อย. เผยข้อมูลเกี่ยวกับ เจลทาปากทินท์ (Tint) อาจพบอันตรายจากหลายสาเหตุ เช่น สีห้ามใช้ การใช้วัตถุดิบคุณภาพต่ำ มีโลหะหนักปนเปื้อน มีจุลินทรีย์ปนเปื้อนเกินที่กฎหมายกำหนด ที่สำคัญหาก ใช้ลิปสติกร่วมกัน หรือทดลองใช้ตัวอย่างเครื่องสำอางตามร้านขายเครื่องสำอางก็มีโอกาสติดโรคได้ พร้อมแนะวิธีใช้ลิปสติกอย่างปลอดภัย ซื้อจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ วันนี้ อย.เก็บตัวอย่างเจลทาปาก ทินท์ (tint) ส่งตรวจวิเคราะห์ 6 ยี่ห้อแล้ว
ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย นพ.จิโรจน์ สินธวานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง เปิดเผยกรณีวัยรุ่นไทยนิยมนำเจลทินท์ (tint) มาทาปาก เพื่อให้ปากมีสีอมชมพูระเรื่อ ดูมีสุขภาพดีสวยใสเป็นธรรมชาติ นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและ ยา (อย.) มีความห่วงใยเป็นอย่างมาก เนื่องจากลิปสติกดังกล่าว ใช้ป้ายเข้าไปในริมฝีปากด้านใน ซึ่งมี โอกาสที่จะกลืนกินหรือดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น โดยปกติแล้ว ลิปสติกเป็นเครื่องสำอางตกแต่ง ริมฝีปาก เพื่อแต่งสีหรือบำรุงให้ผิวชุ่มชื่น รูปแบบของผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็น ชนิดแท่ง ป้ายริมฝีปาก โดยตรงโดยใช้แปรงป้าย ชนิดเจล (ในหลอด / ตลับ) ป้ายริมฝีปากโดยตรงหรือใช้แปรงป้าย และชนิด น้ำยา (Solution) ซึ่งมีทั้งชนิดข้นและชนิดใส ความเสี่ยงของการใช้ลิปสติกนั้น อาจเกิดจากส่วนของ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสีห้ามใช้ในเครื่องสำอาง เช่น CI 45170 , CI 15585 หรือ การใช้วัตถุดิบที่มี คุณภาพต่ำ มีโลหะหนักปนเปื้อน มีจุลินทรีย์ปนเปื้อนเกินที่กฎหมายกำหนด รวมถึงวีธีการใช้ เช่น การทา ริมฝีปาก มีโอกาสกลืนกินเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะการทาริมฝีปากด้านใน ดังเช่นกรณีของเจลทินท์ ซึ่ง สัมผัสโดยตรงกับเยื่อบุอ่อนมีโอกาสถูกกลืนกินหรือถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย นอกจากนี้ หากใช้ ลิปสติกร่วมกัน หรือทดลองใช้ตามร้านขายเครื่องสำอางก็มีโอกาสติดโรคได้ เช่น เริม
รองเลขาธิการ ฯ กล่าวต่อไปว่า อย.มีมาตรการในการกำกับดูแลเครื่องสำอางโดย ผู้ผลิต /ผู้นำเข้า ลิปสติก ต้องมาจดแจ้งก่อนผลิต/นำเข้า สำหรับการจดแจ้งนั้น ผู้ประกอบการมาแจ้งข้อมูล ชื่อ และ ประเภทผลิตภัณฑ์ สารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม ชื่อที่ตั้งผู้ผลิต /ผู้นำเข้า จากฐานข้อมูล อย. มีลิปสติก 1,906 รายการ ที่มีคำว่า " tint" เป็นส่วนของชื่อมีจำนวน 48 รายการ ซึ่งคำว่า "Tint" เป็นคำศัพท์ที่ หมายถึงสีที่มีสีขาวผสมอยู่ อย.ได้มีการเก็บตัวอย่างเครื่องสำอาง เช่น ตรวจหาสารห้ามใช้ ซึ่งจะรวมถึง สารปรอทในครีมทาฝ้า ตะกั่ว หรือสีห้ามใช้ในลิปสติก โดยในปี 2549 - 2551 ได้เก็บตัวอย่างลิปสติก จำนวนทั้งสิ้น 92 รายการ พบสีห้ามใช้จำนวน 6 รายการ ล่าสุด(26 มกราคม 2552) อย.ได้เก็บตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ที่มีคำว่าtint ที่ฉลาก 6 ยี่ห้อ ส่งตรวจวิเคราะห์หาสีที่ห้ามใช้และโลหะหนักที่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้ว
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)