โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน จ.สงขลา

แผนงานอาหารปลอดภัย

by สมาคมผู้บริโภคสงขลา @May,18 2013 11.11 ( IP : 202...1 )

รหัสโครงการ
สัญญาเลขที่ 56-ข-012
งวดที่ 1

แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ (ส.1)

วันที่รายงาน : 5 ตุลาคม 2556

1. ชื่อโครงการ โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารภาคประชาชน จ.สงขลา

2. รหัสโครงการ รหัสสัญญา 56-ข-012 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2556 - 30 เมษายน 2557

3. รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน 1 พฤษภาคม 2556 ถึงเดือน 30 กันยายน 2556

4. ความก้าวหน้าโครงการ (เมื่อเทียบกับแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ และผลการดำเนินงานจนถึงวันสุดท้ายของงวดที่รายงาน)

กิจกรรมผลงาน
(ระบุวัน เวลา ลักษณะกิจกรรมที่ทำ จำนวนคน และภาคี)
ผลสรุปที่สำคัญประเมินผล คุณภาพกิจกรรม
4321
1. เผยแพร่ข้อมูลอาหารปลอดภัย...ผ่านการจัดรายการวิทยุ "ตลาดนัดผู้บริโภค" ตอนตอน “ green market ตลาดสีเขียวสำหรับผู้บริโภค ”

วันที่ 11 พฤษภาคม 2556 เวลา 06:00

วัตถุประสงค์

เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความปลอดภัยของอาหารให้ผู้บริโภคได้ทราบผ่าช่องทางที่หลากหลาย

ลักษณะกิจกรรม

จัดรายการวิยุ "รายการตลาดนัดผู้บริโภค" วลา 06.00-07.00น. โดยวันที่ 11 พ.ค.จัดในตอน “  green market  ตลาดสีเขียวสำหรับผู้บริโภค ”  ซึ่งเป็นการนำเสนอรูปแบบตลาดทางเลือกสำหรับผู้บริโภค  ให้เห็นความหลากหลายและผู้บริโภคสามารถเลือกและมีส่วนร่วมสร้าง ตลาดสีเขียวได้

เป้าหมายที่ตั้งไว้

จัดรายการวิทยุ รายการตลาดนัดผู้บริโภคทุกวันเสาร์ เวลา 06.00-07.00 น.

ผลที่เกิดขึ้น

มีการจัดรายการวิทยุเพื่อแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาหารปลอดภัย อย่างต่อเนื่องสู่สาธารณะ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

 

2. ประชุมคณะทำงานโครงการบูรณาการอาหาร

วันที่ 18 พฤษภาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้่าใจแผนงานโครงการ และระบบการรายงาน

ลักษณะกิจกรรม

ประชุมคณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจแผนงานและกิจกรรมโครงการและระบบรายงาน  ระบบสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมคณะทำงานโครงการ

ผลที่เกิดขึ้น

เกิดควาทเข้าใจต่อแผนงานโครงการร่วมกัน และระบบการจัดทำงานงานการประสานงานของโครงการ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังไม่เกิดความเข้าใจต่อแผนงานร่วมกันทั้งหมด  ยังมีการทำงานแบบแยกส่นแยกประเด็น  ไม่ได้มีการบูรณาการกันอย่างแท้จริง  ต้องมีการจัดกระบวนการในการประชุมทำความเข้าใจแผนงานร่วมกันเพื่อให้เห็นเป้าร่วมเดียวกัน

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

 

3. ประชุมคณะทำงานโครงการบูรณาการอาหาร

วันที่ 15 มิถุนายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อติตามการดำเนินงานของแผนงานและโครงการ

ลักษณะกิจกรรม

ประชุมติดตามการทำงานของแต่ละพื้นที่

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมติดตามการทำงานของแต่ละพื้นที่

ผลที่เกิดขึ้น

มีการรายงานผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการ  เพื่อแลกเปลี่ยนและติดตามการทำงานร่วมกัน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

 

4. ประชุมคณะทำงานโครงการบูรณาการอาหาร

วันที่ 10 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมคณะกรรมการโครงการบูรณาการอาหาร

ลักษณะกิจกรรม

มีการประชุมคณะกรรมการบูรณาการอาหาร ที่ห้องประชุมสจรส.มอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ประชุมคณะกรรมการโครงการติดตามการทำงานและแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกัน

ผลที่เกิดขึ้น

เกิดการประชุมนำเสนอและแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานของแต่ละแผนงาน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

 

5. ประชุมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาและผลการเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย

วันที่ 17 กรกฎาคม 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหารในพื้นที่  ตลอดจนผลการเฝ้าระวัง

ลักษณะกิจกรรม

มีการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์อาหารปลอดภัยในพื้นที่ในวันที่ 17 ก.ค. 2556 ผู้เข้าร่วมจำนวน 40 คน  ณ ห้องประชุม  สสว.12 ต.เกาะยอ  อ.เมือง จ.สงขลา  มีผู้เข้าร่วมมาจาก 13  อำเภอ จาก 16 อำเภอ    และมีการจัดตั้งกลไกเฝ้าระวังในระดับอำเภอ  รวมถึงแลกเปลี่ยนเรื่องกรอบในการเฝ้าระวังในพื้นที่

เป้าหมายที่ตั้งไว้

มีการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาอาหารไม่ปลอดภัยในพื้นที่

ผลที่เกิดขึ้น

มีการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาอาหารปลอดภัยในพื้นที่ทำให้อาสาสมัครเห็นว่าเรื่องอาหารเป็นเรื่องใกล้ตัวและมีความสำคัญมาก  ในพื้นที่ก็มีปัญหาอย่างมาก  โดยเฉพาะการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อหวังว่าจะรักษษโรค นอกจากนั้นมีการวางกรอบแนวทางในการเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในพื้นที่ร่วมแผนงานร่วมกัน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

อาสาสมัครหลายอำเภอเป็นกลไกใหม่ที่เพิ่งจะมาร่วมงานกัน  จึงยังเน้นกระบวนการเรียนรู้สร้างความเข้าใจร่วมกันกับสมาคม  และอาสาสมัครในแต่ละอำ

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

 

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
6. เผยแพร่ข้อมูลอาหารปลอดภัย...ผ่านการจัดรายการวิทยุตลาดนัดผู้บริโภค ตอน “ ทะเลสีดำ...น้ำมันรั่ว ทำลายมากกว่าที่เห็น ”

วันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 07:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัยสู่สาธารณะ 2. เพื่อผลิตสื่อที่เกี่ยวข้องเผยแพร่ในพื้นที่

ลักษณะกิจกรรม

จัดรายการวิทยุ รายการตลาดนัดผู้บริโภค วันที่ 3 ส.ค.56 ตอน....“ ทะเลสีดำ...น้ำมันรั่ว  ทำลายมากกว่าที่เห็น ” โดยให้ข้อมูลสถานการณ์น้ำมันรั่วที่เกาะเสม็ด สัมภาษณ์คุณปรัสิทธิชัย  หนูนวล ผู้ประสานงานโครงการปกป้องพื้นที่อาหารและกรรมการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคใต้ ซึ่งได้ลงพื้นทีดูสถานการณ์เกิดเหตุ  และให้ข้อมูลผู้บริโภค เรื่อง  : น้ำมันดิบรั่ว คราบน้ำมันในทะเล อันตรายต่อสุขภาพและห่วงโซ่อาหาร  เพื่อให้ผู้บริโภคระวังและเลือกซื้ออาหารได้ปลอดภัย  บริโภคอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายที่ตั้งไว้

จัดรายการวิทยุ รายการตลาดนัดผู้บริโภค วันที่ 3 ส.ค.เวลา 06.00-07.000น.

ผลที่เกิดขึ้น

มีการจัดรายการวิทยุ  ทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เอฟเอ็ม 88.0  เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย  เรื่องอันตรายจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบ  ลงทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญมีการจัดรายการวิทยุเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับผู้บริโภค

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

นำข้อมูลในการจัดรายการมาเผยแพร่ซำ้ำทางสื่ออื่นเช่น เวปไซด์

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

 

7. เผยแพร่ข้อมูลอาหารปลอดภัย...ผ่านการจัดรายการวิทยุตลาดนัดผู้บริโภค ตอน “เมทิลโบรไมล์ สารเคมีในข้าว จำเป็นหรือไม่ ”

วันที่ 10 สิงหาคม 2556 เวลา 06:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัยสู่สาธารณะ 2. เพื่อผลิตสื่อที่เกี่ยวข้องเผยแพร่ในพื้นที่

ลักษณะกิจกรรม

จัดรายการวิทยุ รายการตลาดนัดผู้บริโภค ประจำวันเสาร์ที่ 10 ส.ค.56  ตอน“  เมทิลโบรไมล์  สารเคมีในข้าว จำเป็นหรือไม่  ”  ให้ข้อมูลผลการสำรวจสารเคมีในข้าว ที่พบมีสารรมควันกันมอดหรือ เมทิลโบรไมล์ ตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 1 รายการ  เพื่อให้ผู้บริโภคทราบข้อมูลและสามารถเลือกบริโภคและระมัดระงังมากขึ้นได้

เป้าหมายที่ตั้งไว้

จัดรายการวิทยุ รายการตลาดนัดผู้บริโภค ประจำวันเสาร์ที่ 10 ส.ค.56

ผลที่เกิดขึ้น

มีการจัดรายการวิทยุ  ทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เอฟเอ็ม 88.0  เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย  ให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญ เรื่องสารรมควันในข้าว  ซึ่งเป็นประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้บริโภค  ใ้ห้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการเลือกบริโภคอาหารปลอดภัย

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

นำข้อมูลในการจัดรายการมาเผยแพร่ซำ้ำทางสื่ออื่นเช่น เวปไซด์

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

 

  • photo
8. เผยแพร่ข้อมูลอาหารปลอดภัย...ผ่านการจัดรายการวิทยุตลาดนัดผู้บริโภค ตอน“ รู้แหล่งผลิต กินปลอดภัย ไร้สารพิษสาเคมี ”

วันที่ 17 สิงหาคม 2556 เวลา 07:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัยสู่สาธารณะ 2. เพื่อผลิตสื่อที่เกี่ยวข้องเผยแพร่ในพื้นที่

ลักษณะกิจกรรม

จัดรายการวิทยุ รายการตลาดนัดผู้บริโภค ประจำวันเสาร์ที่ 17 ส.ค.56 ตอน  "รู้แหล่งผลิต  กินปลอดภัย  ไร้สารพิษสารเคมี ”  เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความปลอดภัย  ในการบริโภคอาหาร  ต้องรูแหล่งที่มา  นอกจากนั้นยังให้ข้อมูลสารเคมีทางการเกษตร 4 ตัวที่มักใช้และตกค้างในอาหารจนนำมาสู่การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ

เป้าหมายที่ตั้งไว้

จัดรายการตลาดนัดผู้บริโภค ทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เอฟเอ็ม 88.0

ผลที่เกิดขึ้น

มีการจัดรายการวิทยุ  ทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เอฟเอ็ม 88.0  เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย  เรื่องการรู้แหล่งทีมาของอาหารให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังมีข้ออ่อนในการจัดรายการให้น่าสนใจ  และการนำข้อมูลในการจัดรายการมาเผยแพร่ซำทางสื่ออื่น เช่น เวปไซด์  เฟสบุ๊ค  เป็นต้น

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

 

  • photo
  • photo
9. ฝึกอบรมอาสาสมัครเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยจังหวัดสงขลา

วันที่ 25 กันยายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

  1. เพื่ออบรมให้อาสาสมัครมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องอาหารปลอดภัย ตลอดจนห่วงโซ่อาหาร
  2. เพื่อพัฒนาศักยถาพอาสาสมัครในการทำงานเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย
    3.เพื่อทำแผนปฏิบัติการของอาสาสมัครในการเฝ้าระวังในพื้นที่

ลักษณะกิจกรรม

มีการฝึกอบรมอาสาสมัครในพื้นที่ มีอาสาสมัครเข้าร่วม 11 อำเภอจาก 16 อำเภอ ของจังหวัดสงขลา  มีผู้เข้าร่วมจำนวน 30 คน  อาสาสมัครได้เรียนรู้ปัญหาด้านอาหารปลอดภัย  กลยุทธการตลาดการโฆษณาหลอกลวงอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง  ผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ  ตลอดจนการฝึกอ่านฉลากอาหาร  เพื่อสร้างปฏิบัติการเฝ้าระวังของอาสาสมัครในพื้นที่  พร้อมวางแผนงานพื้นที่

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ฝึกอบรมอาสาสมัครเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในจังหวัดสงขลา จากพื้นที่ 16 อำเภอ

ผลที่เกิดขึ้น

มีแกนนำอาสาสมัครที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหารปลอดภัย และปัญหาที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงการจัดการปัญหาผู้บริโภคเบื้องต้น    มีกลไกอาสาสมัครทำหน้าที่เฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในระดับพื้นที่  อย่างน้อย 11 อำเภอ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

อาสามัครในพื้นที่อำเภอใหม่  ที่สมาคมฯ เพิ่งเริ่มทำงานด้วยยังไม่มีความพร้อมในการดำเนินงาน  จึงต้องมีการทำงานติดตามลงพื้นที่อย่างใกล้ชิด  เพื่อจัดตั้งและสนับสนุนงานอาสาสมัครอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

 

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
10. สนับสนุนปฏิบัติการเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยในพื้นที่

วันที่ 26 กันยายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

1.เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการของอาสาสมัครในพื้นที่ในการเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย

ลักษณะกิจกรรม

สนับสนุนงบประมาณในการปฏิบัติการตามแผนงานของอาสาสมัครในการเฝ้าระวังในระดับพื้นที่ 11 อำเภอ ตามแผนงานของพื้นที่

เป้าหมายที่ตั้งไว้

สนับสนุนปฏิบัติการตามแผนงานของอาสาสมัครในการเฝ้าระวังในระดับพื้นที่ 16 อำเภอ

ผลที่เกิดขึ้น

อยู่ระหว่างการดำเนินการ

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

บางอำเภอเป็นพื้นที่ใหม่  ต้องมีการลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการทำงานใกล้ชิดมากขึ้น

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

 

11. เผยแพร่ข้อมูลอาหารปลอดภัย...โดยจัดนิทรรศการในงาน "คนใต้สร้างสุข"

วันที่ 28 กันยายน 2556 เวลา 09:00

วัตถุประสงค์

เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านความปลอดภัยของอาหารสู่สาธารณะ

ลักษณะกิจกรรม

จัดนิทรรศการอาหารปลอดภัยในงาน "คนใต้สร้างสุข" 28-29 ต.ค.56 โดยนำเสนอประเด็นฉลากขนมเด็ก อันตรายขนมหน้าโรงเรียน  และสารเคมีการเกษตรที่เป็นอันตรายและไม่ควรใช้

เป้าหมายที่ตั้งไว้

ร่วมจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้อาหารปลอดภัยในงานคนใต้สร้างสุข

ผลที่เกิดขึ้น

มีการเผยแพร่ข้อมูลอาหารปลอดภัยสู่สาธารณะ  โดยการจัดนิทรรศการนำเสนอประเด็นฉลากขนมเด็ก อันตรายขนมหน้าโรงเรียน  และสารเคมีการเกษตรที่เป็นอันตรายและไม่ควรใช้ มีผู้สนใจเข้ามาซักถามแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ปัญหา และขอรับเอกสารเผยแพร่

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.

 

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

หมายเหตุ ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม กรุณาระบุเนื้อหา/ข้อสรุปสำคัญต่าง ๆ จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้ เช่น ความรู้ กลุ่มแกนนำ แผนงานต่าง ๆ และผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง (ซึ่งจะทราบได้จากการติดตามประเมินผลของโครงการ)

ประเมินผลคุณภาพกิจกรรม ให้ใส่เครื่องหมาย / ในช่องคะแนนโดยที่คะแนน 4=บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย 3=บรรลุผลตามเป้าหมาย 2=เกือบได้ตามเป้าหมาย 1=ได้น้อยกว่าเป้าหมายมาก

5. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)
  1. เป็นโครงการที่เน้นการพัฒนากลไกเฝ้าระวังโดยอาสาสมัครผู้บริโภค  แต่มีกิจกรรมที่สนับสนุนหรือพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครน้อยมาก  จึงต้องเรียนรู้ไปกับการทำกิจกรรมของอาสาสมัคร
  2. อาสาสมัครในบางพื้นที่อำเภอเป็นพื้นที่ใหม่  ศักยภาพและความพร้อมในการดำเนินงานจึงแตกต่างกัน และอาจจะดำเนินงานได้ล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนด
  3. ยังไม่สามารถบูรณาการแผนงานกิจกรรมให้เกิดการเชื่อมโยงหนุนเสริมกับประเด็นงานอื่นๆได้ดีมากนัก
  4. แผนงานกลางยังไม่สามารถทำให้เกิดการบูรณาการแผนงานร่วมทั้งโครงการเพื่อให้เกิดการหนุนเสริมกันในแต่ละแผนงานและเกิดพลังในการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม
6. แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

ตามแผนงานเดิมที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการ

มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ ระบุกิจกรรม/รายละเอียดที่จะปรับเปลี่ยน และระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน

 

7. ประเมินสถานการณ์โดยภาพรวมของโครงการ

สามารถดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนได้

ล่าช้ากว่าแผน กรุณาให้แนวทางแก้ไขปรับปรุง (สรุปเป็นข้อ)

 

8. ข้อคิดเห็นอื่น ๆ