โครงการการขยายมาตรการควบคุมการจำหน่ายและบริหารอาหารไม่ปลอดภัยและมาตรการส่งเสริมสุขภาวะในโรงพยาบาลระโนด

แผนงานอาหารปลอดภัย

by dezine @November,10 2014 15.17 ( IP : 202...1 )

รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 57-ข-020
งวดที่ 1

แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ (ส.1)

วันที่รายงาน : 30 มกราคม 2558

1. ชื่อโครงการ โครงการการขยายมาตรการควบคุมการจำหน่ายและบริหารอาหารไม่ปลอดภัยและมาตรการส่งเสริมสุขภาวะในโรงพยาบาลระโนด

2. รหัสโครงการ รหัสสัญญา 57-ข-020 ระยะเวลาโครงการ 1 กันยายน 2557 - 31 ตุลาคม 2558

3. รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน 1 กันยายน 2557 ถึงเดือน 31 มีนาคม 2558

4. ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายของงวดที่รายงาน)

กิจกรรมผลงาน
(ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี)
ผลสรุปที่สำคัญประเมินผล คุณภาพกิจกรรม
4321
1. การระดมความคิดเห็นเรื่อง แบบของซุ้มจำหน่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์ของตลาดนัดสีเขียว

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:30

วัตถุประสงค์

เพื่อออกแบบซุ้มสำหรับเป็นที่จำหน่ายผลผลิตจากโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท

ลักษณะกิจกรรม

การระดมความคิดเห็นของนายช่างของโรงพยาบาลเกี่ยวกับรูปแบบของซุ้มจำหน่ายผลผลิตจากโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท

เป้าหมายที่ตั้งไว้

การระดมความคิดเห็นของนายช่างของโรงพยาบาลเกี่ยวกับรูปแบบของซุ้มจำหน่ายผลผลิตจากโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท

ผลที่เกิดขึ้น

ได้รูปแบบของซุ้มสำหรับการจัดจำหน่ายผลผลิตจากโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท จำนวน 4 ซุ้ม

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ราคาของซุ้มมากกว่างบประมาณที่กำหนดไว้ในแผนกล่าวคือ ตั้งไว้ที่ราคา 20,000 บาท แต่ราคาจริงเท่ากับ 28000 บาท

แก้ไข:ใช้งบสนับสนุนจากอำเภอระโนดร่วมสนับสนุนในส่วนเกินของค่าใช้จ่าย

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
2. การประชุมวางแผนการทำกิจกรรมสาธิตนาโยนข้าวอินทรีย์

วันที่ 2 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพบปะปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอำเภอระโนดเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมด้านอาหารปลอดภัย อ.ระโนด สถานการณ์ข้อมูล การดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา
  2. เพื่อทำความเข้าใจโครงการ และหาแนวทางในการทำงานและดำเนินกิจกรรมโครงการ

ลักษณะกิจกรรม

กล่าวต้อนรับและกล่าวความเป็นมาของการดำเนินโครงการ โดยนายแพทย์วรพจน์  เจียมอมรรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระโนด โครงการฯมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ชาวระโนดกำลังเผชิญอยู่ 3 ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย

  • การเกิดโรคจากการประกอบอาชีพของประชาชนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
  • การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุใบพัดตีออกซิเจนในนากุ้ง
  • การได้รับสารเคมีตกค้างทางการเกษตรในเกษตรทำนา

นอกจากนี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงพยาบาลในฐานะองค์กรที่ให้บริการสุขภาพ กับประชาชนชาวระโนดที่อยู่ในพื้นที่

ในปี พ.ศ.2555ทางโรงพยาบาลระโนด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)ได้ร่วมมือกับชาวบ้าน ต.คลองแดน จัดโครงการ ปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ ร่วมสำนึกรักษ์ตลาดน้ำคลองแดน ผลที่เกิดขึ้นถือว่า ประสบความสำเร็จมากเนื่องจาก ชาวบ้านและหน่วยงานมาร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 500 คน และต้นไม้ที่ปลูกสามารถได้รับการดูแลจนเจริญเติบโตเป็นอย่างดีจากชาวบ้าน

การนำเสนอร่างแนวคิดโครงการปลูกข้าวฯ โดย เภสัชกรสมชาย  ละอองพันธุ์  รายละเอียดดังนี้

  1. สถานการณ์เกี่ยวกับสารเคมีตกค้างทางการเกษตร อ.ระโนด รอบ 2-3 ปี มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง จากข้อมูลการสุ่มตรวจเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารดำเนินการโดยฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลระโนด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอระโนด เครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล(รพ.สต.) และเครือข่ายชุมนุม อย.น้อย และอาสาสมัครสาธารณาสุขประจำหมู่บ้าน ระหว่างปี 55-57 ปรากฏว่า พบสารเคมีที่ใช้ทางการเกษตรประเภทยาฆ่าแมลงตกค้างมากที่สุด คือ ตกมาตรฐานร้อยละ 6, 5,และ 4 ของตัวอย่างทั้งหมดตามลำดับ และหากแยกตามประเภทของผัก พบว่า อันดับหนึ่ง พริกสด และอันดับสอง คือ ผักกาดปลีและคะน้า โดยผักทั้งหมดมีแหล่งที่มาจากตลาดสดหัวอิฐ จ.นครศรีธรรมราช
  2. มีการนำเสนอกรณีศึกษา กลุ่มผักใจประสานใจ อ.ด่านซ้าย จ.สุพรรณบุรี มุ่งเน้นการทำการเกษตรกรรมแบบสังคมเกื้อหนุนเกษตรกร(CSA:Community Supported Agriculture)โดยการรวมกลุ่มกันและรับผลิตผักอินทรีย์เพื่อนำส่งให้ผู้บริโภคซึ่งอาศัยอยู่ใน จ.กรุงเทพมหานคร ในราคาผัก 3 ก.ก./สัปดาห์ ราคา 250 บาท โดยผู้บริโภคจะต้องชำระเงินค่าผักที่จะซื้อล่วงหน้า เป็นราย 6 เดือน และประเด็นอื่นๆ

การแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการจากหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม ดังนี้

  1. สำนักงานเกษตร อ.ระโนด มีโครงการโรงเรียนเกษตรกรชาวนาส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จฯพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการพัฒนาแนวคิดการทำนาแบบใหม่แก่เกษตรกรที่สนใจใน ต.ตะเครียะ และบ้านขาว  ที่สนใจหมู่บ้านละ 20 คน นอกจากนี้มีการพัฒนาการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตผักปลอดสารพิษ/หรือ ผักปลอดภัย ทั้งนี้หลักเกณฑ์ที่ทางสำนักงานเกษตร อ.ระโนด กำหนดทำการเกษตรตามหลักของ GAP
  2. โรงงานไทยยูเนียน ฟีด มิลล์ จำกัด มีการนำเสนอประเด็นการทำกิจกรรมร่วมรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR มุ่งเน้นการทำกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ หากทางเกษตรกรสามารถผลิตผลผลิตได้เป็นจำนวนมากก็ยินดีเป็นแหล่งกระจายสินค้า
  3. ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลระโนด มีการทำกิจกรรมด้านเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักไล่แมลง การทำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เป็นต้น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรมจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)  มีความสนใจในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับโรงพยาบาลระโนด
  4. โรงเรียนระโนดวิทยา มีการทำนาอินทรีย์สาธิต จำนวน 4 ไร่ โดยการปลูกข้าวพื้นบ้านแต่มีประสบการณ์เรื่องของการถูกนกเก็บกินจนไม่สามารถมีผลผลิตเหลือได้

วาระที่ 4 แนวทางการดำเนินโครงการฯ

ที่ประชุมจะมีการประชุมสุนทรียสนทนาโดยจะเชิญประธานชมรมจักรยาน อำเภอระโนด เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการประชุม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โดยมีการพูดคุยเพื่อลงรายละเอียดการทำกิจกรรม ประกอบด้วย

  • รูปแบบกิจกรรม
  • กลุ่มเป้าหมาย
  • รายละเอียดกิจกรรม
  • งบประมาณดำเนินการ
  • การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงาน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

จัดการประชุมแบบสุนทรียสนทนาครั้งที่ 1 นำเสนอกรอบแนวคิดและร่างโครงการนาโยนอินทรีย์ ระหว่างโรงพยาบาลระโนด สำนักงานสาธารณสุขระโนด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์อำเภอระโนด บริษัทไทยยูเนี่ยนฟีดมิลล์ และกลุ่มเกษตรกรเพื่อการเปลี่ยนแปลง อ.ระโนด และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ผลที่เกิดขึ้น

-เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมโครง -เกิดการเสนอแนวคิดที่หลากหลาย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังขาดประชุมของหลายหน่วยงาน ส่งผลให้การพูดคุยอาจจะขาดความสมบูรณ์ในเนื้อหา

แนวทางแก้ไข:ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานควรติดต่อประสานงานมากขึ้น เช่น การส่งหนังสือด้วยตนเอง หรือการติดต่อพูดคุยเป็นการส่วนตัวล่วงหน้า

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
3. ประชุมคณะทำงานโครงการ ประจำเดือน ธ.ค.57

วันที่ 8 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อชี้แจงร่างแผนงานโครงการและระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแนวทางการดำเนินโครงการฯ
2.เกิดการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนงาน

ลักษณะกิจกรรม

1.นำเสนอร่างแผนงานโครงการฯ โดยเภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ประกอบด้วย 6 กิจกรรมสำคัญ ดังนี้
1) การพัฒนาช่องทางจำหน่ายผลผลิตโครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท แบ่งเป็น 2 ประเด็นย่อย คือ ตลาดนัดสีเขียว และการพัฒนาช่องทางจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ รพ.ระโนด
2)การพัฒนารูปแบบโภชนาการในศูนย์เด้กเล็กนำร่อง 5 แห่ง
3)เป็นการระดมความคิดเห็นรายละเอียดของโครงการฯ ซึ่งได้รับงบสนับสนุนจาก สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 6 คน ประกอบด้วย
1.คุณพรรณฑิภา ขาวเรือง
2.คุณดรุณี เจริญวิริยะ
3.คุณเกศรินทร์ ลายจันทร์
4.คุณธัญพงษ์ ดำดี
5.คุณงามศิริ สิงห์คำป้อง
6.นายสมชาย ละอองพันธุ์

เป้าหมายที่ตั้งไว้

มีทีมงานโรงพยาบาลระโนดสนใจเข้าร่วมอย่างน้อย 5 คน 1.การชี้แจงภาพรวมของกิจกรรมในโครงการขยายมาตรการควบคุมการจำหน่ายและบริหารอาหารไม่ปลอดภัย และมาตรการส่งเสริมสุขภาวะในโรงพยาบาลระโนด 2.การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการ 3.การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามรายกิจกรรมที่ต้องดำเนินการตามโครงการ

ผลที่เกิดขึ้น

-

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
4. ประชุมระดมความคิดเห็น เพื่อจัดทำแผนที่ความคิด สวนผักแนวตั้ง โรงพยาบาลระโนด ครั้งที่ 1

วันที่ 24 ธันวาคม 2557 เวลา 13:30

วัตถุประสงค์

เพื่อระดมความคิดเห็นของบุคลากรโรงพยาบาลและผู้ที่สนใจในการปลูกผักคนแนวตั้งตลอดจนการเชื่อมโยงทุนทางสังคมของโรงพยาบาลและต่อยอดเป็นการปลูกผักแนวตั้ง

ลักษณะกิจกรรม

ประชุมบุคลากรโรงพยาบาลที่สนใจของโรงพยาบาลระโนดและมีชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลที่สนใจเข้าร่วม โดยกิจกรรมประกอบด้วย การให้วิทยากรประกอบด้วยคุณชาคริต โภชะเรือง และครูไก่ นำเสนอแนวคิดเพื่อให้เห็นปัญหาของสารเคมีตกค้าง และรูปแบบการปลูกผักคนเมืองหรือพื้นที่จำกัดของพื้นที่นำร่อง เช่น ที่หาดใหญ่ หรือที่โรงพยาบาลนาทวี
ระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมเรื่อง สิ่งที่ต้องการดำเนินการเกี่ยวกับการปลูกผักในพื้นที่จำกัด
มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย บุคลากร รพ.ระโนด จำนวน 40 คน และชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมบุคลากรโรงพยาบาลที่สนใจของโรงพยาบาลระโนดและมีชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลที่สนใจเข้าร่วม โดยกิจกรรมประกอบด้วย การให้วิทยากรประกอบด้วยคุณชาคริต โภชะเรือง และครูไก่ นำเสนอแนวคิดเพื่อให้เห็นปัญหาของสารเคมีตกค้าง และรูปแบบการปลูกผักคนเมืองหรือพื้นที่จำกัดของพื้นที่นำร่อง เช่น ที่หาดใหญ่ หรือที่โรงพยาบาลนาทวี ระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมเรื่อง สิ่งที่ต้องการดำเนินการเกี่ยวกับการปลูกผักในพื้นที่จำกัด

ผลที่เกิดขึ้น

1.บุคลากร รพ.มีความเข้าใจแนวคิดการปลูกผักกินเองและเห็นคุณค่าของการทำกิจกรรมปลูกผักแนวตั้ง
2.ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันระดมความคิดเห็นและเกิดแนวทางการจัดกิจกรรมการปลูกผักแนวตั้งโดยเน้นการปลูกผักที่ขึ้นง่ายจะได้เป็นกำลังใจแก่ผู้ที่ปลูก ซึ่งตกลงว่าจะเริ่มต้นด้วยกันปลูกผักกรีนโอกและเรดโอกโดยการเชิญวิทยากรในพื้นที่มาร่วมด้วย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.บุคลากร รพ.ระโนด ยังไม่เข้าร่วมมากพอ เนื่องจากติดภารกิจของการรักษาพยาบาล

แนวทางแก้ไข :ควรจัดวันพฤหัสบดี เนื่องจากช่วงบ่ายของวันพฤหัสบดีผู้ป่วยจะน้อย

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

ต้องการไปดูงานนอกสถานที่ พื้นที่มีการดำเนินกิจกรรมสวนผักคนเมือง เพื่อปรับแนวคิดการทำงานของผู้เข้าร่วมประชุม

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
5. จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับปลูกสวนผักแนวตั้ง

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ปลูกผักแนวตั้งของโรงพยาบาลระโนด

ลักษณะกิจกรรม

จัดทำอุปกรณ์สำหรับการปลูกผักแนวตั้ง ประกอบด้วย แผ่นตะแกรงสำหรับแขวนผักที่จะปลูก ฝาผนังสำหรับแขวนสวนผักแนวตั้ง โดยใช้วัสดุเหลือใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งประดิษฐ์มาจาก ผนังลวดรั้วของสนามเทนนิสร้างของ รพ.และนำเอาขวดน้ำเกลือที่เหลือในตึกมาใช้เป็นกระถางสำหรับปลูก

เป้าหมายที่ตั้งไว้

จัดทำอุปกรณ์สำหรับการปลูกผักแนวตั้ง ประกอบด้วย แผ่นตะแกรงสำหรับแขวนผักที่จะปลูก ฝาผนังสำหรับแขวนสวนผักแนวตั้ง โดยใช้วัสดุเหลือใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งประดิษฐ์มาจาก ผนังลวดรั้วของสนามเทนนิสร้างของ รพ.และนำเอาขวดน้ำเกลือที่เหลือในตึกมาใช้เป็นกระถางสำหรับปลูก

ผลที่เกิดขึ้น

  1. บุคลากรโรงพยาบาลระโนด ตระหนักถึงคุณค่าของการนำเอาวัสดุเหลือใช้มาทำเป็นอุปกรณ์สำหรับปลูกผักแนว
  2. สามารถนำเอาวัสดุเหลือใช้ใน รพ.จัดทำเป็นอุปกรณ์สำหรับมาใช้จัดทำสวนผักแนวตั้ง จำนวน 3 ชุด เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมปลูกผักแนวตั้ง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
6. การสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารโดยรถตรวจวิเคราะห์เคลื่อนที่ตลาดนัดสีเขียว อ.ระโนด

วันที่ 12 มีนาคม 2558 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสุ่มตรวจผักและผลิตภัณฑ์จากโครงการทำนา 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท
    2.เพื่อนำข้อมูลผลการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารมาใช้ในการสร้างมาตรการวางจำหน่ายอาหารในพื้นที่ ตลาดนัดสีเขียว

ลักษณะกิจกรรม

การสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารที่จำหน่ายในตลาดนัดสีเขียวมาตรวจวิเคราะห์ด้วยการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น เพื่อวิเคราะห์หาสาเคมีตกค้างทางการเกษตร  โดยเก็บตัวอย่างแล้วตรวจสอบโดยรถตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนเคลื่อนที่(Mobile Unit) สำนักงานสาธารณสุข จ.สงขลา ซึ่งเป้าหมาย คือ เกษตรกรที่มาจำหน่ายผักปลอดสารพิษและผลิตภัณฑ์ในตลาดนัดสีเขียว โรงพยาบาลระโนด

เป้าหมายที่ตั้งไว้

การสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารที่จำหน่ายในตลาดนัดสีเขียวมาตรวจวิเคราะห์ด้วยการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น เพื่อวิเคราะห์หาสาเคมีตกค้างทางการเกษตร โดยเก็บตัวอย่างแล้วตรวจสอบโดยรถตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนเคลื่อนที่(Mobile Unit) สำนักงานสาธารณสุข จ.สงขลา

ผลที่เกิดขึ้น

เกษตรกร จำนวน  4 รายที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผักปลอดสารในตลาดนัดสีเขียวได้รับการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

ผลการตรวจสอบปรากฏว่า เก็บผักจำนวน  20  ตัวอย่าง ตรวจสารเคมีตกค้่างทางการเกษตร พบว่าปลอดสาร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.การตรวจสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในตลาดนัดสีเขียว พบว่า ยังขาดเกษตรกรอีก 2 รายที่ยังไม่ได้รับการตรวจ
แนวทางแก้ไข : ต้องตามเก็บเพิ่มเติมภายหลัง
2.การสุ่มตรวจสารปนเปื้อนโดยให้รถตรวจวิเคราะห์เคลื่อนที่เป็นผู้ดำเนินการ ไม่ดี เนื่องจาก เป็นลักษณะไม่สร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย
แนวทางแก้ไข: ควรพัฒนาศักยภาพ อสม.หรือ อย.น้อย ในการตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

หมายเหตุ ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม กรุณาระบุเนื้อหา/ข้อสรุปสำคัญต่าง ๆ จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้ เช่น ความรู้ กลุ่มแกนนำ แผนงานต่าง ๆ และผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง (ซึ่งจะทราบได้จากการติดตามประเมินผลของโครงการ)

ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม ให้ใส่เครื่องหมาย / ในช่องคะแนนโดยที่คะแนน 4=บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย 3=บรรลุผลตามเป้าหมาย 2=เกือบได้ตามเป้าหมาย 1=ได้น้อยกว่าเป้าหมายมาก

5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

 

6. แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

ตามแผนงานเดิมที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ

มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ ระบุกิจกรรม/รายละเอียดที่จะปรับเปลี่ยน และระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน

 

7. ประเมินสถานการณ์โดยภาพรวมของโครงการ

สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนได้

ล่าช้ากว่าแผน กรุณาให้แนวทางแก้ไขปรับปรุง (สรุปเป็นข้อ)

 

8. ข้อคิดเห็นอื่น ๆ