้ปัญหาร่วมกัน  จึงได้เปิดแถลงข่าวประเด็นนี้สู่สาธารณะ  หลังจากนั้นสภาผู้บริโภคจังหวัดสงขลาก็เปิดสภาต่อด้วยเรื่องที่ทันสถานการณ์  ตามกระแสผู้บริโภค  จัดสภาผู้บริโภคครั้งที่ 3 เรื่อง  ขนมเด็กเรื่องเล็ก ๆ จริงหรือ  (22 กันยายน  2550 ที่ โรงแรมไดอิชิ)  เรื่องนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทางโรงเรียนต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  อย่าง สคบ. ( สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค )  จากการจัดสภาในครั้งนี้ทำให้ข้อเสนอในเรื่องขนมถุง อาหารขยะถูกผลักดันเพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไปและนอกจากนี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องการลดขนมถุง  กินขนมไทยกันมากขึ้น  ซึ่งเวทีครั้งนี้ถูกจุดประกายโดยผู้ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากศูนย์เด็กเล็กบางดาน และร่วมสร้างความตระหนักต่อผู้บริโภคตัวน้อย ๆ มากขึ้นโดยกลุ่มอย.น้อยแหลมทอง  จากความร่วมมือกันของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจังหวัดสงขลา  ทำให้ สคบ. ( สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค )เห็นความสำคัญของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค/สภาผู้บริโภค  จึงเกิดความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ  สคบ. ( สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค )  สำนักงานจังหวัด  และภาคประชาชน(สภาผู้บริโภคจังหวัดสงขลา)  ร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์ผู้บริโภคจังหวัดสงขลา  ในวันที่  26 กันยายน  2550 และ  6 ตุลาคม  2550  กับกรอบยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนขึ้นเพื่อสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ม.61 องค์กรอิสระผู้บริโภค       อุปสรรคและปัญหาที่สภาผู้บริโภคต้องประสบและคิดว่าน่าจะเป็นคำถามอยู่ตลอดก็คือประเด็นปัญหาจะได้รับการแก้ไข  เยียวยาหรือไม่
      ข้อเสนอแนะ  จะถูกผลักดัน หรือสานต่อเพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด       แต่สิ่งที่สภาผู้บริโภค ได้รับอย่างแน่นอน คือการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภคเอง  การได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันเพื่อการเท่าทันต่อสถานการณ์  และรวมไปถึงการที่ได้เรียนรู้จากกรณีศึกษา(ตัวอย่างจริง/เหตุการณ์จริง)  ซึ่งเป็นแนวข้อสอบที่ดีของห้องเรียนห้องนี้เลยทีเดียวที่จะทำให้ผู้บริโภค/กลุ่ม/องค์กร  ร่วมกันหาทางออกให้กับตนเองก่อนจะหันไปพึ่งคนอื่น/หน่วยงาน ให้แก้ไขหรือช่วยเหลือ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่


อ้างอิงข้อมูลจาก  เอกสารสภาผู้บริโภค “-ข้อเสนอต่อนโยบายกฎหมายและมาตรการการปฏิรูป..ระบบคุ้มครองผู้บริโภค”

โดย  อัญชิษฐา  พรหมอินทร์ โครงการบริโภคเพื่อชีวิตสงขลา

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง