แผนภาพเชิงระบบของโครงการ
สถานการณ์
สถานการณ์สุขภาวะ
จังหวัดสงขลาเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีการดำรงวิถีพื้นบ้านที่โดดเด่นมีเอกลักษณ์ โดยเฉพาะวิถีชีวิตชุมชน เนื่องจากมีฐานทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทะเลน้อย ทะเลหลวง ทะเลสาบ ทะเลสาบสงขลา ซึ่งก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ ล่อเลี้ยงผู้คนนับหมื่นนับแสนในปัจจุบัน จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางอาหารของจังหวัดสงขลา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการสร้างความมั่นคงในการใช้ทรัพยากรทางอาหาร เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนและลดปัญหาการแย่งยิงทรัพยากรทางอาหารและก่อให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม และจากสภาวะภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยมากและก่อความเสียหายในพื้นที่ในจังหวัดสงขลาในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมายังส่งผลให้พื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เช่นป่าต้นน้ำลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ลุ่มน้ำเทพานาทวี ตลอดจนคาบสมุทรสทิงพระ ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารในช่วงดังกล่าว และเริ่มพบสภาพเช่นนี้มายาวนานและรุนแรงขึ้น โดยมีปัจจัยหนุนอันเนื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่า และการปลูกสร้างสวนยางเชิงเดี่ยวที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากต้นน้ำลุกลามมาจนถึงพื้นที่ทำนารอบทะเลสาบสงขลาและพื้นที่ราบของคาบสมุทรสทิงพระ กอร์ปกับโครงการการของรัฐสนับสนุนการฟื้นฟูนาร้างด้วยการปลูกปาล์มน้ำมัน ทำให้พื้นที่ถูกเปลี่ยนสภาพไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ภาวะดังกล่าวนอกจากก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ต้องพึ่งพาอาหารจากภายนอก ทั้งข้าว ผัก ปลา และอื่นๆแล้ว ยังส่งผลให้ภาวะหนี้สิน ภาวะเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์และทุกข์ภาวะชุมชน เริ่มเกิดมากขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ภาวะดังกล่าวมีความพยายามให้เกิดการพัฒนากิจกรรมเพื่อความมั่นคงทางอาหารอยู่บ้าง แต่กระจัดกระจายและต่างหน่วยงานต่างกลุ่มต่างทำ เช่นมีโครงการจำนวนมากปรากฏอยู่ในแผนแม่บทเกษตรกรรมสงขลา(2556-2559) หรือในแผนบูรณาการจังหวัดสงขลา(2556-2559) จึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการและพัฒนากระบวนการทำงานให้เกิดแผนแม่บทหลักความมั่นคงทางอาหาร คณะวิจัยได้จัดทำเป็นโครงการการวิจัยเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ สู่แผนแม่บทความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพ จังหวัดสงขลาขึ้นและที่สำคัญมุ่งเน้นเพื่อ กำหนดนโยบายในการจัดการกับความมั่นคงทางด้านอาหารในจังหวัดสงขลา สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายความมั่นคงทางด้านอาหารของจังหวัดสงขลา และนำไปสู่การกำหนดแผนแม่บทความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพ จังหวัดสงขลา
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับ
- คน:
ต้องพึ่งพาอาหารจากภายนอก ทั้งข้าว ผัก ปลา และอื่นๆแล้ว ยังส่งผลให้ภาวะหนี้สิน ภาวะเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์และทุกข์ภาวะชุมชน เริ่มเกิดมากขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว
- สภาพแวดล้อม:
จากสภาวะภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยมากและก่อความเสียหายในพื้นที่ในจังหวัดสงขลาในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมายังส่งผลให้พื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เช่นป่าต้นน้ำลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ลุ่มน้ำเทพานาทวี ตลอดจนคาบสมุทรสทิงพระ ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารในช่วงดังกล่าว
- กลไก:
การพัฒนากิจกรรมเพื่อความมั่นคงทางอาหารอยู่บ้าง แต่กระจัดกระจายและต่างหน่วยงานต่างกลุ่มต่างทำ เช่นมีโครงการจำนวนมากปรากฏอยู่ในแผนแม่บทเกษตรกรรมสงขลา(2556-2559) หรือในแผนบูรณาการจังหวัดสงขลา(2556-2559) จึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการและพัฒนากระบวนการทำงานให้เกิดแผนแม่บทหลักความมั่นคงทางอาหาร
- จุดหมาย/วัตถุประสงค์/เป้าหมาย:
1 เกิดการเวทีระดมความคิดร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและองค์กรชุมชนในการร่วมขับเคลื่อนและพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการความมั่นคงทางอาหาร ทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นและระดับภูมินิเวศ ของจังหวัดสงขลา อย่างน้อย 10 เวที 2 เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและองค์กรชุมชนในการร่วมบูรณาการและพัฒนาแผนแม่บทความมั่นคงทางอาหาร ของจังหวัดสงขลา โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน 3 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการจัดการความมั่นคงทางอาหารของจังหวัดสงขลา
- ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จ/ตัวชี้วัด:
การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและเน้นการเสริมสร้างการเรียนรู้กับภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง
- วิธีการสำคัญ:
ประชุมระดมความคิดเห็นจัดทำแผนแม่บทความมั่นคงทางอาหารจังหวัดสงขลา ประชุมระดมความคิดภาคส่วนที่เกี่ยวข้องการพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการความมั่นคงทางอาหาร และการจัดทำนโยบายความมั่นคงทางอาหาร ทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นและระดับภูมินิเวศ ของจังหวัดสงขลา
ปัจจัยนำเข้า
ทุนของชุมชน
งบประมาณ
บุคลากร
ทรัพยากรอื่น
ขั้นตอนทำงาน
ผลผลิต
ผลลัพท์
ผลกระทบ
กลไกและวิธีการติดตามของชุมชน
กลไกและวิธีการประเมินผลของชุมชน