ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

สธ.ร่วม 9 ประเทศอาเซียน จัดทำมาตรฐานยาแผนโบราณ เพิ่มศักยภาพสู่ตลาดโลก

by wanna @February,15 2009 13.03 ( IP : 118...114 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 300x220 pixel , 46,793 bytes.

สธ.ร่วม 9 ประเทศสมาชิกอาเซียน จัดทำกฎระเบียบและวิธีการรับรองมาตรฐานยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ให้สอดคล้องกันเป็นมาตรฐานกลางของอาเซียน เพิ่มความเชื่อมั่นคุณภาพ คุ้มครองความปลอดภัยประชากรอาเซียน 500 ล้านคน และเพิ่มศักยภาพการส่งออกตลาดโลกด้วย

นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในความร่วมมือของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา และฟิลิปปินส์ ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมในช่วงปลายเดือนนี้ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์นั้น ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขนอกจากจะดูแลด้านความปลอดภัยทางสุขภาพ อาหารและที่พักแล้ว ยังได้เป็นคณะทำงานเพื่อปรับกฎระเบียบ และวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิกให้สอดคล้องเป็นมาตรฐานกลางหนึ่งเดียว

เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยสุขภาพประชากรอาเซียนซึ่งมีประมาน 500 ล้านคน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในด้านของอุตสาหกรรมยาสมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในตลาดโลก รวมทั้งการค้าขายภายในเขตเศรษฐกิจเสรีหรืออาฟต้า (AFTA : Asean Free Trade Area) โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ตั้งเป้าจะให้สำเร็จภายใน พ.ศ.2558 เนื่องจากขณะนี้ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจสมุนไพร ประชากรร้อยละ 70-80 ในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ ใช้การแพทย์ผสมผสานและสมุนไพร ซึ่งประเทศอาเซียนเป็นแหล่งที่มีสมุนไพรนับหมื่นชนิดเป็นจุดแข็งของภูมิภาคนี้

นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ในการปรับกฎระเบียบดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งจากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ล่าสุด พบว่ายาสมุนไพรและเครื่องเทศของไทยได้รับความนิยมจากต่างประเทศสูงขึ้น ในปี 2548 สมาชิกอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ฟิลิปปินส์ มีการส่งออกสมุนไพรในตลาดอาเซียนด้วยกันมูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยมีรายได้จากการส่งออกสมุนไพรทั้งยาและเครื่องเทศในปี 2551 รวม 2,498 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 8 ขณะที่ ปี 2548 ไทยส่งออกสมุนไพรรวม 1,692 ล้านเหรียญสหรัฐ

ด้านนายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า สมุนไพรเป็นได้ทั้งยาและอาหารบำรุงร่างกาย ขณะนี้มีประมาณ 100 ประเทศทั่วโลกที่มีกฎหมายควบคุมการใช้สมุนไพร ในการปรับกฎระเบียบและวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น ขณะนี้ได้ประชุมไปแล้ว 10 ครั้ง ได้ข้อสรุปขั้นต้นครอบคลุมทั้งกระบวนการก่อนผลิตจนถึงระบบการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด

โดยข้อกำหนดกลางมุ่งเน้นที่คุณภาพความปลอดภัย ตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบ กระบวนการผลิตตามมาตรฐานสากลจีเอ็มพี (GMP) การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ ความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนทั้งเชื้อโรค สารพิษ ยากำจัดศัตรูพืช ข้อห้ามในการใช้ รวมทั้งการกำหนดปริมาณของ วิตามิน เกลือแร่ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารขั้นสูงสุด โดยจะนำเสนอความก้าวหน้าในที่ประชุมอาเซียนครั้งนี้ด้วย

นพ.พิพัฒน์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันอย.ได้เตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมของไทยในตลาดเสรีอาเซียนซึ่งจะเริ่มในปี 2553 เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้ปรับปรุง พัฒนามาตรฐานด้วย ซึ่งไทยมีผู้ผลิตทั้งหมด 900 กว่าโรงงาน แต่มี 14 โรงงานเท่านั้นที่ได้จีเอ็มพี โดยมีทั้งหมด 8 สาขา คือ ผู้ส่งสมุนไพรดิบ สารสกัดสมุนไพร ยาสมุนไพร อาหาร และอาหารเสริมจากสมุนไพร เครื่องสำอางสมุนไพร สมุนไพรเพื่อการผลิตสัตว์ สมุนไพรเพื่อการเกษตร และผลิตภัณฑ์สปา อุปกรณ์สมุนไพรที่ใช้ในการแพทย์ทางเลือก

ที่มา ASTV ผู้จัดการออนไลน์

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง