กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง ท่านคณบดีและเครื่อข่ายธุรกิจเกษตรชุมชนทุกรายเข้าร่วมประชุม ผลตามแผน ทราบแนวทางการดำเนินกิจกรรมลุ่มเครือข่ายธุรกิจเกษตรชุมชน ร่วมกับคณะทรัพยากรธรรมชาติ ผลที่เกิดขึ้นจริง วันจันทร์ ที่ 18 พฤษภาคม 2558 เวลา 15.00 น. ที่เรือนสมุนไพร ท่านคณบดี ผ.อ. เกษตร จากศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอรัตภูมิ และเกษตรกร ร่วมกันประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และผักแต่ละชนิดว่าผักชนิดใดอยู่บริเวณใด แปลงที่ 1 แปลงสลัด(พี่ทรงยศ พี่เทพบุญญา พี่ปวริศา )จะจัดผักสลับสีกันตามวงกลม และตรงกลางแปลงจะทำตะแกรงมาประกบกันเป็น 3 เหลี่ยมตั้งตรงแล้วนำผักสลัดไปปักตามช่อง แบ่งสีให้สวยงาม แปลงที่ 3 แบ่งเป็นแปลงย่อย แถว 1+2 ปลุกผักกาดหอม (พี่สุดาวดี) แถวที่ 3 ปลูกหัวไชเท้า (พี่ควง)แถวที่ 4 ปลูกผักฮ่องเต้ (พี่คัมภีร์) แถวที่5 ปลูกผักคำน้า ผักกวางตุ้ง มะเขือ (พี่คำนึง) และบริเวณด้านหลังปลูกน้ำเต้าเขาควาย(ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอรัตภูมิ )แปลงที่ 4 แบ่งเป็นแปลงย่อย 12 แปลง แปลงที่ 1 ดอกขจร แปลงที่ 2 ผักกูด แปลงที่3 ดอกไม้จีน (บังอรุณ) แปลงที่ 4 บวบหอม (พี่นรินทร์) แปลงที่ 5+6 อัญชัน ม่วง-ขาว (พี่ทวีโชค) แปลงที่ 7ถั่วฝักยาว (พี่นรินทร์) แปลงที่ 8 ถั่วพลู (พี่ทวีโชค) แปลงที่ 9+11 ฟักทองญี่ปุ่น แปลงที่ 10+12 แตงกวา แตงร้าน (ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอรัตภูมิ ) และแปลงที่ค่อนข้างมีปัญหา คือแปลงที่ 2 เมื่อได้ประชุมกันจึงมีมติว่าสวนหนึ่งจะเป็นของเกษตรกร ม.อ. อีกส่วนนึงจะเป็นของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอรัตภูมิ ดดยแปลงนี้จะปลูกเป็นผักสวนครัว แถวที่ 1-4 เป็นผักโขมแต่ละชนิด สลับสี (พี่ศุภวัต+ก๊ะย๊ะ) นอกจากนั้นเป็นของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอรัตภูมิ ปลูกโหระพา กะเพรา ฯลฯ ผักไหนที่มีอายุสั้นก้จะเริ่มทดลองปลุกก่อนไม่ต้องปลูกให้หมดทั้งแปลง เนื่องจากต้องไภ่กลบใหม่ ถ้าปลุกทับลงไปกลัวดินจะแข็งและ อาหารอาจไม่เพียงพอ แต่ถ้าผักชนิดไหนใช้เวลาปลูกมากก็ค่อยทยอยปลูกเพื่อให่ได้ผลผลิตช่วงงานเกษตรพอดี ในส่วนของอุปกรณ์ทั้งหมดที่จะใช้ทำทางคณะยินดีออกให้ แต่ต้องขอแรงจากเกษตรกรทุกคนที่มาร่วม เรื่อระบบน้ำ สปริงเกอร์ ทางศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอรัตภูมิ ค่อนข้างมีความชำนาญด้านนี้สามารถเป็นที่ปรึกษาได้ และน้ำที่นำมาใช้คือน้ำที่สูบจากอ่างเก็บน้ำ ไปไว้บนเขาแล้วปล่อยลงมาที่คณะเพื่อใช้สอย จึงให้ค่อนข้างมีความแรงดันน้ำสูงไม่เป็นปัญหาต่อการใช้สปริงเกอร์รดน้ำ ในเบื้องต้นอุปกรณ์ที่ต้องการที่ต้องใช้ในการปลูก กองฟาง คลุมแปลงปลูก ไม้ไผ่ทำค้างต้นกล้า ในส่วนของกองฟางติดต่อคุณนุสร เกษตรกรจากควนรูยินดีสนับสนุนให้กองฟาง จำนวน 5 ก้อน และไม้ไผ่ ผ.อ.ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอรัตภูมิจะทำการซื้อมาให้เนื่องจากอยู่ใกล้กับบริเวณที่อาศัย จำนวน 10 มัด ภายในแปลงนอกจากมีความสวยงามของผักแล้วยังมีเรื่องราวของเกษตรกรแต่ละท่าน ว่าชื่ออะไร เบอรืติดต่ออะไร ปลูกอะไร ปลูกที่ไหน รายได้ต่อเดือน ต่อปีเท่าไหร่ เพราะจุดประสงค์หลักในการจัดตั้งุรกิจเกษตรชุมชนคือการกระจายรายได้สุ่ชุมชนที่ยั่งยืนและมั่นคงคือ ในช่วงงานเกษตรจะมีการเชิญชวนร้านค้า โรมแรมต่างๆ โรงพยาบาล ที่สนใจร่วมเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยน รับซื้อผักปลอดสารพิษจากกลุ่มเกษตรกร โดยไม่ได้ผ่านคนใดคนนึง แต่จะให้เป็นคนทั้งชุมชนช่วยกัน ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น บริเวณด้านหน้าแปลงจะมีการจำหน่ายผัก จำหน่ายสินค้าแปรรูปจากผักในแปลง โดยความร่วมมือของแม่ค้าตลาดเกษตร ม.อ. โซนอาหารคาวและอาหารว่าง เช่น ผักโขมอบชีส สลัดผัก ฯลฯ ท่านคณบดีจึงเสนอว่าเราควรมีบริเวรไว้สำหรับให้คนนั่งทาน โดยจัดเป็นกองฟางเป็นที่นั่ง บริเวณด้านหน้าแปลง และในแปลงมีร้านสลัด มีที่นั่งทานสลัด ในแปลง
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)