วงการสมุนไพร ยันร้านก๋วยเตี๋ยวสะเทือน กระทรวงอุตสาหกรรมจัดพริก ขึ้นฉ่าย ตะไคร้ ขมิ้นชัน เป็นวัตถุอันตราย
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ผู้ประกอบการด้านเอกชนและองค์กรเอกชนเตรียมเคลื่อน ไหวคัดค้านประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม หลังเพิ่งพบว่าคณะกรรมการวัตถุอันตรายประกาศให้ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี 13 ชนิด ได้แก่ 1.สะเดา 2.ตะไคร้หอม 3.ขมิ้นชัน 4.ขิง 5.ข่า 6.ดาวเรือง 7.สาบเสือ 8.กากเมล็ดชา 9.พริก 10.ขึ้นฉ่าย 11.ชุมเห็ดเทศ 12.ดองดึง และ 13.หนอนตายหยาก เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 บัญชี ข เมื่อเดือนส.ค. ที่ผ่านมา
นพ.ประพจน์ เภตรากาศ รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ประกาศฉบับนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมหาศาล เพราะพืชทั้ง 13 ชนิด เป็นพืช ที่อยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยมานาน ชาวบ้านปลูกไว้ในบ้าน ผลิตในระดับอุตสาหกรรมครัวเรือน และอุตสาหกรรมส่งออก
“เมื่อกำหนดเป็นวัตถุอันตรายแล้ว ต่อไปนี้หากมีครอบครองหรือครอบครองไว้เพื่อจำหน่าย จะต้อง มีการจดแจ้งหรือขออนุญาตให้ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะต่อชาวบ้านที่ปลูกหรือขายพืชเหล่านี้ตามตลาดสด หรือแม้แต่ในภาคอุตสาหกรรมขนาดย่อม” นพ.ประพจน์ กล่าว
นพ.ประพจน์ กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมไม่เคยแจ้งมาก่อนว่าจะออกประกาศควบคุมพืชสมุนไพรเหล่านี้ และไม่มีการเปิดรับฟังความคิดใดๆ เลย ทำให้สงสัยอย่างมากว่ามีเหตุผลอะไรที่ต้องควบคุมไปเพื่ออะไร มีนัยแอบแฝงอะไรหรือไม่
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความกระจ่าง กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ จะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 13 ก.พ.นี้ เพื่อรายงานผลให้รมว.สธ. ทราบก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีทบทวนหรือยกเลิกการออกประกาศนี้เสีย
นพ.ประพจน์ กล่าวว่า ต้องมีการทบทวนประกาศดังกล่าวแน่ เพราะสวนทางกับนโยบายหลักของประเทศของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย หรือแม้แต่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ส่งเสริมให้คนไทยใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้าน รวมทั้งขัดต่อพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542
ด้านนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า เหตุแจ้งให้พืช 13 ชนิดเป็นวัตถุอันตราย ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม 2551 นั้น เป็นการแจ้งตามที่กฎหมายกำหนดแต่เป็นการแจ้งขอยกเว้นไม่ขึ้นทะเบียน เพียงแต่ขอให้แจ้งว่าระบบการผลิตเป็นอย่างไร ที่มาเป็นอย่างไร เพื่อให้กรมวิชาการเกษตรเข้าไปตรวจสอบการผลิต
“ประชาชนอย่าตกใจ เหตุที่ กรมวิชาการเกษตรต้องแจ้งต่อกระทรวงอุตสาหกรรมเพราะเขาเป็นผู้รักษากฎหมาย จึงต้องให้ ชื่อของสารเหล่านี้จึงไปอยู่ท้ายประกาศวัตถุอันตราย ซึ่งฟังแล้วก็น่าตกใจอยู่ แต่วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ผู้ที่จะใช้สารสกัดเข้มข้นของพืชเหล่านี้ไปผลิตเชิงการค้า” นายสมชาย กล่าว
ทั้งนี้ เช่น การใช้สะเดาเป็น สารกำจัดศัตรูพืช เมื่อได้รับแจ้ง แล้วกรมวิชาการเกษตรจะเข้าไปตรวจสอบขั้นตอนการผลิตว่ามีสัดส่วนถูกต้องหรือไม่ หรือการ ผลิตได้คุณภาพหรือไม่ แต่หากประชาชนผลิตใช้ในครัวเรือนไม่ต้องแจ้ง
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)