ระยะเวลา | เป้าหมาย/วิธีการ | ผลการดำเนินงาน | ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข | |||
---|---|---|---|---|---|---|
ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | ตามแผน | ปฏิบัติจริง | |
1. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน » | ||||||
เสาร์ 18 พ.ค. 56 | เสาร์ 18 พ.ค. 56 | ประชุมครั้งแรก ชี้แจงการดำเนินงานของโครงการหลังการอนุมัติการดำเนินงาน การจัดทำรายงาน การเคลียร์เงินและจัดทำเอกสารการเงิน |
เข้ารับฟังการชี้แจงโครงการ และอภิปรายเสริมเรื่องการหาสถานที่ของอุทยานอาหารสุขภาพว่าจะเน้นที่สถานที่หรือกระบวนการ หากเน้นที่กระบวนการ จะเปิดที่ใดก็ได้ |
ความรู้ความเข้าใจเรื่องโครงการบูรณาการอาหาร และการฝึกทักษะการรายงานทางอินเตอร์เน็ต |
เข้าใจและได้เรียนรู้ทักษะการรายงาน ดีพอสมควร |
เวลาและเครื่องมือมีจำกัด |
2. ประชุมเตรียมทำงาน ปรับปรุงแผนงานและพัฒนาโครงการ » | ||||||
พุธ 29 พ.ค. 56 | พุธ 29 พ.ค. 56 | ประชุมชี้แจงความเป็นมาของโครงการบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ ความมั่นคงทางอาหาร และแผนของศูนย์เรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารคลองรัตภูมิ พร้อมการอภิปราย |
ได้จัดประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1/2556 มีผู้นำมาร่วมประชุมทุกพื้นที่ |
ความรู้ความเข้าใจในโครงการบูรณาการและศูนย์เรียนรู้้ พร้อมทั้งการปรับโครงการให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของการทำงานในพื้นที่จริง |
ผู้ที่มาร่วมประชุมได้ทราบและเข้าใจความเป็นมา ปรับแนวทางและกิจกรรม บางส่วน ร่วมทั้งปรับงบประมาณรวมร้อยละ 10 ให้เป็นค่าใช้จ่ายประสานงานของผู้ประสานงานสถาบันศานติธรรม โดยมีผู้ช่วยผู้ประสานงานกลางมาร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย |
งบประมาณการดำเนินการเพื่อประสานและสนับสนุนของผู้ประสานงานมีจำกัดมาก ไม่สามารถดำเนินการประสานหรือเคลื่อนกิจกรรมเสริมอื่นๆได้ |
3. สมัชชาลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ » | ||||||
พฤหัสบดี 13 มิ.ย. 56 | พฤหัสบดี 13 มิ.ย. 56 | งานแสดงผลงานของส่วนราชการและภาคประชาชน งานเสวนาการพัฒนาคลองรัตภูมิ การแข่งเรือหลายประเภทในบริเวณชลประทานท่าชะมวง สลับกับการแสดงดนตรี |
-นำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการ -ออกร้านจำหน่ายผลผลิต -จัดเสวนาในช่วงบ่ายพร้อมการถ่ายทอดสดทางวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสุขภาพ(www.healthyradio.orgและwww.healthytv.org) -การแข่งเรือหลายประเภท |
นำเสนอผลการดำเนินงานในรูปนิทรรศการ กิจกรรมบนเวทีและการเสวนาประจำปี |
เข้าร่วมติดจามสถานการณ์ การออกร้าน ร่วมจัดนิทรรศการ และเสวนา มีผู้มาร่วมงานจำนวนมาก |
จัดกิจกรรมเช่นนี้เป็นประเพณีทุกปี |
4. เปิดบัญชีโครงการฯที่ธนาคารกรุงไทย » | ||||||
พฤหัสบดี 13 มิ.ย. 56 | พฤหัสบดี 13 มิ.ย. 56 | นัดหมายกรรมการโครงการย่อย 3 คนมาร่วมเปิดบัญชีใหม่ เนื่องจากบัญชีเดิมซึ่งเปิดที่ธนาคารกรุงเทพฯใช้ไม่ได้ ต้องปิดไป |
นัดหมายคณะทำงาน3 คนไปร่วมเปิดบัญชี ณ ธนาคารกรุงไทย สาขารัตภูมิ ชื่อศานติธรรม โดยกำราบ พานทอง |
เปิดบัญชีธนาคารเพื่อรับโอนเงินดำเนินงานในแผนโครงการได้สำเร็จ |
เปิดบัญชีธนาคารได้เรียบร้อยแต่ต้องดำเนินการ 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 12 มิ.ย.เจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงเทพฯ เปิดให้แล้ว แต่มายกเลิกภายหลัง จึงต้องย้ายไปเปิดใหม่ที่ ธนาคารกรุงไทยแทนในวันนี้ |
ควรมีเอกสารแนบที่ชัดเจนจากสำนักงานกลางและคำแนะนำในการเตรียมเอกสารประกอบ รวมทั้งธนาคารที่เหมาะสมและเข้าใจ |
5. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการจัดประชุมและฝึกอบรมแนวคิดการปรับเปลี่ยนพืชเเชิงเดี่ยวฯ » | ||||||
พุธ 28 ส.ค. 56 | พุธ 28 ส.ค. 56 | ประชุมติดตามงานจากผู้นำและคณะทำงานพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ ผู้แทนคณะทำงานกลุ่มศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาเกษตรธาตุ4 ผู้แทนกลุ่มบ้านคอกช้าง ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ และผู้แทนกลุ่มตำบลรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จ.สงขลา |
มีการจัดประชุมโดยมีแกนนำแต่ละพื้นที่มาร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง พื้นที่ละ 5-10 คน |
แกนนำร่วมออกแบบและเตรีมงานในกิจกรรมตามแผนงาน |
ได้มีการทำความเข้าใจและร่วมวางแผนเตรียมงานประชุมและชี้แจงเรื่องการประชุมพืชเชิงเดี่ยว 3 เวที |
ยังไม่ได้ออกแบบแบบฟอร์มการรับสมัคร |
6. ประชุมและฝึกอบรมการปรับเปลี่ยนแนวคิดพืชเชิงเดี่ยวฯ » | ||||||
อังคาร 10 ก.ย. 56 | อังคาร 10 ก.ย. 56 | ประชุมสมาชิกที่สนใจ ให้ความรู้เรื่องสถานการณ์พืชเชิงเดี่ยว และความสำคัญของการปลูกพืชร่วมยางและการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบเกษตร โดยเน้นการเพิ่มพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร จากนั้นช่วงท้ายรายการ เป็นการระดมความคิดเห็นเรื่องเขื่อนไข และกติการการเป็นสมาชิกโครงการพืชร่วมยางหรือการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในสวน |
-จัดประชุมชี้แจง ผู้เข้าร่วมจากทุกพื้นที่ในโซนศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติธาตุ4 จำนวน 58 คน -มีการบรรยายและอภิปรายสถานการณ์และความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนพืชเชิงเดี่ยว มีการร่วมออกแบบขั้นตอนและคุณสมบัติสมาชิก |
-มีผู้สนใจมาเรียนรู้และทำความเข้าใจทุกพื้นที่ -ได้ขั้นตอนการรับสมัครและคุณสมบัติของผู้สมัครที่ชัดเจน |
-มีผู้มาร่วมครบทุกพื้นที่ในเครือข่าย -ได้ขั้นตอน มีการแบ่งความรับผิดชอบไปตามโซนย่อยต่างๆ และได้คุณสมบัติการเป็นสมาชิกที่ชัดเจน -กำหนดวันส่งรายชื่อผู้สมัคร 25 กันยายน 2556 |
ขาดการพูดคุยกลุ่มย่อย เพราะเวลาจำกัด ควรขยายเวลาหรือมีเวทีเพิ่ม |
7. ฝึกอบรมพืชร่วมยางและสวนผสมผสาน » | ||||||
พุธ 11 ก.ย. 56 | พุธ 11 ก.ย. 56 | ฝีกอบรมผู้สนใจการเข้าร่วมโครงการฯ ในพื้นที่ตำบลรัตภูมิ อ.ควนเนียง เพื่อทำความเข้าใจ และให้ความรู้พืชร่วมยางและสวนผสมผสาน |
จัดฝึกอบรม มีวิทยากรบรรยาย แลกเปลี่ยน ซักถาม |
มีผู้ให้ความสนใจความรู้พืชร่วมยาง เกษตรผสมผสานและพร้อมสมัครเป็นสมาชิก |
-สมาชิกเกษตรกรจากตำบลรัตภูมิมีความสนใจพอสมควรและยินดีเข้าร่วมจำนวนมาก |
ควรแนะนำจัดหลายครั้ง และมีเวลามากขึ้น |
8. ประชุมและฝึกอบรมการปรับเปลี่ยนแนวคิดพืชเชิงเดี่ยวฯ » | ||||||
พฤหัสบดี 12 ก.ย. 56 | พฤหัสบดี 12 ก.ย. 56 | ประชุมสมาชิกที่สนใจ ให้ความรู้เรื่องสถานการณ์พืชเชิงเดี่ยว และความสำคัญของการปลูกพืชร่วมยางและการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบเกษตร โดยเน้นการเพิ่มพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร จากนั้นช่วงท้ายรายการ เป็นการระดมความคิดเห็นเรื่องเขื่อนไข และกติการการเป็นสมาชิกโครงการพืชร่วมยางหรือการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในสวน |
-จัดประชุมชี้แจง -จัดบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณว |
-ผู้สนใจในเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์พืชเชิงเดี่ยวขั้นตอนการรับสมัครและคุณสมบัติสมาชิก |
มีสมาชิกในเครือข่ายมาร่วมประชุม 42 คน -มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์อยางกว้างขวาง -มีการประชุมระดมความเห็นได้มติคุณสมบัติสมาชิกและการแบ่งบทบาทความรับผิดชอบ -กำหนดวันส่งราบชื่อผู้สมัคร 25 กันยายน 2556 |
ประสบการณ์วิทยากรมากแต่มีการเผยแพร่ให้ผู้สนใจทั่วไปน้อย |
9. ประชุมติดตามงานและเตรียมส่งรายงานงวดที่1 » | ||||||
จันทร์ 23 ก.ย. 56 | จันทร์ 23 ก.ย. 56 | ปรึกษาและติดตามกิจกรรมที่ทำผ่านมา รวมทั้งการนัดหมายส่งรายงานประจำงวดทั้งการเงิน และกิจกรรม วันที่ 25 และ 27 ก.ย.นี้ |
ได้ประชุมรายงานผล ทำความเข้าใจและปรับปรุงการรายงานบนหน้าเวปไซด์ |
มีความคืบหน้าและรายงานปรากฏหน้าเวปไซด์ |
ได้ทำความเข้าใจ ตรวจสอบความก้าวหน้าและเขียนรายงานลงหน้าเวปไซด์ |
ยังมีวัฒนธรรมการใช้เวปไซด์น้อย |
10. นัดหมายส่งรายงานจากพื้นที่ฯและการปรับปรุงรายงานส่งสจรส. » | ||||||
พุธ 25 ก.ย. 56 | พุธ 25 ก.ย. 56 | ประสานการจัดส่งรายชื่อผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมพืชรวมยางและสวนสมรม |
ติดตามและรับรายชื่อ ที่อยู่สมาชิกจำนวน 200 คน จากชุมชนต่างๆ ผ่านผู้ประสานงานพื้นที่ |
ได้รายชื่อที่อยู่สมาชิกเข้าร่วมโครงการจำนวน 200 ราย |
ยังมาสมัครไม่ครบ และบางพื้นที่ยังรอแบบฟอร์ม |
ข้อมูลยังไม่ครบและรอการประสานเรื่องแบบฟอร์มการรับสมัคร |
11. ประชุมแกนนำและร่วมกิจกรรมเสวนาการอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุกรรมท้องถิ่นในการเปิดอุทยานกล้วย » | ||||||
พฤหัสบดี 10 ต.ค. 56 | พฤหัสบดี 10 ต.ค. 56 | ร่วมกิจกรรมการเปิดอุทยานกล้วย ร่วมเวทีเสวนาการอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุกรรมท้องถิ่นโดยเฉพาะกล้วย และการหารือติดตามความคืบหน้าของโครงการศูนย์เรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารลุ่มน้ำคลองรัตภูมิกับแกนนำและคณะทำงานฯ |
- |
- |
- |
- |
12. ประสานการจัดประชุมและติดตามเอกสารการเงิน » | ||||||
พุธ 23 ต.ค. 56 | พุธ 23 ต.ค. 56 | ติดตามเอกสารการเงินและรายงานการรับสมัครสมาชิกของกลุ่ม ม.6 และการนัดหมายประชุมสมาชิก |
นัดหมายดูเอกสารการเงินและรายงานจากอาสาสมัครของกลุ่มแต่ละกลุ่มย่อยที่ ม.6 ต.เขาพระอ.รัตภูมิ สงขลา |
ได้รับเอกสารใบสมัคร เอกสารการเงินของกลุ่มย่อย |
-ได้รับรายชื่อสมาชิกที่สมัครร่วมกิจกรรมพืชร่วมยางแต่ขาดใบสมัคร และความเรียบร้อยสมบูรณ์ของเอกสารการเงิน ต้องนัดหมายอีกครั้ง -ได้ประสานการต้อนรับคณะเดินทางด้วยรักจากปากบารา ถึงจะนะ มาพักในพื้นที่ |
นัดรับเอกสารและกรอกรายละเอียดให้สมบูรณ์ในวันประชุมสมาชิกกลุ่ม 19 พ.ย.2556 |
13. ประชุมปรึกษาการเตรียมประชุมจัดทำข้อมูลร่วมกับสมาชิกที่สมัครร่วมโครงการ » | ||||||
พฤหัสบดี 24 ต.ค. 56 | พฤหัสบดี 24 ต.ค. 56 | ประชุมร่วมกับแกนนำเพื่อหารือช่วงเวลาที่เหมาะสมและการเตรียมการ หลังการสมัครเป็นสมาชิกแล้ว |
ได้ประชุมปรึกษากำหนดวันเวลาสถานที่และการนัดหมายประชุม พร้อมเนื้อหาที่ต้องเตรียมร่วมกัน |
ได้วันเวลาสถานที่และการนัดหมายสมาชิกที่ชัดเจน |
ได้วันที่นัดหมายประชุมสมาชิก จำนวน 50 คนชัดเจน ในวันที่19 พ.ย.2556 เวลา 13.00-16.00 น. |
ไม่มี |
14. ประชุมเชิงปฏิบัติการสมาชิกสวนผสมผสาน » | ||||||
เสาร์ 16 พ.ย. 56 | เสาร์ 16 พ.ย. 56 | ประชุมสมาชิกที่สมัครร่วมกิจกรรมสวนผสมผสาน จำนวน 100 คน เพื่อกรอกใบสมัครและชี้แจงการจัดทำฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ รวมทั้งแนวทางการจัดหาพันธุ์ไม้ |
ได้ประชุมสมาชิกที่สมัครร่วมกิจกรรมสวนผสมผสาน จำนวน 50 คน(มาสมัครแล้ว) ชี้แจงการกรอกใบสมัครและชี้แจงการจัดทำฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ |
ได้ประชุมสมาชิกที่สมัคร 100 ราย มีความเข้าใจและกรอกใบสมัครได้ พร้อมทั้งเห็นแนวทางจัดหาพันธุ์ไม้ |
-ได้ประชุมสมาชิกที่สมัครได้แล้ว 50 ราย มีความเข้าใจและกรอกใบสมัครได้ |
สมาชิกสมัครยังไม่ครบโควต้าที่ได้รับไว้คือ 100 ราย ต้องขยายเวลารับสมัครเพิ่ม |
15. ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำระบบข้อมูลพันธุ์ไม้รอบบ้านและการจัดหากล้าไม้เสริมในแปลง » | ||||||
อังคาร 19 พ.ย. 56 | อังคาร 19 พ.ย. 56 | 1.จัดประชุมชี้แจงและร่วมกับพื้นที่วางแผนการจัดเก็บข้อมูลพันธุ์พืชของสมาชิก 50 ครอบครัว ที่เข้าร่วมโครงการ ของ ม.5,6 ตำบลเขาพระ อ.รัตภูมิและ ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง จ.สงขลา 2.ออกแบบการจัดหากล้าไม้ลงในแปลงของแต่ละครอบครัว |
สมาชิก 50 คน ของกลุ่มศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมธรรมชาติธาตุ4 ประชุมและแลกเปลี่ยน หาแนวทางจัดหาพันธุ์ไม้ |
-ได้พบปะสมาชิก ชี้แจงการกรอกใบสมัครและการจัดทำฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ -ได้แนวทางการจัดหาพันธุ์ไม้ |
-ได้พบปะสมาชิก 50 ราย ชี้แจงการกรอกใบสมัครและการจัดทำฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ -ได้แนวทางการจัดหาพันธุ์ไม้ เน้นการจัดหาด้วยตนเอง นัดส่งใบสมัคร 25 พ.ย.2556 |
นัดหมายคณะทำงานจัดทำฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ของกลุ่มและออกแบบรายละเอียดแนวทางการจัดหาพันธุ์ไม้ |
16. ประชุมเชิงปฏิบัติการสมาชิกสวนผสมผสานและพืชร่วมยาง » | ||||||
พฤหัสบดี 21 พ.ย. 56 | พฤหัสบดี 21 พ.ย. 56 | ประชุมสมาชิก 50 รายในกิจกรรมพืชร่วมยาง เพื่อชี้แจงการกรอกใบสมัคร การจัดทำฐานข้อมูลพันธุ์ไม้รายแปลงของสมาชิกแต่ละคน รวมทั้งแนวทางการจัดหาพันธุ์ไม้ |
ประชุมสมาชิก มาประชุมได้20 รายในกิจกรรมพืชร่วมยาง รับฟังการบรรยายจากวิทยากร ชี้แจงการกรอกใบสมัคร การจัดทำฐานข้อมูลพันธุ์ไม้รายแปลงของสมาชิกแต่ละคน รวมทั้งแนวทางการจัดหาพันธุ์ไม้ |
สมาชิก 50 คนได้ความรู้ความเข้าใจการกรอกใบสมัคร ระบบการจัดการในกลุ่มและแนวทางการจัดหาพันธุ์ไม้ |
-สมาชิก 20 คนได้ความรู้พืชร่วมยางจากวิทยากร มีความเข้าใจการกรอกใบสมัคร ระบบการจัดการในกลุ่มและแนวทางการจัดหาพันธุ์ไม้ -นัดหมายการติดตามใบสมัครและเอกสารการเงินครั้งต่อไป |
สมาชิกมาไม่ครบเนื่องจากฝนตกหนัก จึงให้ผู้ประสานงานพื้นที่ติดตามและนัดหมายจัดส่งเอกสารในครั้งต่อไปต้นเดือนหน้า |
17. ประชุมคณะทำงานร่วมกับคณะทำงานอนุรักษ์และพัฒนาคลองรัตภูมิ » | ||||||
ศุกร์ 13 ธ.ค. 56 | ศุกร์ 13 ธ.ค. 56 | ประชุมติดตามความคืบหน้าและร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ |
ได้ร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าและร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ -นัดหมายและร่วมออกแบบกำหนดการและขั้นตอนการดำเนินงานในวันประชุมที่โครงการจะถอดบทเรียนร่วมในการขับเคลื่อนธรรมนูญลุ่มน้ำฯ |
ได้ร่วมติดตามการขับเคลื่อนงาน การวางแผนและพัฒนาธรรมนูญลุ่มน้ำฯ ที่เชื่อมโยงกับโครงการฯ |
-ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ร่วมเป็นที่ปรึกษาและคณะทำงานในการบริหารจัดการลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ -ได้กำหนดการและรายละเอียดเวทีการขับเคลื่อนธรรมนูญลุ่มน้ำในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งจะจัดวันที่ 13 ม.ค.2556 ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์ปากบางภูมี |
ช่วงนี้ผู้นำและสมาชิกหลายคนร่วมชุมนุมเพื่อปฏิรูปประเทศไทยทำให้กำหนดการอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง |
18. ประชุมคณะทำงานศูนย์เรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ » | ||||||
อาทิตย์ 29 ธ.ค. 56 | อาทิตย์ 29 ธ.ค. 56 | ประชุมประจำ 3 เดือน ของคณะทำงานศูนย์เรียนรู้ทั้ง 3 แห่งคือ ม.5,6 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ และ ต.รัตภูมิ อ.ควนเนียง จ.สงขลา |
ได้ประชุมผู้แทนกลุ่มต่างๆ ตามกำหนดเวลา ติดตามงานความคืบหน้าของแต่ละโซน ได้แก่โซนศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติธาตุ4 สมาชิกสมัครครบ ใบสมัครเรียบร้อย มีสมาชิก 50 คน โซนที่ 2 บ้านคอกช้าง มีสมาชิกสมัครเรียบร้อยแล้ว จำนวน 60 กว่าราย เกินที่กำหนด ยังไม่ปิดรับสมัคร เน่องจากมีผู้สนใจมาก และโซนสุดท้ายศูนย์เรียนรู้ตำบลปากบางมาประชุมไม่ได้ |
ได้ประชุมคณะทำงานจากผู้แทนโซนต่างๆ โซนละ 5 คน รวมทั้งผู้ช่วย รวมประมาณ 20 คน |
มาร่วมประชุม 2 โซนประมาณ25 คน รวมทั้งผู้ช่วยวิทยากร โซนที่ 3( ต.ปากบาง) ไม่สามารถเข้าประชุมได้เนื่องจากผูนำที่เป็นผู้แทนเกือบทั้งหมดป่วย หลังจากกลับจากการร่วมชุมนุมที่กรุงเทพ แต่ทราบว่าได้รับสมัครสมาชิกและกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว 50 ราย รวมสมาชิกทั้งหมดขณะนี้ ประมาณ 160 ราย |
การเลื่อนเวลาเนื่องจากผู้นำและสมาชิกส่วนใหญ่ ร่วมชุมนุมคัดค้านรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมที่กรุงเทพฯ และเสนอปรับแผนให้มีการถอดบทเรียนระดับโซนก่อน สรุปบทเรียนรวม |
19. เตรียมนิทรรศการตลาดนัดความรู้ » | ||||||
จันทร์ 17 มี.ค. 57 - ศุกร์ 21 มี.ค. 57 | จันทร์ 17 มี.ค. 57 | จัดเตรียม ออกแบบ จัดหาวัสดุ และนำมาติดตั้งแสดงในงานตลาดนัดความรู้(19-21 มีนาคม 2557) |
ได้จัดนิทรรศการชุดพืชร่วมยางแบบถอดประกอบได้ ได้ถ่ายทอดสดทั้ง 3 วัน ผ่านสื่อออนไลด์ |
-นำเสนอและเผยแพร่ประสบการณ์การปลูกพืชร่วมยางพารา -ถ่ายทอดสดงานผ่านวิทยุและโทรทัศน์ออนไลด์ |
-นิทรรศการมีผู้ชมพอสมควร ส่วนใหญ่สนใจพันธ์ุไม้ต้องการหาซื้อกลับไปปลูก -ถ่ายทอดสดได้ทั้ง 3 วันรับชมทางโทรทัศน์เพื่อสุขภาพ(www.healthytv.org) และ วิทยุเพื่อสุขภาพ(www.healthyradio.org) |
-ควรมีการประชาสัมพันธ์มากกว่านี้ พร้อมบอกช่องทางการรับชมและรับฟังทางออนไลด์ |
20. ประชุมติดตามแผนความมั่นคงทางอาหารร่วมกับคณะทำงานลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ » | ||||||
จันทร์ 21 เม.ย. 57 | จันทร์ 21 เม.ย. 57 | ร่วมจัดการประชุมกับคณะทำงานเครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาคลองรัตภูมิ เพื่อติดตามงานความมั่นคงทางอาหารและการจัดทำแผนพัฒนาตามแนวทางธรรมนูญลุ่มน้ำคลองภูมี ซึ่งประกาศใช้มาแล้ว ว่าจะดำเนินการอย่างไร รวมทั้งความคืบหน้าต่างๆ เช่นการยื่นจดทะเบียนสมาคม เป็นต้น |
ประชุมระหว่างแกนนำโซนศูนย์เรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารคลองรัตภูมิ 3 โซนกับคณะทำงานฯ รวม 14 คน |
ประชุมแกนนำโซนต่างๆ ร่วมกับคณะทำงานอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ ติดตามงานและแผนความมั่นคงทางอาหาร |
|
-แกนนำบางส่วนติดธุระไม่สามารถเข้าร่วมได้ ทางแก้ไขคือลงไปประชุมหรือเยี่ยมเยียนประสานข้อมูลเรื่องผลการประชุมเพิ่มเติม |
21. สนับสนุนการจัดพันธุ์ไม้ปลูกในแปลงสมาชิก » | ||||||
พฤหัสบดี 1 พ.ค. 57 - เสาร์ 31 พ.ค. 57 | พฤหัสบดี 1 พ.ค. 57 | สนับสนุนให้มีการจัดหาพันธ์ุไม้ ตามแผนที่แต่ละกลุ่ม ซึ่งีกลุ่มละ 10 คน 3 โซนโซนละ 5 กลุ่ม จัดหาพันธุ์ไม้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นการไปขอจากสถานที่ต่างๆ การซื้อเมล็ดพันธุ์มาเพาะชำให้สมาชิก หรือเข้าไปหาในป่ามาเพาะชำไว้ ปลูกในช่วงที่เหมาะสมเป็นต้น |
-ไปรวบรวมพันธุ์ไม้หลากหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่สร้างเรือนเพาะชำมาเพื่อเก็บรักษารอให้โตพอเหมะและสะดวกในการดูแล |
ทุกกลุ่มมีพันธุ์ไม้เพียงพอทั้งชนิดและปริมาณตามที่ต้องการ |
-ได้พันธุ์ไม้ครบตามที่ต้องการทั้งพืชผักพื้นบ้านอายุยืนเช่นผักเหมียง,ไม้ใช้สอยและสมุนไพร -มีเรือนเพาะชำไว้จัดเก็บและขยายพันธุ์ไม้ในอนาคตให้มากขึ้น |
-สนับสนุนและติดตามการดูแลรักษาที่ต่อเนื่อง |
22. ประชุมติดตามการปลูกพืชร่วมยางและการสร้างกติการ่วมของชุมชนในการติดตามดูแลพืชร่วมยางฯ » | ||||||
เสาร์ 10 พ.ค. 57 | เสาร์ 10 พ.ค. 57 | ประชุมแกนนำเครือข่ายศูนย์เรียนรู้โซนเกษตรธรรมชาติธาตุ 4 จำนวน 25 คน เพื่อติดตามการจัดหาพันธุ์ไม้ กระบวนการปลูกพืชและการวางกติกาเตรียมประกาศพื้นที่คุ้มครองความมั่นคงทางอาหารและพันธุกรรมท้องถิ่น |
ได้ประชุมแกนนำ ในวาระการประชุมประจำเดือนของเครือข่ายฯ ตามที่นัดหมายไว้ |
แกนนำขแงโซนเกษตรธรรมชาติธาตุ 4 และสมาชิกมาร่วมแลกเปลี่ยนและติดตามงานร่วมกัน |
-ได้ทราบความคืบหน้าของการเตรียมสมาชิก การรวบรวมใบสมัครแล้วเสร็จและได้แผนการจัดหาพันธุ์ไม้ให้กับสมาชิกทั้ง 5 กลุ่มชัดเจน รวมทั้งได้ออกแบบการบริหารจัดการและแบ่งความรับผิดชอบกันทุกพื้นที่ |
-ติดตามความคืบหน้าเดือนละครั้ง ในวันที่ 10 ของทุกเดือน |
23. ประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ » | ||||||
อาทิตย์ 18 พ.ค. 57 | อาทิตย์ 18 พ.ค. 57 | ประชุมติดตามงานและพัฒนาแผนปฏิบัติการตามข้อกำหนดของธรรมนูญลุ่มน้ำคลองรัตภูมี |
ประชุมแกนนำโซนกับคณะทำงานเครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำคลองรัตภูมิ จำนวน 16 คน ตามที่นัดหมายไว้ |
ได้ทำความเข้าใจร่วมกันและติดตามแผนความมั่นคงทางอาหารที่กำลังเกิดขึ้นและส่งแผนต่อผู้เกี่ยวข้อง |
-ได้ทราบความคืบหน้าของการเตรียมกล้าไม้ปลูกในแปลงต่างๆ -ทราบความคืบหน้าของแผนความมั่นคงทางอาหารที่เสนอต่อจังหวัดและประสานให้คณะกรรมการลุ่มน้ำคลองรัตภูมิสานต่อเรื่องนี้ |
-ควรมีผู้แนโซนหรือเครือข่ายที่พัฒนางานความมั่นคงทางอาหารเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการลุ่มน้ำคลองรัตภูมิที่จังหวัดแต่งตั้ง |
24. ประชุมเตรียมร่างกติกาปกป้องพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารป่าต้นน้ำลุ่มน้ำคลอง » | ||||||
อังคาร 27 พ.ค. 57 | อังคาร 27 พ.ค. 57 | ประชุมแกนนำเตรียมงานและออกแบบการร่างกติกาปกป้องพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารเพื่อนำเสนอให้ทัน พร้อมกับการจัดงาน 30 ปีเกษตรกรรมธรรมชาติธาตุ 4 และปราชญ์ชาวบ้านภาคใต้ในวันที่ 18-19 สิงหาคม 2557 |
ประชุมแกนนำในเครือข่ายที่เกี่ยวข้องรวม 34 คน |
เตรียมการยกร่างคำประกาศการปกป้องพื้นที่ความมั่นคงทางอาหาร และร่วมเตรียมงานรำล฿ก 30 ปี |
-ได้ร่วมกันออกแบบการเตรียมยกร่างกติกาการปกป้องพื้นที่อาหารป่าต้นน้ำเขาพระ -เตรียมจัดทำคำประกาศและนำเสนอในงานมหกรรม 30 ปีเกษตรธาตุ 4 และปราชญ์ชาวบ้านภาคใต้ ในวันที่ 18-19 ส.ค.2557 |
ระยะเวลากระชั้นชิดมาในการเตรียมงาน ต้องใช้ทุกโอกาสในการจัดทำกติกาและรับฟังความเห็น |
25. ประชุมติดตามการจัดหาพันธุ์ไม้ของศูนย์เรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารตำบลรัตภูมิ » | ||||||
พฤหัสบดี 29 พ.ค. 57 | พฤหัสบดี 29 พ.ค. 57 | ประชุมแกนนำ 5 กลุ่มของศูนย์เรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารตำบลรัตภูมิ เพื่อติดตามความคืบหน้าในการสนับสนุนการจัดหาพันธุ์ไม้ การจัดทำกติกาต่างๆ รวมทั้งการนัดหมายติดตามงาน โดยตกลงให้มีการประชุมติดตามงานกันเดือนละ 1 ครั้ง |
ประชุมแกนนำกลุ่มละ2-3 คนชี้แจงและออกแบบการจัดหาพันธุ์ไม้อย่างละเอียด |
แกนนำทุกกลุ่มได้สื่อสารกับสมาชิกและจัดหาพันธุ์ไม้ได้สำเร็จ |
-ได้ความคืบหน้าและทราบแผนงานจัดหาพันธุ์ไม้ -ได้ออกบบการจัดการแต่ละกลุ่มระยะสั้นและระยะยาว |
พบปะบ่อยขึ้น เดือนละครั้ง |
26. บริหารจัดการโครงการ » | ||||||
เสาร์ 31 พ.ค. 57 | เสาร์ 31 พ.ค. 57 | การบริหารจัดการ |
ประสานงานและติดตามประเมินผล |
บริหารงานได้มีประสิทธิภาพและได้ผลดีตามเป้าหมาย |
การประสานงานคล่องตัวมากขึ้น |
งบประมาณบางด้านยังน้อยเช่นค่าน้ำมันรถและค่าตอบแทนควรปรับอัตราใหม่ |
27. คืนเงินปิดบัญชี | ||||||
อังคาร 24 มิ.ย. 57 |
|
|
|
|
|