บทความ

กินผักอย่างไรให้ปลอดสารพิษ

by twoseadj @January,15 2009 20.09 ( IP : 222...85 ) | Tags : บทความ
photo  , 250x314 pixel , 12,797 bytes.

ผักและผลไม้เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยอาหาร แต่ควรระมัดระวังสารพิษตกค้างจากการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือยาฆ่าแมลง นั้นมีการใช้กันทั่วไปเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตในการเพาะปลูก ซึ่งเกษตรกรบางคนใช้ในปริมาณมากเกินไป จนอาจทำให้ตกค้างมากับอาหาร

อันตรายของยาฆ่าแมลง ก็คือ เมื่อเข้าสู่ร่างกายปริมาณมากๆ ในครั้งเดียวจะเกิดพิษแบบเฉียบพลัน เช่น ทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ชักกระตุก หายใจขัด หมดสติ และอาจหยุดหายใจได้ แต่พิษที่พบมากที่สุด คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรือหากได้รับปริมาณไม่มาก ก็จะสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้

การรับประทานผักผลไม้ตามฤดูกาลเป็นสิ่งที่ดี เพราะพืชจะมีความแข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปริมาณน้อยหรือไม่ใช้เลย

สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ทำรายการให้เราเลือกซื้อผักตามฤดูกาล ดังนี้

  • มกราคม ได้แก่ คะน้า ผักกาดขาวปลี ขึ้นฉ่าย กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กวางตุ้ง ถั่วลันเตา ถั่วแขก แครอท ปวยเล้ง ตั้งโอ๋
  • กุมภาพันธ์ ได้แก่ ผักขม แตงกวา มะเขือเทศ พริกยักษ์ ผักกาดขาว
  • มีนาคม ได้แก่ กวางตุ้ง เห็ดฟาง คะน้า ฟักเขียว มันฝรั่ง ถั่วฝักยาว มะเขือยาว
  • เมษายน ได้แก่ ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ หอมหัวใหญ่ มะเขือพวง มันฝรั่ง แตงกวา เห็ดฟาง
  • พฤษภาคม ได้แก่ มะเขือเปราะ ถั่วพู มะเขือยาว มะเขือพวง ถั่วฝักยาว
  • มิถุนายน ได้แก่ คะน้า มะเขือยาว ดอกกุยช่าย ผักบุ้ง แตงกวา มะเขือพวง เห็ดเผาะ
  • กรกฎาคม ได้แก่ ผักบุ้งไทย กระเฉด ตำลึง
  • สิงหาคม ได้แก่ กระเฉด หัวปลี ข้าวโพด ถั่วฝักยาว
  • กันยายน ได้แก่ กวางตุ้ง กระเฉด บวบ น้ำเต้า
  • ตุลาคม ได้แก่ มะระ ถั่วพู พริกหยวก ผักบุ้ง กระเฉด
  • พฤศจิกายน ได้แก่ ผักกาดขาว มะเขือยาว มะเขือเปราะ ถั่วพู
  • ธันวาคม ได้แก่ ถั่วลันเตา ผักกาดขาวปลี ถั่วแขก กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก พริกยักษ์ มะเขือเปราะ มะเขือม่วง

นอกจากนี้ การรับประทานผักพื้นบ้านก็มีความปลอดภัยจากสารเคมี เพราะเป็นผักที่ปลูกง่าย ไม่ค่อยมีแมลงรบกวน จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลง ผักพื้นบ้านนั้นมีเป็นร้อยชนิดที่สามารถนำมาบริโภคและส่งเสริมเป็นพืชทางการค้าได้ คุณค่าทางอาหารก็ไม่ได้แตกต่าง หรือบางชนิดอาจจะเหนือกว่าผักที่จำหน่ายในท้องตลาดเสียด้วยซ้ำ เช่น กระเจี๊ยบ กระถิน กระสัง ขี้เหล็ก ดอกแค ดอกขจร ดอกโสน ชะอม ชะพลู บอน บัวสาย สะเดา สะตอ ผักกูด ผักปรัง ผักแว่น ผักหวาน เป็นต้น

การหลีกเลี่ยงสารพิษตกค้างในผักผลไม้ด้วยวิธีอื่นๆ สามารถทำได้ดังนี้

  • เลือกซื้อผักที่มีรูพรุนจากการเจาะของแมลงบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าผักที่มีรูพรุนเป็นผักที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างเสมอไป ควรให้ความสำคัญกับการล้างผักให้สะอาดมากกว่า
  • ควรเลือกซื้อผักใบมากกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า
  • ควรรับประทานผักให้หลากหลาย ไม่รับประทานชนิดเดียวซ้ำซาก
  • ผักและผลไม้ที่ปอกเปลือกได้ ควรล้างน้ำให้สะอาด แล้วปอกเปลือกก่อนรับประทาน

ควรล้างทำความสะอาดผักผลไม้ก่อนนำมารับประทาน โดยเฉพาะผักที่รับประทานสด เพื่อลดปริมาณสารพิษตกค้าง เชื้อโรค และลดการปนเปื้อนของไข่พยาธิ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง หรือล้างผ่านน้ำไหลนาน 2 นาที หรือแช่น้ำสะอาดนาน 15 นาที จะลดสารพิษได้ประมาณ 50-60% 2.ล้างโดยแช่ในสารละลายต่อไปนี้ ประมาณ 10-15 นาที

- เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 ลิตร ลดสารพิษได้ 30-50% - ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 1 กะละมัง ลดสารพิษได้ 35-45% - โซเดียมไบคาร์บอเนตหรือผงฟู 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 4 ลิตร ลดสารพิษได้ 50-70% - น้ำส้มสายชู ½ ถ้วย ต่อน้ำ 4 ลิตร ลดสารพิษได้ 60-70% 3. ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง จะลดยาฆ่าแมลงได้อีกประมาณ 10%

เมื่อปฏิบัติครบทั้ง 3 ขั้นตอน จะสามารถลดยาฆ่าแมลงได้เกือบหมด ในกรณีที่นำผักไปต้ม แกง หรือผัด หากลวกด้วยน้ำร้อนก่อน ก็จะสามารถลดยาฆ่าแมลงลงได้อีก

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง