การปฏิบัติการชุมชนและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหาร สถาบันศานติธรรม พื้นที่ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ และพื้นที่ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

แผนงานความมั่นคงด้านอาหาร

by saanti-dharmma @May,18 2013 11.32 ( IP : 182...15 )

รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 56-ข-009
งวดที่ 1

แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ (ส.1)

วันที่รายงาน : 30 กันยายน 2556

1. ชื่อโครงการ การปฏิบัติการชุมชนและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหาร สถาบันศานติธรรม พื้นที่ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ และพื้นที่ตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา

2. รหัสโครงการ รหัสสัญญา 56-ข-009 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2556 - 30 เมษายน 2557

3. รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน 1 พฤษภาคม 2556 ถึงเดือน 30 กันยายน 2556

4. ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายของงวดที่รายงาน)

กิจกรรมผลงาน
(ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี)
ผลสรุปที่สำคัญประเมินผล คุณภาพกิจกรรม
4321
1. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน

วันที่ 18 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

 

ลักษณะกิจกรรม

เข้ารับฟังการชี้แจงโครงการ และอภิปรายเสริมเรื่องการหาสถานที่ของอุทยานอาหารสุขภาพว่าจะเน้นที่สถานที่หรือกระบวนการ หากเน้นที่กระบวนการ จะเปิดที่ใดก็ได้

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมครั้งแรก ชี้แจงการดำเนินงานของโครงการหลังการอนุมัติการดำเนินงาน การจัดทำรายงาน การเคลียร์เงินและจัดทำเอกสารการเงิน

ผลที่เกิดขึ้น

เข้าใจและได้เรียนรู้ทักษะการรายงาน ดีพอสมควร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เวลาและเครื่องมือมีจำกัด

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ควรลงรายละเอียดรายโครงการในระดับพื้นที่ พ้อมการติดตามผล

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

ร่วมติดตามผลและปรับปรุงความเป็นปัจจุบันให้ต่อเนื่อง

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

 

2. ประชุมเตรียมทำงาน ปรับปรุงแผนงานและพัฒนาโครงการ

วันที่ 29 พฤษภาคม 2556 เวลา 10:00

วัตถุประสงค์

ชี้แจงโครงการและปรับปรุงแผนปฏิบัติงานพร้อมวางกระบวนการและระบบการทำงานร่วมกัน

ลักษณะกิจกรรม

ได้จัดประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1/2556 มีผู้นำมาร่วมประชุมทุกพื้นที่

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมชี้แจงความเป็นมาของโครงการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ ความมั่นคงทางอาหาร และแผนของศูนย์เรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารคลองรัตภูมิ พร้อมการอภิปราย จัดปรับกระบวนการทำงาน แผนกิจกรรมและงบประมาณทั้งปี

ผลที่เกิดขึ้น

ผู้ที่มาร่วมประชุมได้ทราบและเข้าใจความเป็นมา ปรับแนวทางและกิจกรรม บางส่วน ร่วมทั้งปรับงบประมาณรวมร้อยละ 10 ให้เป็นค่าใช้จ่ายประสานงานของผู้ประสานงานสถาบันศานติธรรม โดยมีผู้ช่วยผู้ประสานงานกลางมาร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

งบประมาณการดำเนินการเพื่อประสานและสนับสนุนของผู้ประสานงานมีจำกัดมาก  ไม่สามารถดำเนินการประสานหรือเคลื่อนกิจกรรมเสริมอื่นๆได้

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ควรวางระบบสนับสนุนผู้ประสานงานไว้เป็นการเฉพาะ หรือแยกสัดส่วนออกมาไม่ไปปะปนกับพื้นที่

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

ควรลงมาเสริมและติดตามในเวทีประชุม 3 เดือนของคณะทำงานพื้นที่ทุกครั้ง ครั้งต่อไปนัดหมายวันที่ 28  สิงหาคม 2556 09.00-15.30 น. ณหาดปากบางภูมี  ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง จ.สงขลา

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

นุ้ย

3. สมัชชาลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ

วันที่ 13 มิถุนายน 2556 เวลา 12:00

วัตถุประสงค์

เวทีพบปะแลกเปลี่ยประสบการณืประจำปี

ลักษณะกิจกรรม

-นำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการ -ออกร้านจำหน่ายผลผลิต -จัดเสวนาในช่วงบ่ายพร้อมการถ่ายทอดสดทางวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสุขภาพ(www.healthyradio.orgและwww.healthytv.org) -การแข่งเรือหลายประเภท

เป้าหมายที่ตั้งไว้

งานแสดงผลงานของส่วนราชการและภาคประชาชน งานเสวนาการพัฒนาคลองรัตภูมิ การแข่งเรือหลายประเภทในบริเวณชลประทานท่าชะมวง สลับกับการแสดงดนตรี

ผลที่เกิดขึ้น

เข้าร่วมติดจามสถานการณ์ การออกร้าน ร่วมจัดนิทรรศการ และเสวนา มีผู้มาร่วมงานจำนวนมาก

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

จัดกิจกรรมเช่นนี้เป็นประเพณีทุกปี

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ควรมีการสนับสนุนการพัฒนาสื่อเพื่อการเผยแพร่ และเชื่อมต่อการขับเคลื่อนธรรมนูญลุ่มน้ำคลองภูมี สู่วาระสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

ควรมาร่วมประสานและเชื่อมต่อการขับเคลื่อนสู่สมัชชาสุขภาพภาคใต้

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

นุ้ย

4. เปิดบัญชีโครงการฯที่ธนาคารกรุงไทย

วันที่ 13 มิถุนายน 2556 เวลา 10:30

วัตถุประสงค์

เปิดบัญชีโครงการของพื้นที่เพื่อบริหารจัดการการเงิน

ลักษณะกิจกรรม

นัดหมายคณะทำงาน3 คนไปร่วมเปิดบัญชี ณ ธนาคารกรุงไทย สาขารัตภูมิ  ชื่อศานติธรรม โดยกำราบ  พานทอง

เป้าหมายที่ตั้งไว้

นัดหมายกรรมการโครงการย่อย 3 คนมาร่วมเปิดบัญชีใหม่ เนื่องจากบัญชีเดิมซึ่งเปิดที่ธนาคารกรุงเทพฯใช้ไม่ได้ ต้องปิดไป

ผลที่เกิดขึ้น

เปิดบัญชีธนาคารได้เรียบร้อยแต่ต้องดำเนินการ 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 12 มิ.ย.เจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงเทพฯ เปิดให้แล้ว แต่มายกเลิกภายหลัง จึงต้องย้ายไปเปิดใหม่ที่ ธนาคารกรุงไทยแทนในวันนี้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ควรมีเอกสารแนบที่ชัดเจนจากสำนักงานกลางและคำแนะนำในการเตรียมเอกสารประกอบ รวมทั้งธนาคารที่เหมาะสมและเข้าใจ

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ควรมรคู่มือและคำแนะนำสำหรับทุกโครงการ

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

การเตรียมเอกสารที่ดีและรวดเร็ว

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

นุ้ย

5. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการจัดประชุมและฝึกอบรมแนวคิดการปรับเปลี่ยนพืชเเชิงเดี่ยวฯ

วันที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลา 10:00-15.30

วัตถุประสงค์

ติดตามผลการดำเนินงานและวางแผนงานที่จะดำเนินการในช่วง 3 เดือน(ก.ย.2556)

ลักษณะกิจกรรม

มีการจัดประชุมโดยมีแกนนำแต่ละพื้นที่มาร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง พื้นที่ละ  5-10 คน

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมติดตามงานจากผู้นำและคณะทำงานพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ ผู้แทนคณะทำงานกลุ่มศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาเกษตรธาตุ4 ผู้แทนกลุ่มบ้านคอกช้าง ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ และผู้แทนกลุ่มตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จ.สงขลา

ผลที่เกิดขึ้น

ได้มีการทำความเข้าใจและร่วมวางแผนเตรียมงานประชุมและชี้แจงเรื่องการประชุมพืชเชิงเดี่ยว 3 เวที

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังไม่ได้ออกแบบแบบฟอร์มการรับสมัคร

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ขณะนี้มีปัญหาราคายางพารา ควรเชื่อมโยงการขับเคลื่อนพืชร่วมยางเข้ากับกรขับเคลื่อนการแก้ปัญหาโดยชุมชน

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

เชื่อมต่อการขับเคลื่อนกับกลุ่ม/แผนงานอื่นๆ

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

นุ้ย

6. ประชุมและฝึกอบรมการปรับเปลี่ยนแนวคิดพืชเชิงเดี่ยวฯ

วันที่ 10 กันยายน 2556 เวลา 09:00-16.00

วัตถุประสงค์

-ทำความเข้าใจสถานการณ์และการปรับเปลี่ยนแนวคิดพืชเชิง เดี่ยว -ออกแบบคุณสมบัติและขั้นตอนการเข้าเป็นสมาชิกโครงการ

ลักษณะกิจกรรม

-จัดประชุมชี้แจง ผู้เข้าร่วมจากทุกพื้นที่ในโซนศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติธาตุ4 จำนวน 58 คน -มีการบรรยายและอภิปรายสถานการณ์และความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนพืชเชิงเดี่ยว มีการร่วมออกแบบขั้นตอนและคุณสมบัติสมาชิก

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมสมาชิกที่สนใจ ให้ความรู้เรื่องสถานการณ์พืชเชิงเดี่ยว และความสำคัญของการปลูกพืชร่วมยางและการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบเกษตร โดยเน้นการเพิ่มพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร จากนั้นช่วงท้ายรายการ เป็นการระดมความคิดเห็นเรื่องเขื่อนไข และกติการการเป็นสมาชิกโครงการพืชร่วมยางหรือการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในสวน

ผลที่เกิดขึ้น

-มีผู้มาร่วมครบทุกพื้นที่ในเครือข่าย -ได้ขั้นตอน มีการแบ่งความรับผิดชอบไปตามโซนย่อยต่างๆ  และได้คุณสมบัติการเป็นสมาชิกที่ชัดเจน -กำหนดวันส่งรายชื่อผู้สมัคร 25 กันยายน 2556

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ขาดการพูดคุยกลุ่มย่อย เพราะเวลาจำกัด  ควรขยายเวลาหรือมีเวทีเพิ่ม

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ควรมีฐานข้อมูลชาวสวนยางพาราทั่วประเทศและความรู้เรื่องนี้ถูกประมวลไว้เป็นองค์ความรู้

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

ขยายผลสู่การขับเคลื่อนที่สูงขึ้น

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

นุ้ย

7. ฝึกอบรมพืชร่วมยางและสวนผสมผสาน

วันที่ 11 กันยายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

แสวงหาผู้สนใจร่วมโครงการฯ

ลักษณะกิจกรรม

จัดฝึกอบรม มีวิทยากรบรรยาย แลกเปลี่ยน ซักถาม

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ฝีกอบรมผู้สนใจการเข้าร่วมโครงการฯ ในพื้นที่ตำบลรัตภูมิ อ.ควนเนียง เพื่อทำความเข้าใจ และให้ความรู้พืชร่วมยางและสวนผสมผสาน

ผลที่เกิดขึ้น

-สมาชิกเกษตรกรจากตำบลรัตภูมิมีความสนใจพอสมควรและยินดีเข้าร่วมจำนวนมาก

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ควรแนะนำจัดหลายครั้ง  และมีเวลามากขึ้น

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

นุ้ย

8. ประชุมและฝึกอบรมการปรับเปลี่ยนแนวคิดพืชเชิงเดี่ยวฯ

วันที่ 12 กันยายน 2556 เวลา 09:00-15.00

วัตถุประสงค์

-ประชุมทำความเข้าใจขั้นตอนการดำเนินการและคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสมาชิก -เรียนรู้สถานการณ์และความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนพืชเชิงเดี่ยวสู่พืชผสมผสาน

ลักษณะกิจกรรม

-จัดประชุมชี้แจง -จัดบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณว

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมสมาชิกที่สนใจ ให้ความรู้เรื่องสถานการณ์พืชเชิงเดี่ยว และความสำคัญของการปลูกพืชร่วมยางและการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบเกษตร โดยเน้นการเพิ่มพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร จากนั้นช่วงท้ายรายการ เป็นการระดมความคิดเห็นเรื่องเขื่อนไข และกติการการเป็นสมาชิกโครงการพืชร่วมยางหรือการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในสวน

ผลที่เกิดขึ้น

มีสมาชิกในเครือข่ายมาร่วมประชุม 42 คน -มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์อยางกว้างขวาง -มีการประชุมระดมความเห็นได้มติคุณสมบัติสมาชิกและการแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ -กำหนดวันส่งราบชื่อผู้สมัคร 25 กันยายน 2556

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ประสบการณ์วิทยากรมากแต่มีการเผยแพร่ให้ผู้สนใจทั่วไปน้อย 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ควรขยายผลการเรียนรู้เป็นชุดองค์ความรู้และจัดทำเอกสารเผยแพร่ให้มากขึ้น

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

จัดทำสื่อขยายผลการเรียนรู้เป็นชุดองค์ความรู้และจัดทำเอกสารเผยแพร่ให้มากขึ้น

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

นุ้ย

9. ประชุมติดตามงานและเตรียมส่งรายงานงวดที่1

วันที่ 23 กันยายน 2556 เวลา 09:00-14.30

วัตถุประสงค์

ติดตามและจัดปรับการดำเนินงาน

ลักษณะกิจกรรม

ได้ประชุมรายงานผล ทำความเข้าใจและปรับปรุงการรายงานบนหน้าเวปไซด์

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ปรึกษาและติดตามกิจกรรมที่ทำผ่านมา รวมทั้งการนัดหมายส่งรายงานประจำงวดทั้งการเงิน และกิจกรรม วันที่ 25 และ 27 ก.ย.นี้

ผลที่เกิดขึ้น

ได้ทำความเข้าใจ ตรวจสอบความก้าวหน้าและเขียนรายงานลงหน้าเวปไซด์

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังมีวัฒนธรรมการใช้เวปไซด์น้อย

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ควรมีการกระตุ้นการสร้างวัฒนธรรมการใช้เวปไซด์และสื่อดิจตอล โดยสร้างแรงจูงใจด้านบวก

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

มีการสนับสนุนและให้กำลังใจกำลังทุนพัฒนาวัฒนธรรมการใช้สื่อดิจดตอลทุกรูปแบบ

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

นุ้ย

10. นัดหมายส่งรายงานจากพื้นที่ฯและการปรับปรุงรายงานส่งสจรส.

วันที่ 25 กันยายน 2556 เวลา 09:00-17.00

วัตถุประสงค์

ติดตามผลการรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการพืชร่วมยางฯ

ลักษณะกิจกรรม

ติดตามและรับรายชื่อ ที่อยู่สมาชิกจำนวน 200 คน จากชุมชนต่างๆ ผ่านผู้ประสานงานพื้นที่

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประสานการจัดส่งรายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมพืชรวมยางและสวนสมรม จำนวน 200 ครอบครัวและการปรับแผนงานงวดที่ 2 ปรับปรุงส่ง สจรส.ภ

ผลที่เกิดขึ้น

ยังมาสมัครไม่ครบ  และบางพื้นที่ยังรอแบบฟอร์ม

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ข้อมูลยังไม่ครบและรอการประสานเรื่องแบบฟอร์มการรับสมัคร 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ประสานเตือนการนัดหมายล่วงหน้า

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

ประสานเตือนการนัดหมายล่วงหน้า

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

นุ้ย

หมายเหตุ ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม กรุณาระบุเนื้อหา/ข้อสรุปสำคัญต่าง ๆ จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้ เช่น ความรู้ กลุ่มแกนนำ แผนงานต่าง ๆ และผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง (ซึ่งจะทราบได้จากการติดตามประเมินผลของโครงการ)

ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม ให้ใส่เครื่องหมาย / ในช่องคะแนนโดยที่คะแนน 4=บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย 3=บรรลุผลตามเป้าหมาย 2=เกือบได้ตามเป้าหมาย 1=ได้น้อยกว่าเป้าหมายมาก

5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

 

6. แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

ตามแผนงานเดิมที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ

มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ ระบุกิจกรรม/รายละเอียดที่จะปรับเปลี่ยน และระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน

 

7. ประเมินสถานการณ์โดยภาพรวมของโครงการ

สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนได้

ล่าช้ากว่าแผน กรุณาให้แนวทางแก้ไขปรับปรุง (สรุปเป็นข้อ)

 

8. ข้อคิดเห็นอื่น ๆ