รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 56-0-008
งวดที่ 1
แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3)
ชื่อโครงการ การปฏิบัติการชุมชนและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหาร ต.เชิงแส อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา
กิจกรรม | ผลงาน (ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี) | ผลสรุปที่สำคัญ | ประเมินผล คุณภาพกิจกรรม | |||
---|---|---|---|---|---|---|
4 | 3 | 2 | 1 | |||
ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการดำเนินโครงการแผนงานย่อย | วันที่ 18 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการดำเนินโครงการแผนงานย่อยร่วมกับ สจรส. |
ได้ทราบรายละเอียดการดำเนินโครงการของแต่พื้นที่พร้อมกับการรายงานแผนการดำเนินงานครั้งต่อไป ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
เชิงแส ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน มิถุนายน 56 และวิเคราะห์เครื่องมือความมั่นคงทางอาหาร | วันที่ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน มิถุนายน 56 และวิเคราะห์เครื่องมือความมั่นคงทางอาหาร |
มีการประชุมร่วมกันกับทีม สจรส.ได้ข้อสรุปแผนงานและเครื่องมือในการทำงานต่อไป ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
เชิงแส กิจกรรมที่ 1.1 เวทีทำความเข้าใจคณะทำงาน | วันที่ 30 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00-12.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำแกนนำจากทั้ง 4 หมู่บ้านจำนวน 22 คนได้เข้าร่วมเวทีประชุมทำความเข้าใจปรึกษาหารือแนวทางการทำโครงการให้ประสบผลสำเร็จ |
มีการกำหนดปฏิทินการทำงานโครงการและผู้เข้าร่วมเวทีอาสาร่วมเป็นคณะทำงานจากทั้ง 4 หมู่บ้าน ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.วรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
เชิงแส กิจกรรมที่ 1.2-จัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจกับชุมชนในเรื่องเหตุผลที่ต้องจัดทำโครงการนี้ | วันที่ 16 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00-15.30 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำจัดเวทีประชุมทำความเข้าใจเรื่องโครงการ ในเวทีมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่หลากหลายจำนวน 190 คน ประกอบด้วยทั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน ตัวแทนจากเทศบาลจำนวน 5 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนและเด็ก - เยาวชน จำนวน 60 คน เกษตรกรที่ทำนาและเลี้ยงไก่จำนวน 40 คนและประชาชาชนที่สนใจทั่วไป |
-การประชาสัมพันธ์ุโครงการประสบผลสำเร็จ -ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจที่มาที่ไปและความสำคัญของการทำโครงการ ปัญหา/แนวทางแก้ไขการจัดประชุมในครั้งนี้ผู้ประสานงานโครงการได้ติดต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ เกษตรอำเภอและปศุสัตว์อำเภอแต่ทั้ง 2 ท่านไม่ได้มาร่วมเนื่องจากติดราชการซึ่งมีนวทางแก้ไขในครั้งต่อไปไม่เน้นหัวหน้าส่วนอย่างเดียวให้เป็นตัวแทนมาก็ได้ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เชิงแส 2.1 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน/เยาวชน จัดทำข้อมูลของทรัพยากร แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืดในพื้นที่ พันธุ์ไก่พื้นเมือง | วันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00-16.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมทั้งเด็ก-เยาวชน-แกนนำชุมชนสมาชิกเทศบาล-คณะกรรมการหมู่บ้านและคณะทำงาน จำนวน 50 คนโดยในช่วงเช้ามีการอธิบายถึงรายละเอียดและวิธีการเก็บข้อมูลและในช่วงบ่ายได้มีการลงพื้นที่จริงได้ข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องพันธ์ปลา แหล่งนำ้ธรรมชาติและพันธ์ไก่พื้นเมืองเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนออกแบบข้อมูลร่วมกันในครั้งต่อไป |
-ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจในวิธีการจัดเก็บข้อมูลและการทำแผนที่ทำมือในการจัดเก็บข้อมูล -ได้ข้อมูลเบื้องต้น เช่น พันธ์ปลา แหล่งนำที่มีในพื้นที่ และพันธ์ไก่ที่เลี้ยงในพื้นที่ ปัญหา/แนวทางแก้ไขนำข้อมูลที่ได้เบื้องต้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการร่วมกันออกแบบรายละเอียดแบบสำรวจข้อมูลในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน สิงหาคม 56 | วันที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน สิงหาคม 56 |
ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน สิงหาคม 56 ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
เวทีจัดทำข้อเสนอพื้นที่คุ้มครองพิเศษด้านการอนุรักษ์ด้านการเกษตร | วันที่ 18 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมจำนวน15 คน ประกอบด้วย ปลัดเทศบาลตำบลเชิลแส กำนัน ผูทรงคุณวุฒิในพื้นที่ คณะทำงานโครงการและทีมพี่เลี้ยงจาก สจรส.มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันหลากหลายจนสุดท้ายได้ข้อสรุปข้อเสนอพื้นที่คุ้มครองพิเศษด้านการอนุรักษ์ด้านการเกษตรของตำบลเชิงแสว่า ข้อเสนอพื้นที่คุ้มครองพิเศษด้านการอนุรักษ์ด้านการเกษตร
ร่างข้อเสนอพื้นที่คุ้มครองพิเศษด้านการอนุรักษ์ด้านการเกษตร |
ได้ร่างข้อเสนอด้านการเกษตรของตำบลเชิงแส ปัญหา/แนวทางแก้ไขเพื่อใชช้เป็นข้อมูลประกาศใช้ต่อไปในตำบล ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
เชิงแส 2.2 การวางกรอบงาน เครื่องมือสำหรับการจัดเก็บข้อมูลของทรัพยากร แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืดในพื้นที่ พันธุ์ไก่พื้นเมือง | วันที่ 20 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำเป็นเวทีร่วมคิดการเพ่ื่อออกแบบการทำงานร่วมกัน โดยมีการตกลงร่วมกันในการใช้วันอาทิตย์เป็นการทำงานเนื่องจากคณะทำงานส่วนใหญ่เป็นเยาวชนจะได้ไม่ส่งผลกระทบกับเวลาเรียน ร่วมกำหนดวันในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปในการที่จะลงสำรวจพื้นที่จริงโดยกำหนดเป็นวันที่ 25/8,1/9 และ 8/9 จำนวน 3 วันและได้ร่วมกันออกแบบการทำแผนที่ทำมือ แหล่งนำธรรมชาติ เช่น สายคลองเชิงแส - ป่าพรุฉิมพลี - พรุบัว บ่อล่อปลาส่วนบุคคล |
-ได้ วัน - เวลา ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป -ได้แบบฟอร์มการสำรวจ -คณะทำงานโดยเฉพาะเยาวชนได้เข้าใจบทบาทของตนเอง ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
เชิงแส 2.3 การปฏิบัติการเก็บรวบรวมข้อมูลของทรัพยากร แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืดในพื้นที่ พันธุ์ไก่พื้นเมือง | วันที่ 25 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำแบ่งการทำงานออกเป็น 3 วันวันที่ 1 (25/8)มีผู้เข้าร่วมจำนวน 22 คนประกอบด้วยคณะทำงาน 5 คน เยาวชนจำนวน 17 คน เริ่มกิจกรรมโดยการแบ่งผู้เข้าร่วมเป็น 3 กลุ่ม 1.กลุ่มปลาให้เขียนชื่อปลาในพื้นที่ที่ตนเองรู้จักพร้อมแหล่งที่อยู่อาศัย 2.กลุ่มแหล่งนำเขียนชื่อแหล่งนำและสถานที่ตั้งที่มีในแต่ละหมูบ้าน เช่น คู คลอง หนอง ป่าพรุ ฯลฯ 3. กลุ่มไก่ การเลี้ยงไก่ในพื้นที่มีสายพันธ์อะไรบ้าง โดยให้ทุกคนในกลุ่มได้ร่วมกันคิด เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด และให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอเพื่อแกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างกลุ่ม วันที่สอง(1/9) มีการลงสำรวจจริงในพื้นที่โดยให้เยาวชนจำนวน 17 คนจากทั้ง 4 หมู่บ้านซึ่งได้ตามไปเก็บรวบรวมข้อมูลและถ่ายภาพเก็บไว้ล่วงหน้าบ้างแล้วในเรื่องการจับปลาตามวิถีชีวิตตามฤดูกาลจับปลาก่อนถึงช่วงหน้าฝนและเข้าร่วมการปฏิบัติการจริงในการจับปลาในบ่อธรรมชาติเพื่อศึกษาพันธ์ปลาที่มีเพื่อจะได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไป วันที่สาม (8/9)เริ่มเจอกันจุดนัดแนะ ณ.ลานเอนกประสงค์วัดเชิงแสกลางโดยใช้จักระยานเป็นพาหนะในการสำรวจ มีการทำความเข้าใจร่วมกัน ออกแบบการเดินทางตามเส้นทางที่กำหนดตามแผนที่ ระหว่างทางมีการอธิบายถึงแหลงนำ-พันธ์ปลาและปัญหาที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ |
เด็กและเยาวชนได้รู้จักชนิดของพันธ์ปลาที่มีในพัื้นที่และได้เรียนรู้พันธ์ปลาที่กำลังจะสูญพันธ์ และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองที่จะต้องรณรงค์และรักษาทรัพยากรเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นแหล่งอาหารของคนเชิงแสต่อไปและได้รู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ของลำคลอง - ป่าพรุที่มีในพื้นที่ที่มีต่อชีวิตประจำวันของคนในตำบล ปัญหา/แนวทางแก้ไขการจับปลาในพื้นที่มักจะใช้เวลาสูบนำออกจากบ่อในเวลากลางคืนเพื่อจะได้จับปลาตอนเช้าๆ จะได้ทันไปขายตลาดตอนเช้า ซึ่งเป็นปัญหาของเยาวชนตื่นไม่ค่อยทันในการทำงานทำให้ถ่ายภาพได้น้อย ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร | วันที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำคืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร |
ได้คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร 500 บาท ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมคณะกรรมการโครงการร่วมกับ สจรส. | วันที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำประชุมคณะกรรมการโครงการร่วมกับ สจรส |
ได้ทราบการดำเนินงานของแต่ละโครงการ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
จัดทำรายงานโครงการงวดที่ 1 | วันที่ 5 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำปฏิบัติการจริงในการจัดทำรายงานงวดที่ 1 |
ได้รายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการงวดที่ 1 ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.คุณวรรณา สุวรรณชาตรี |
||||
เวทีเตรียมการจัดเวทีวิเคราะห์ข้อมูล | วันที่ 30 ตุลาคม 2556 เวลา 09:00-12.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีคณะทำงานเข้าร่วมเวทีจำนวน 8 คน ร่วมวางแผนเตรียมเวทีครั้งต่อไป |
ได้แผนงานในการทำงานครั้งต่อไป ซึ่งกำหนดในวันที่ 3 พ.ย. 56 นี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการลงสำรวจมาวิเคราะห์ร่วมกัน มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละด้าน เช่น การประสานงานผู้เข้าร่วมเวที ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เชิงแส 2.4 การวิเคราะห์ข้อมูลของทรัพยากร แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืดในพื้นที่ พันธุ์ไก่พื้นเมือง | วันที่ 3 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00 - 15.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมเวทีจำนวน 64 คน ประกอบด้วย ปลัดและสมาชิกเทศบาล ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข และคณะทำงาน ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่สำรวจ |
ได้ข้อสรุป จำนวนแหล่งน้ำที่เป็นพื้นที่เขตอนุรักษ์และขยายพันธ์ปลา มี 3 ลักษณะ - แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ( สาธารณะ ) ลำคลอง พรุฉิมพลี พรุบัว - แหล่งน้ำที่อยู่ในบริเวณวัดทั้ง 3 วัด ( วัดเอก – วัดเชิงแสใต้ – วัดเชิงแสกลาง ) - แหล่งน้ำส่วนบุคคล ( บ่อ – กระชัง – ร่องสวน ) จำนวน 46 บ่อ ชนิดของปลาพื้นเมืองที่ยังมีอยู่ - ปลาช่อน – ปลาชะโด – ปลาดุกนา – ปลาหมอ – ปลาฉลาด – ปลากระดี่ – ปลาตรับ – ปลาหางแดง – ปลาขี้ขม – ปลาไหล – ปลาลูกขาว – ปลาแขยง – ปลากด ชนิดพันธ์ปลาที่เกือบจะสูญพันธ์ - ปลาเนื้ออ่อน ชนิดพันธ์ปลาที่สูญพันธ์ไปแล้ว - ปลาหลด – ปลาทิง – ปลาพุงหิน – ปลาขี้ตัง พันธ์ปลาที่นำเข้ามาเลี้ยงในพื้นที่ - ปลานิล – ปลาจาระเม็ดน้ำจืด – ปลาสวาย – ปลาดุกอุย ปัญหา/แนวทางแก้ไขส่งเสริมให้คนในพืนที่ร่วมกันอนุรักษ์พันธ์ปลาโดยการประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนได้ตระหนักถึงเรื่องนี้มากๆ ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมคณะกรรมการร่วมกับ สจรส. | วันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำประชุมคณะกรรมการร่วมกับ สจรส. |
ได้ทราบการดำเนินงานของแต่ละโครงการ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เวทีเตรียมความพร้อมการจัดเวทีสาธารณะ | วันที่ 12 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำได้ตามแผนที่วางไว้โดยการเชิญแกนนำที่มีความรู้ - ความเข้าใจและมีจิตอาสามาร่วมออกแบบและวางแผนการจัดการความรู้ให้กับผู้เข้าร่วมเวทีซึ่งประกอบด้วย อาสาสมัครประมง คนหาปลา(ชาวนา)ตัวแทนจากเทศบาล(พัฒนาชุมชน)และคณะทำงาน |
จากการพูดคุยได้มีการกำหนดวันจ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เชิงแส 2.5 การนำเสนอในรูปแบบเอกสารของทรัพยากร แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืดในพื้นที่ พันธุ์ไก่พื้นเมือง | วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 180 คนประกอบด้วย ตัวแทนจากเทศบาล (ปลัดเทศบาล ผู้ชวยผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข ตัวแทนกลุ่มเก ษตรกรและคณะทำงาน |
ผู้เข้าร่วมเวที / ผู้มีส่วนได้สเสียและคณะทำงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เรื่องแหล่งนำ้ตามธรรมชาติและทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ตำบลเชิงแสและได้เข้าใจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตองคนในตำบลเชิงแส เช่น สาเหตุการลดลงและกำลังจะสูญพันธ์ของจำนวนพันธ์ปลาในบางชนิด เช่นปลาโอน ปลาหลด ซึ่งข้อมูลจากการวิเคราะห์จากเวที่ก่อนๆและทุกคนเห็นร่วมกัน สาเหตุหลักๆก็คือ การจับปลาโดยการช๊อตด้วยแระแสไฟฟ้า การจับปลาในฤดูวางไข่่ การใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงอย่างต่อเนื่องในการทำการเกษตร ปัญหา/แนวทางแก้ไขหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ค่อยมีเวลามาร่วมกิจกรรม ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เชิงแส การระดมความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชน เรื่อง แนวทางการอนุรักษ์-ขยายพันธุ์ปลา | วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกิจกรรมในว้นนี้ได้มีการจัดกิจกรรมย่อยในการจัดทำร่างกติกามาก่อนหน้านีี้แล้วจำนวน 4 กิจกรรมย่อยโดย 1.ฌ)เป็นเวทีให้กับเด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการเสนอร่างกติกา |
ได้กติกาฉบับร่าง คือ 1. ห้ามบุคคลภายนอกจับปลาที่เชิงแส 2.ห้ามใช้ไฟฟ้าช๊อตปลา 3.ห้ามวางยา 4.ห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ 5.ห้ามจับปลาในเขตอนุรักษ์ 6.มอบหมายให้กกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านดูแลรับผิดชอบในหมู่บ้านตนเอง 7.ให้เทศบาลจัดชุด อปพร.เฝ้าระวัง 8.ให้มีการลงโทษถ้าใครฝาฝืน 9.ห้ามนำเป็ดไล่ทุ่งลงเลี้ยงในนา 10.ลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรเพราะทำให้ปลาสูญพันธ์ 11.ขยายเขตอนุรักษ์พันธ์ให้มากขึ้น ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เชิงแส เวทีประชาพิจารณ์ร่างกติกาแนวทางการอนุรักษ์-ขยายพันธุ์ปลา | วันที่ 4 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมตามเป้าหมายที่วางไว้ คือมีทั้งตัวแทนจาก เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์ และจากทางเทศบาล คณะทำงานและบุคคลทั่วไป โดยคณทำงานได้นำร่างกติกาที่ได้จากการระดมความคิดเห็นจากครั้งที่แล้ว คือ 1. ห้ามบุคคลภายนอกจับปลาที่เชิงแส 2.ห้ามใช้ไฟฟ้าช๊อตปลา 3.ห้ามวางยา 4.ห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ 5.ห้ามจับปลาในเขตอนุรักษ์ 6.มอบหมายให้กกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านดูแลรับผิดชอบในหมู่บ้านตนเอง 7.ให้เทศบาลจัดชุด อปพร.เฝ้าระวัง 8.ให้มีการลงโทษถ้าใครฝาฝืน 9.ห้ามนำเป็ดไล่ทุ่งลงเลี้ยงในนา 10.ลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรเพราะทำให้ปลาสูญพันธ์ 11.ขยายเขตอนุรักษ์พันธ์ให้มากขึ้น ให้ทุกคนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อทบทวนหาข้อสรุปในการจัดทำกติกา ซึ่งหลายๆคนก็ได้ท้วงติงในบางข้อที่เห็นว่าไม่สามารจะทำได้ เช่น การห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ หรือการห้มบุคคลภายนอกพื้นที่เข้ามาจับปลา มีการถกเถียงกัน้างแต่ก็หาข้อสรุปได้ โดยนายโกวิทย์ ทะลิทอง กำนันตำบลเชิงแสให้ที่ประชุมช่วยสรุปความคิดเห็นว่าจะใช้กติกาข้อไหนบ้าง ให้เลือกมาเพื่อที่คณะทำงานจะได้จัดเป็นแผ่นไวนิวไปติดประกาศตามสถานที่ต่างๆที่จะประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ ซึ่งที่ประชุมได้คัดเลือกเพียง 4 ข้อที่เห็นว่าสามารถจะทำได้ คือ 1.ห้ามจับปลาในเขตอนุรักษ์และขยายพันธ์ปล 2.ห้ามบุคคลภายนอกเขต อ.กระแสสินธ์เข้ามาจับปลา 3.ห้ามใช้อุกรณ์ไฟฟ้าช๊อตและวางยาในการจับปลา 4.ผู้ใดฝ่าฝืนปรับเป็นเงิน 5,000 บาทนำเงินเข้า กองทุนพัฒนาตำบล ซึ่งทุกคนเห็นด้วยและยอมรับเป็นกติการ่วมกัน ที่ประชุมมอบหมายให้คณะทำงานจัดทำเป็นแผ่นไวนิวจำนวน 10 แผ่นไปติดประกาศตามแหล่งนำสาธารณะทั่วไป |
ได้กติกาการอนุรักษ์-ขยายพันธุ์ปลา ของชุมช คือ 1.ห้ามจับปลาในเขตอนุรักษ์และขยายพันธ์ปล 2.ห้ามบุคคลภายนอกเขต อ.กระแสสินธ์เข้ามาจับปลา 3.ห้ามใช้อุกรณ์ไฟฟ้าช๊อตและวางยาในการจับปลา 4.ผู้ใดฝ่าฝืนปรับเป็นเงิน 5,000 บาทนำเงินเข้า กองทุนพัฒนาตำบล ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ประชุมคณะกรรมการโครงการร่วมกับ สจรส. | วันที่ 21 ธันวาคม 2556 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำประชุมคณะกรรมการโครงการ |
ได้ทราบการดำเนินงานของแต่ละโครงการ ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เชิงแส การประกาศเป็นกติกาชุมชนด้านการอนุรักษ์-ขยายพันธุ์ปลา | วันที่ 5 มกราคม 2557 เวลา 09:00 - 14.30 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำวันพฤหัสสบดีที่ 5 มกราคม 2557 เริ่มเวลา 9.00 น.ที่ลานเอนกประสงค์วัดเชิงแสกลาง ซึ่งเปฟ้น วัน เวลา และสถานที่ ที่คณะทำงานโครงการนัดหมายกับกลุ่มเป้าหมายไว้ในการจัดเวทีเพื่อประกาศการใช้กติกาการอนุรักษ์และขยายพันธ์ปลาของตำบลเชิงแส มีผู้เข้าร่วมตามเป้าหมายทั้งคณะทำงาน เยาวชน เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา ทำนา เลี้ยงไก่ และประชาชนท่ไป ขณะที่กำลังจะเริ่มกิจกรรม ก็มีผู้เข้าร่วมประชุมท่านหนึ่ง คุณจรูญ นัครามนตรีเสนอว่าก่อนที่จะพูดในกิจกรรมของโครงการ น่าจะมีการพูดถึงสถานการณ์บ้านเมืองบ้าง เพราะขณะนี้กำลังได้รับความสนใจและบางคนก็ยังไม่ทราบข้อมูล ทำไมไม่มีการทำเวที กปปส. ในบ้านเราบ้าง เพื่อเป็นการกระจายข่าวสารให้กับคนในพื้นที่ ซึ่งผู้เข้าร่วมในเวทีหลายคนก็เห็นด้วยเนื่องจากเป็นประเด็นร้อนที่ทุกคนสนใจ น่าจะมีการวิเคราะห์เรื่องนี้ก่อน คุณอัษฎา บุษบวค์ คณะทำงานโครงการ ได้ให้ความเห็นว่า จริงๆแล้วทั้ง 2 เรื่องมีความสำคัญพอๆกัน แต่วัตถุประสงค์ของการจัดทำเวทีในวันนี้ การประกาศใช้กติกาของตำบลเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารเป้นเรื่องปากท้องของพวกเรา ส่วนเรื่อง กปปส. ก็เป็นเรื่องของพวกเราเหมือนกัน เพราะฉนั้นในวันนี้เราจะให้ความสำคัญทั้ง 2 เรื่องพอกัน แต่จะขอเร่ิมในเรื่องที่เป็นวัตถุประสงค์ของวันนี้ก่อน คือการประกาศการใช้กติกาการอนุรักษ์และขยายพันธ์ปลาก่อน ซึ่งเป็นกติกาที่พวกเราได้ช่วยกันร่าง ได้ช่วยกันระดมความคิดเห็นมาหลายๆเวที และโครงการรู้สึกดีใจมากที่มี เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมาตลอดตั้งแต่การสำรวจพันธ์ปลา สำรวจแหล่งนำ้ และร่วมกันออกแบบกำหนดกติกาและช่วยประชาสัมพันธ์โดยรถประชาสัมพันธ์ ทุกคนในเวทีเห็นด้วยกับการประาศใช้กติกา เนื่องจากการทำกิจกรรมของโครงการได้มรการทำมาอย่างต่อเนื่อง และในแต่ละครั้งก็มีการประชาสัมพันธ์ทั้งแผ่นไวนิล และการประชาสัมพันธ์ด้วยรถแห่ และที่สำคัญการบอกกันปากต่อปากถึงเป้าหมายของการทำโครงการนี้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร (ปลานำ้จืด) การจัดเวทีในวันนี้เป็นการยืนยันถึงการร่วมมือของคนในตำบลเชิงแสที่พร้อมใจกันเพื่อการ ปกป้อง -คุ้มครอง พันธ์ปลาเอาไว้เป็นแหล่งอาหารของคนในตำบลเชิงแส จึงพร้อมใจกันยอมรับกติกานี้ด้วยความเต็มใจ ในช่วงบ่าย ได้มีการพูดคุยเรื่องการบ้านการเมืองตามคำเรียกร้องของผู้เข้าร่วมเวที มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยมีผู้ที่เคยไปร่วมร่วมเวที กปปส. ที่กรุงเทพ ได้ร่วมเล่าประสบการณ์ เวทีการพุดคุยค่อนข้างดุเดือดพอสมควร แต่คณะทำงานก็พยายามควบคุมในเวทีเพื่อไม่ให้ทุกคนมีอารมย์มากเกินไปเพราะกลัวการขัดแย้งเนื่องจากมีหลายคนในเวทีที่เคยไปร่วมเวทีที่ราชดำเนิน เวทีวันนี้เลยเลิกเร็วขึ้น เพราะกลัวกระทบกับกิจกรรมของโครงการในวันนี้ซึ่งผ่านไปด้วยดี |
คนในชุมชนยอมรับในกติกาการอนุรักษ์และขยายพันธ์ปลาที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกคน ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เชิงแส การรับสมัครแกนนำชาวนาที่จะเข้าร่วม จำนวน 100 คน และพัฒนาศักยภาพให้สามารถผลิตข้าวอินทรีย์ จำนวน 1,000 ไร่ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นาข้าวอินทรีย์พันธุ์ข้าวตลาด และนาข้าวอินทรีย์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง | วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00-16.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 120 คน เปิดเวทีทำความเข้าใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการทำนาอินทรีย์โดยการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ แต่ถือว่าว่ายังไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเนื่องจากมีผ็สนใจเข้าร่วมกิจกรรมน้อย |
มีผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการทำนาอินทรีย์จำนวน 22 รายส่วนคนที่ยังไม่เข้าร่วมให้เหตุผลว่า การทำนาอินทรีย์ไม่ทันใจ ได้ผลผลิิตช้า ขาดวัตถุดิบในการทำปุ๋ยอินทรีย์ไม่สะดวกในการใช้ปุ๋ย ไม่มีเวลาทำปุ๋ย มีความเห็นว่าไม่เหมาะในการทำนา 2 ครั้ง ปัญหา/แนวทางแก้ไข
ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เชิงแส กำหนดกติกาการเข้าร่วมปลูกนาข้าวอินทรีย์ พร้อมวางแผนการผลิตนาข้าวอินทรีย์ | วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09:00-16.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำมีสมาชิกเกษตรกรที่มีไร่นาสวนผสม เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาเข้าร่วมจำนวน 116 คน แต่ได้คนที่เป็นตัวจริง(เคยทำนาอินทรีย์มาแล้วและพร้อมที่จำร่วมในการทำเป็นต้นแบบเพื่อขยายพื้นที่การทำนาอินทรีย์ต่อไปจำนวน 22 รายและร่วมกันกำหนดกติกาในการทำนาอิยทรีย์ร่วมกัน |
ได้กติกาการทำนาอินทรีย์ร่วมกันโด-ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ต้องใช้วุตถุดิบที่มีในหมู่บ้านตำบลเชิงแส -ใช้พันธ์ข้าวพื้นเมืองเพื่อกรอนุรักษ์(ถ้าเป็นไปได้) -ข้าวที่ได้ต้องเก็บไว้บริโภคให้เพียงพอในครอบครัวตนเองก่อน -เก็บพันธ์ข้าวไว้เข้าธนาคารเมล็ดพันธ์ครั้งละ 50 กิโลกรัม/ฤดูกาลทำนา -ข้าวที่ได้สำหรับจำหน่ายในตำบลให้เพียงพอก่อน ปัญหา/แนวทางแก้ไขพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไป ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
เตรียมงานอุทยานอาหาร มอ. | วันที่ 18 มีนาคม 2557 เวลา 09:00-18.00 น.ลักษณะกิจกรรมที่ทำพื้นที่เครือข่ายจัดเตรียมพื้นที่และแปลงสาธิตการทำนาตัวอย่างในงานอุทยานอาหารเพื่อนำเสนอผลงาน |
-สามารถประชาสัมพันธ์โครงการได้ในระดับหนึ่ง -ได้รับความร่วมมือจากพื้นที่เครือข่ายดีมาก -มีข้อเสนอเพื่อนำเสนอต่อหน่วยงาน (อบจ.)และผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา -ตำบลเชิงแสได้ผู้นำรุ่นใหม่ (เยาวชน) -ยกระดับความสามัคคีในกลุ่มมากขึ้น -คนเชิงแสภูมิใจที่ได้เสนอผลงานนอกพื้นที่ -ได้ประชาสัมพันธ์ผลงานและกิจกรรมในตำบลเชิงแส ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
สรุปรายงานตลอดโครงการ | วันที่ 30 พฤษภาคม 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำสรุปรายงานตลอดโครงการจำนวน 24 กิจกรรม |
ได้รายงานความก้าวหน้าของกิจกรรมในโครงการตลอดโครงการจำนวน 24 กิจกรรม ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |
||||
ส่งเอกสารการเงิน | วันที่ 11 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00ลักษณะกิจกรรมที่ทำ- |
- ปัญหา/แนวทางแก้ไข- ข้อเสนอแนะต่อ สสส.- ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.- ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.- |