วอลล์สตรีท เจอร์นัลฉบับออนไลน์รายงานว่า ม่านตาสีน้ำตาลในตาข้างซ้ายของ เจนิซ แม็คคอน เนลล์ ได้กลายเป็นสีฟ้าอ่อน ขณะที่ประสิทธิภาพในการมองเห็นของตาข้างขวาของจีนา แม็คเชีย ก็ได้ถูกจำกัด แม็คคอนเนลล์ และแม็คเชีย ต้องได้รับการผ่าตัดโดยการปลูกถ่ายกระจกตาเพื่อรักษาดวงตาในปีนี้ โดยพวกเธอต้องพักงานเป็นเวลาหลายเดือน, ต้องสวมแว่นกันแดดเพื่อเลี่ยงอาการแสบตา และต้องเผชิญกับความรู้สึกโกรธเคือง, ท้อแท้และสิ้นหวัง"บางวันฉันมีอาการท้อแท้เล็กน้อย แต่ก็รับมือได้ ฉันยังหวังว่าตาข้างนี้จะมองเห็นได้อีกครั้ง" แม็คคอนเนลล์ วัย 57 ปี ซึ่งเป็นผู้ประสานงานแผนการทำงานของบริษัทเฟรเซอร์กล่าว
กรณีดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการติดเชื้อรา ที่จักษุแพทย์ส่วนใหญ่ไม่เคยพบมาก่อนนั้น ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้ใส่คอนแทคเลนส์ทั่วโลก โดยประชาชนหลายร้อยคนกล่าวว่าพวกเขาได้รับเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายขณะที่ใช้น้ำยาล้างเลนส์อเนกประสงค์รุ่นใหม่ที่ผลิตโดยบริษัทบอช แอนด์ ลอมบ์ อิงค์ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองโรเชสเตอร์
ผู้บริโภคได้ยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีต่อบอช แอนด์ ลอมบ์ โดยได้มีการยื่นฟ้องต่อศาลต่าง ๆ ของสหรัฐ และคดีจำนวนมากดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของบริษัทเป็นเวลาหลายปี โดยในขณะนี้บรรดาทนายความคาดว่าประชาชนราว 500-700 รายจะเรียกร้องค่าเสียหายจากการติดเชื้อรา Fusarium keratitis ในการพิจารณาคดีที่จะเริ่มขึ้นอย่างเร็วในฤดูร้อนปีหน้า
นายเดวิด มาริส นักวิเคราะห์จาก บล.แบงก์ ออฟ อเมริกา ประเมินว่า การดำเนินคดีดังกล่าวอาจจะส่งผลให้บอช แอนด์ ลอมบ์ ต้องจ่ายค่าเสียหายสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การสูญเสียตำแหน่งผู้นำในการครองส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลคอนเทคเลนส์ในสหรัฐที่มีชาวอเมริกัน 34 ล้านคนใส่คอนแทคเลนส์นั้น อาจจะสร้างความเสียหายมากยิ่งขึ้น
ขณะที่บริษัทในเครือในภูมิภาคเอเชียประสบปัญหาความไม่ถูกต้องในการทำบัญชีอยู่แล้วนั้น บอช แอนด์ ลอมบ์ได้ปรับลดคาดการณ์ผลกำไรปี 2006 ลง 78 % ขณะที่สำนักงานวิจัยผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัยในนิวเจอร์ซีย์ระบุว่า ส่วนแบ่งตลาดด้านผลิตภัณฑ์ดูแลเลนส์ของบริษัท ลดลงจาก 31 % เหลือ 8 % ก่อนจะดีดตัวขึ้นสู่ 21 % ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ (CDC) ในแอตแลนตาระบุว่า จนถึงขณะนี้มีการยืนยันผู้ติดเชื้อจำนวน 180 รายใน 35 รัฐ โดย 59 รายต้องทำการปลูกถ่ายกระจกตา ขณะที่เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขและทนายความจากประเทศต่างๆรายงานว่า ผู้ใส่คอนแทคเลนส์อีกอย่างน้อย 120 รายมีการติดเชื้อในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 2005 ในฮ่องกง, สิงคโปร์, มาเลเซียและจีน และต่อมาได้พบการติดเชื้อในสหรัฐ ประชาชนจำนวนมากระบุว่า น้ำยาแช่เลนส์ MoistureLoc เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาสูญเสียดวงตาและถึงขณะนี้ เกิดคำถามมากมายขึ้นมาว่า บอช แอนด์ ลอมบ์ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเพียงพอหรือไม่ สำหรับกรณีดังกล่าว
มันนี่ ชาเนล – บ้านเจ้าพระยา
Posted on Thursday, December 14, 2006 (Archive on Thursday, December 14, 2006)
Posted by host Contributed by host
สรุปประเด็นและเสนอแนะโดย นศ.คณะเภสัชศาสตร์ (5110710019)
แนวทางแก้ไขปัญหา
จากปัญหาที่เกิดขึ้นจะเห็นว่าการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งแนวทางที่ดีนั้นคือ การเจรจาต่อรองกับบริษัทผู้ผลิต ให้ข้อมูลอย่างถูกต้อง ว่าไทยนั้นมีปัญหามากน้อยอย่างไร และรัฐบาลไทยเองก็ควรจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสม โดยมุ่งงบประมาณไปในการสาธารณสุขมากขึ้น ประหยัดงบประมาณในทางที่ถูกต้อง โดยให้คำนึงถึงความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ มากกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีให้ทัดเทียมประเทศอื่น เมื่อมีงบประมาณมาสนับสนุนส่วนหนึ่งแล้ว
การต่อรองราคาก็จะง่ายขึ้น โดยที่ต่อรองราคาให้อยู่ในระดับเป็นที่พอใจของบริษัทผู้ผลิตและไทยเองก็ไม่เดือดร้อน นอกจากนี้ประเทศไทยเองก็ไม่ควรพึ่งแต่ยาต่างประเทศ รัฐบาลควรให้งบประมาณสนับสนุนค้นคว้าวิจัยผลิตตัวยา ที่เรายังไม่สามารถผลิตเองได้ ซึ่งถ้าหากเราคิดค้นได้ ปัญหาการเข้าไม่ถึงยาของผู้ป่วยก็จะไม่มีอีกต่อไป
Relate topics
- กรณีศึกษา อย.เตือนยาคีไตรโซนผิดมาตรฐาน-อันตราย สั่งเก็บทุกสถานพยาบาล
- กรณีศึกษา อย.เผยพบแบคทีเรียปนเปื้อน “น้ำยาบ้วนปากออรัล-บี” เตือน ปชช.ระงับใช้
- กรณีศึกษา สลด!! ว่าที่ "นิสิตเภสัช" ม.มหาสารคาม กินยาลดความอ้วนดับ น้องสาวเผยกลัวใส่ชุดไม่สวย
- กรณีศึกษา สั่งถอนยา "บีเวลล์" แก้เซ็กซ์เสื่อมอาจมีผลข้างเคียงถึงตาย!
- กรณีศึกษา ธนาคารมีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมอย่างอื่นนอกเหนือจากดอกเบี้ยหรือไม่