การปฏิบัติการชุมชนและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหาร ต.เชิงแส อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา

แผนงานความมั่นคงด้านอาหาร

by sureerat @May,18 2013 11.12 ( IP : 182...15 )

รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 56-0-008
งวดที่ 1

แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ (ส.1)

วันที่รายงาน : 30 กันยายน 2556

1. ชื่อโครงการ การปฏิบัติการชุมชนและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านความมั่นคงทางอาหาร ต.เชิงแส อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา

2. รหัสโครงการ รหัสสัญญา 56-0-008 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2556 - 30 เมษายน 2557

3. รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน 1 พฤษภาคม 2556 ถึงเดือน 30 กันยายน 2556

4. ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายของงวดที่รายงาน)

กิจกรรมผลงาน
(ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี)
ผลสรุปที่สำคัญประเมินผล คุณภาพกิจกรรม
4321
1. ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการดำเนินโครงการแผนงานย่อย

วันที่ 18 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานความก้าวหน้าในการจัดทำโครงการและร่วมกันแก้ไขปัญหาการทำโครงการ

ลักษณะกิจกรรม

ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการดำเนินโครงการแผนงานย่อยร่วมกับ สจรส.

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการดำเนินโครงการแผนงานย่อย

ผลที่เกิดขึ้น

ได้ทราบรายละเอียดการดำเนินโครงการของแต่พื้นที่พร้อมกับการรายงานแผนการดำเนินงานครั้งต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

คุณวรรณา สุวรรณชาตรี

2. เชิงแส ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน มิถุนายน 56 และวิเคราะห์เครื่องมือความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

ประชุมประจำเดือนและร่วมกันวิเคราะห์เครื่องมือความมั่คงทางอาหาร

ลักษณะกิจกรรม

ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน มิถุนายน 56 และวิเคราะห์เครื่องมือความมั่นคงทางอาหาร

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน มิถุนายน 56 และวิเคราะห์เครื่องมือความมั่นคงทางอาหาร

ผลที่เกิดขึ้น

มีการประชุมร่วมกันกับทีม สจรส.ได้ข้อสรุปแผนงานและเครื่องมือในการทำงานต่อไป

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

คุณวรรณา สุวรรณชาตรี

3. เชิงแส กิจกรรมที่ 1.1 เวทีทำความเข้าใจคณะทำงาน

วันที่ 30 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00-12.00 น.

วัตถุประสงค์

เพื่อให้คณะทำงานมีความเข้าใจในสาเหตุของการทำโครงการ

ลักษณะกิจกรรม

แกนนำจากทั้ง 4 หมู่บ้านจำนวน 22 คนได้เข้าร่วมเวทีประชุมทำความเข้าใจปรึกษาหารือแนวทางการทำโครงการให้ประสบผลสำเร็จ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

จัดเวทีประชุมทำความเข้าใจกิจกรรมโครงการแกนนำทั้ง 4 หมู่บ้าน

ผลที่เกิดขึ้น

มีการกำหนดปฏิทินการทำงานโครงการและผู้เข้าร่วมเวทีอาสาร่วมเป็นคณะทำงานจากทั้ง  4 หมู่บ้าน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

วรรณา สุวรรณชาตรี

  • photo
  • photo
  • photo
4. เชิงแส กิจกรรมที่ 1.2-จัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจกับชุมชนในเรื่องเหตุผลที่ต้องจัดทำโครงการนี้

วันที่ 16 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00-15.30 น.

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ประชาชนตำบลเชิงแสรับทราย - เข้าใจและเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ 2.เพื่อให้ประชาชนตำบลเชิงแสได้รับรู้ถึงประโยชน์ของการทำโครงการที่มีต่อครอบครัวและชุมชน 3.เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงเหตุผลของการทำโครงการ ทำแล้วได้อะไร แก้ปัญหาอย่างไรบ้าง

ลักษณะกิจกรรม

จัดเวทีประชุมทำความเข้าใจเรื่องโครงการ ในเวทีมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่หลากหลายจำนวน 190 คน ประกอบด้วยทั้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน ตัวแทนจากเทศบาลจำนวน 5 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนและเด็ก - เยาวชน จำนวน 60 คน เกษตรกรที่ทำนาและเลี้ยงไก่จำนวน 40 คนและประชาชาชนที่สนใจทั่วไป

เป้าหมายที่ตั้งไว้

จัดเวที- บอกเล่าสถานการณ์ปัญหา แลกเปลี่ยนสถานการณ์ในอดีต / ปัจจุบัน - แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำนาเกษตรอินทรีย์(ทุ่งนาปลาคลัก)ในอดีตจากครูภูมิปัญญาในท้องถิ่น - ย้อนวิถีชีวิตในอดีต – เปรียบเทียบการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน -ด้านอาชีพ -ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร -สิ่งแวดล้อม/ดินฟ้าอากาศ/การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ -วิถีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับประเพณีวัฒนธรรม

ผลที่เกิดขึ้น

-การประชาสัมพันธ์ุโครงการประสบผลสำเร็จ -ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจที่มาที่ไปและความสำคัญของการทำโครงการ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การจัดประชุมในครั้งนี้ผู้ประสานงานโครงการได้ติดต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ เกษตรอำเภอและปศุสัตว์อำเภอแต่ทั้ง 2 ท่านไม่ได้มาร่วมเนื่องจากติดราชการซึ่งมีนวทางแก้ไขในครั้งต่อไปไม่เน้นหัวหน้าส่วนอย่างเดียวให้เป็นตัวแทนมาก็ได้

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
5. เชิงแส 2.1 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน/เยาวชน จัดทำข้อมูลของทรัพยากร แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืดในพื้นที่ พันธุ์ไก่พื้นเมือง

วันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์

เพื่อให้คณะทำงานมีความเข้าใจในรายละเอียดและวิธีการเก็บข้อมมูล

ลักษณะกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมทั้งเด็ก-เยาวชน-แกนนำชุมชนสมาชิกเทศบาล-คณะกรรมการหมู่บ้านและคณะทำงาน จำนวน 50 คนโดยในช่วงเช้ามีการอธิบายถึงรายละเอียดและวิธีการเก็บข้อมูลและในช่วงบ่ายได้มีการลงพื้นที่จริงได้ข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องพันธ์ปลา แหล่งนำ้ธรรมชาติและพันธ์ไก่พื้นเมืองเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนออกแบบข้อมูลร่วมกันในครั้งต่อไป

เป้าหมายที่ตั้งไว้

จัดหาคณะทำงานและ -จัดเวทีฝึกอบรมโดยวิทยากรกระบวนการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำแผนที่ทำมือเพื่อลงสำรวจจำนวนพันธ์ปลา พึชผักที่อยู่ในแหล่งน้ำ และพันธ์ไก่พื้นเมือง

ผลที่เกิดขึ้น

-ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจในวิธีการจัดเก็บข้อมูลและการทำแผนที่ทำมือในการจัดเก็บข้อมูล -ได้ข้อมูลเบื้องต้น เช่น พันธ์ปลา แหล่งนำที่มีในพื้นที่ และพันธ์ไก่ที่เลี้ยงในพื้นที่ 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

นำข้อมูลที่ได้เบื้องต้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการร่วมกันออกแบบรายละเอียดแบบสำรวจข้อมูลในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
6. ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน สิงหาคม 56

วันที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานความก้าวหน้าและร่วมกันแก้ไขปัญหาในการจัดทำโครงการ

ลักษณะกิจกรรม

ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน สิงหาคม 56

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน สิงหาคม 56

ผลที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานโครงการประจำเดือน สิงหาคม 56

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

คุณวรรณา สุวรรณชาตรี

7. เวทีจัดทำข้อเสนอพื้นที่คุ้มครองพิเศษด้านการอนุรักษ์ด้านการเกษตร

วันที่ 18 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำข้อเสนด้านการเกษตรของตำบลเชิงแส

ลักษณะกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมจำนวน15 คน ประกอบด้วย ปลัดเทศบาลตำบลเชิลแส กำนัน ผูทรงคุณวุฒิในพื้นที่ คณะทำงานโครงการและทีมพี่เลี้ยงจาก สจรส.มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันหลากหลายจนสุดท้ายได้ข้อสรุปข้อเสนอพื้นที่คุ้มครองพิเศษด้านการอนุรักษ์ด้านการเกษตรของตำบลเชิงแสว่า ข้อเสนอพื้นที่คุ้มครองพิเศษด้านการอนุรักษ์ด้านการเกษตร ร่างข้อเสนอพื้นที่คุ้มครองพิเศษด้านการอนุรักษ์ด้านการเกษตร








ข้อมูลพื้นฐาน 


ลักษณะเด่นของพื้นที่ตำบลเชิงแส คือ มีลำคลองขนาดใหญ่ (กว้างประมาณ 30 เมตร ความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร) ไหลผ่านกลางพื้นที่ มีบ่อน้ำตามธรรมชาติที่เป็นแหล่งปลาน้ำจืดจำนวนมาก สามารถทำนาได้ปีละ 3 ครั้ง โดยส่วนข้าวที่ปลูกกันโดยส่วนใหญ่ แบ่งได้เป็น 4 ชนิด คือ ชนิดแรก ข้าวพันธุ์เศรษฐกิจ (กข) ซึ่งเป็นข้าวโตเร็วอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90-120 วัน เกษตรกรในพื้นที่ปลูกเกือบ 100% ชนิดที่ 2 ข้าวหอมกุหลาบแดง ปลูกในช่วงนาปลัง เป็นข้าวของบริษัท  รับเมล็ดพันธุ์ปลูกฟรี แต่ต้องซื้อปุ๋ย และขายข้าวให้บริษัท มีการประกันราคาข้าว เป็นการปลูกเพื่อการส่งออก 100%    โดยบริษัทจะคัดเลือกเกษตรที่จะปลูกเอง ซึ่งมีปีละ 10 - 15 ราย ชนิดที่ 3 ข้าวหอมมะลิ ซึ่งในอดีตปลูกเกือบทุกครัวเรือนและได้ผลผลิตดี มีคุณภาพสูง แต่สภาพดินปัจจุบัน บวกกับปัญหาอื่น ๆ ปัจจุบันเหลือพื้นที่ปลูกแค่หมู่ที่ 2 ประมาณ 10 ราย และหมู่ที่ 3 และ 4 เพียงไม่กี่ราย ซึ่งพันธุ์ข้าวเป็นของชุมชนเอง ชนิดที่ 4 คือ ข้าวหอมนิล เน้นไว้ปลูกเพื่อการบริโภคเองในครัวเรือน ซึ่งมีอยู่ไม่กี่รายเช่นกัน


ปัญหาการทำนาอินทรีย์ในปัจจุบัน คือ มีปุ๋ยอินทรีย์ไม่พอใช้ รวมทั้งปุ๋ยมูลสัตว์ต่าง ๆ เนื่องจากตลาดผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเข้ามาแย่งซื้อ ดังนั้น หากจะเพิ่มพื้นที่การทำนาอินทรีย์ ต้องมีการฟื้นฟูโรงงานผลิตปุ๋ยที่มีอยู่แล้วในอำเภอให้สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการในอนาคต 


พื้นที่เคยสร้างข้อตกลงในเรื่อง การปลูกพืชผักสวนผสม โดยแต่ละบ้านต้องปลูกผักอย่างน้อย ครัวเรือนละ 3 ชนิด ซึ่งได้นำเข้าเป็นแผนของตำบลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีการปลูกกันเกือบทุกครัวเรือน แต่ปัญหาของพื้นที่คือ มีน้ำไม่เพียงพอ แม้จะมีคลองไหลผ่าน แต่ในฤดูแล้งน้ำจะแห้งมาก ต้องขุดลอกสันดอนทุกปี ส่วนฤดูฝนปริมาณน้ำจะมากเกินไป ท่วมเป็นประจำทุกปีกินเวลานานครั้งละ 2-3 เดือน


สถานการณ์ปัญหาเรื่อง การขาดแคลนพันธุ์ข้าวพื้นเมือง เนื่องจากขาดองค์ความรู้ในการเก็บรักษาพันธุ์ รวมทั้งขาดความใส่ใจในการเก็บเมล็ดพันธุ์ ปัจจุบันจึงมีการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นส่วนใหญ่ โดยค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวในแต่ละปีไม่ต่ำกว่าล้านบาท 


แนวทางการทำนาอินทรีย์ต้องเริ่มจากความสมัครใจของเกษตรกรเอง ส่วนการแยกน้ำสำหรับการทำนาอินทรีย์เพื่อไม่ให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีที่จะมากับน้ำคาดกันว่าจะสามารถทำได้ แต่เนื่องจากที่นาของอาสาสมัครแต่ละคนมีพื้นที่ไกลกัน อาจจะมีความลำบากอยู่บ้าง นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดสมาชิกปลูกข้าวอินทรีย์จำนวนมาก อาจต้องมีการใช้มาตรการสร้างแรงจูงใจ โดยผ่านช่องทางการเป็นสมาชิกกองทุนชุมชน ด้วยการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนต่าง ๆ ทางการเกษตร แก่สมาชิกที่ร่วมอาสาทำนาอินทรีย์ และอาจลดการช่วยเหลือสำหรับสมาชิกที่ไม่ให้ความร่วมมือ


ข้อเสนอเกี่ยวกับการคุ้มครองและอนุรักษ์พื้นที่ทางการเกษตรของพื้นที่ตำบลเชิงแส มีดังนี้


1.ให้จังหวัดสงขลาออกกฎระเบียบประกาศให้พื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ รายละเอียดตามแผนที่แนบท้ายร่างข้อเสนอ


2.ให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา เทศบาลตำบลเชิงแส เกษตรกรในพื้นที่ตำบลเชิงแสร่วมกันจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ เพื่อทำหน้าที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง รวมรวมข้อมูลพันธุ์ข้าวและการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา


3.ให้สำนักงานเกษตรอำเภอกระแสสินธ์ ผู้นำองค์กรปรครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ส่งเสริมให้เกษตรกรทำนาใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทำนาปีเน้นให้เป็นชนิดปุ๋ยชีวภาพ 100% 


4. ให้สำนักงานเกษตรอำเภอกระแสสินธ์ ร่วมกับพัฒนาชุมชนอำเภอ องค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ แม้คนในชุมชนพอจะมีความรู้ แต่ยังต้องการองค์ความรู้ใหม่ ๆ เช่น การใช้ปุ๋ย เทคนิคการทำนาแบบใหม่ ๆ การตรวจสอบคุณภาพดิน การกำจัดศัตรูพืชแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


5. ให้เทศบาลตำบลเชิงแส ผู้นำชุมชนมีมาตรการส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนปลูกผักอินทรีย์ไว้กินเอง


6. ให้จังหวัดประกาศให้แหล่งน้ำตามธรรมชาติซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ อันประกอบด้วย ป่าพรุ ป่าชายเลน เป็นเขตคุ้มครองพันธุ์ปลาน้ำจืดพื้นเมือง โดยกำหนดช่วงห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ และอาจห้ามบุคคลภายนอกเข้ามาจับปลาในพื้นที่คุ้มครองและให้กรมประมงสนับสนุนพันธุ์ปลาน้ำจืดมาปล่อยเพิ่มเติมในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

จัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อเสนอพื้นที่คุ้มครองพิเศษด้านการอนุรักษ์ด้านการเกษตร

ผลที่เกิดขึ้น

ได้ร่างข้อเสนอด้านการเกษตรของตำบลเชิงแส

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เพื่อใชช้เป็นข้อมูลประกาศใช้ต่อไปในตำบล

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

คุณวรรณา สุวรรณชาตรี

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
8. เชิงแส 2.2 การวางกรอบงาน เครื่องมือสำหรับการจัดเก็บข้อมูลของทรัพยากร แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืดในพื้นที่ พันธุ์ไก่พื้นเมือง

วันที่ 20 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อวางกรอบงาน เครื่องมือสำหรับการจัดเก็บข้อมูลแผนที่ของทรัพยากร แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืดในพื้นที่ พันธุ์ไก่พื้นเมือง

ลักษณะกิจกรรม

เป็นเวทีร่วมคิดการเพ่ื่อออกแบบการทำงานร่วมกัน โดยมีการตกลงร่วมกันในการใช้วันอาทิตย์เป็นการทำงานเนื่องจากคณะทำงานส่วนใหญ่เป็นเยาวชนจะได้ไม่ส่งผลกระทบกับเวลาเรียน ร่วมกำหนดวันในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปในการที่จะลงสำรวจพื้นที่จริงโดยกำหนดเป็นวันที่ 25/8,1/9 และ 8/9 จำนวน 3 วันและได้ร่วมกันออกแบบการทำแผนที่ทำมือ แหล่งนำธรรมชาติ เช่น สายคลองเชิงแส - ป่าพรุฉิมพลี - พรุบัว บ่อล่อปลาส่วนบุคคล

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมเพื่อระดมความคิดออกแบบฟอร์มเป็น เครื่องมือสำหรับการจัดเก็บข้อมูลแผนที่ของทรัพยากร แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืดในพื้นที่ พันธุ์ไก่พื้นเมือง

ผลที่เกิดขึ้น

-ได้ วัน - เวลา ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป -ได้แบบฟอร์มการสำรวจ -คณะทำงานโดยเฉพาะเยาวชนได้เข้าใจบทบาทของตนเอง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

คุณวรรณา สุวรรณชาตรี

  • photo
  • photo
9. เชิงแส 2.3 การปฏิบัติการเก็บรวบรวมข้อมูลของทรัพยากร แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืดในพื้นที่ พันธุ์ไก่พื้นเมือง

วันที่ 25 สิงหาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อทดสอบความรู้เบื้องต้นของคณะทำงานเด็กและเยาวชนซึ่งต่อไปจะได้ร้จักวิธีการทำงานร่วมกันและเป็นการจุดประกายให้เด็กเห็นความสำคัญของทรัพยากร นำ-ปลา-ไก่พื้นเมืองในพื้นที่ท่ีกำลังจะสูญพันธ์ไปถ้าไม่ช่วยกันรักษาไว้

ลักษณะกิจกรรม

แบ่งการทำงานออกเป็น 3 วันวันที่ 1 (25/8)มีผู้เข้าร่วมจำนวน 22 คนประกอบด้วยคณะทำงาน 5 คน เยาวชนจำนวน 17 คน เริ่มกิจกรรมโดยการแบ่งผู้เข้าร่วมเป็น 3 กลุ่ม 1.กลุ่มปลาให้เขียนชื่อปลาในพื้นที่ที่ตนเองรู้จักพร้อมแหล่งที่อยู่อาศัย  2.กลุ่มแหล่งนำเขียนชื่อแหล่งนำและสถานที่ตั้งที่มีในแต่ละหมูบ้าน เช่น คู คลอง หนอง ป่าพรุ ฯลฯ 3. กลุ่มไก่ การเลี้ยงไก่ในพื้นที่มีสายพันธ์อะไรบ้าง โดยให้ทุกคนในกลุ่มได้ร่วมกันคิด เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด และให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอเพื่อแกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างกลุ่ม วันที่สอง(1/9) มีการลงสำรวจจริงในพื้นที่โดยให้เยาวชนจำนวน 17 คนจากทั้ง 4 หมู่บ้านซึ่งได้ตามไปเก็บรวบรวมข้อมูลและถ่ายภาพเก็บไว้ล่วงหน้าบ้างแล้วในเรื่องการจับปลาตามวิถีชีวิตตามฤดูกาลจับปลาก่อนถึงช่วงหน้าฝนและเข้าร่วมการปฏิบัติการจริงในการจับปลาในบ่อธรรมชาติเพื่อศึกษาพันธ์ปลาที่มีเพื่อจะได้นำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไป วันที่สาม (8/9)เริ่มเจอกันจุดนัดแนะ ณ.ลานเอนกประสงค์วัดเชิงแสกลางโดยใช้จักระยานเป็นพาหนะในการสำรวจ มีการทำความเข้าใจร่วมกัน ออกแบบการเดินทางตามเส้นทางที่กำหนดตามแผนที่ ระหว่างทางมีการอธิบายถึงแหลงนำ-พันธ์ปลาและปัญหาที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

เป้าหมายที่ตั้งไว้

การปฏิบัติการเก็บรวบรวมข้อมูลของทรัพยากร แหล่งน้ำตามธรรมชาติ พันธุ์ปลาน้ำจืดในพื้นที่ พันธุ์ไก่พื้นเมืองจำนวน 3 วันเป็นกิจกรรมต่อเนื่องที่ได้มีการนัดหมายกันไว้ล่วงหน้าโดยการใช้วันอาทิตย์เป็นวันทำงานเพื่อเยาวชนจะได้ใช้เวลาในวันหยุดทำงาน

ผลที่เกิดขึ้น

เด็กและเยาวชนได้รู้จักชนิดของพันธ์ปลาที่มีในพัื้นที่และได้เรียนรู้พันธ์ปลาที่กำลังจะสูญพันธ์ และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองที่จะต้องรณรงค์และรักษาทรัพยากรเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นแหล่งอาหารของคนเชิงแสต่อไปและได้รู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ของลำคลอง - ป่าพรุที่มีในพื้นที่ที่มีต่อชีวิตประจำวันของคนในตำบล

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การจับปลาในพื้นที่มักจะใช้เวลาสูบนำออกจากบ่อในเวลากลางคืนเพื่อจะได้จับปลาตอนเช้าๆ จะได้ทันไปขายตลาดตอนเช้า ซึ่งเป็นปัญหาของเยาวชนตื่นไม่ค่อยทันในการทำงานทำให้ถ่ายภาพได้น้อย

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

คุณวรรณา สุวรรณชาตรี

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
10. คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อคืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

ลักษณะกิจกรรม

คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

เป้าหมายที่ตั้งไว้

คืนเงินค่าเปิดบัญชี 500 บาท

ผลที่เกิดขึ้น

ได้คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร 500 บาท

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

-

11. ประชุมคณะกรรมการโครงการร่วมกับ สจรส.

วันที่ 20 กันยายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานความก้าวหน้าและวางแผนการดำเนินงานครั้งต่อไป

ลักษณะกิจกรรม

ประชุมคณะกรรมการโครงการร่วมกับ สจรส

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมคณะกรรมการโครงการร่วมกับ สจรส

ผลที่เกิดขึ้น

ได้ทราบการดำเนินงานของแต่ละโครงการ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

คุณวรรณา สุวรรณชาตรี

หมายเหตุ ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม กรุณาระบุเนื้อหา/ข้อสรุปสำคัญต่าง ๆ จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้ เช่น ความรู้ กลุ่มแกนนำ แผนงานต่าง ๆ และผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง (ซึ่งจะทราบได้จากการติดตามประเมินผลของโครงการ)

ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม ให้ใส่เครื่องหมาย / ในช่องคะแนนโดยที่คะแนน 4=บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย 3=บรรลุผลตามเป้าหมาย 2=เกือบได้ตามเป้าหมาย 1=ได้น้อยกว่าเป้าหมายมาก

5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

-

6. แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

ตามแผนงานเดิมที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ

มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ ระบุกิจกรรม/รายละเอียดที่จะปรับเปลี่ยน และระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน

 

7. ประเมินสถานการณ์โดยภาพรวมของโครงการ

สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนได้

ล่าช้ากว่าแผน กรุณาให้แนวทางแก้ไขปรับปรุง (สรุปเป็นข้อ)

 

8. ข้อคิดเห็นอื่น ๆ