หมอเตือนอย่าหลงเชื่อดื่มกาแฟแล้ว “ผอม” ชี้ ดื่มมากเกิดไป เจอปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้านนักโภชนาการระบุดื่มมากระวังอันตรายจากกาเฟอีน หรือส่วนผสมอื่นที่เป็นยาลดน้ำหนัก ส่งผลระยะยาวต่อร่างกาย ยันไม่มีอาหารใดลดน้ำหนักได้ถาวร
ศ.นพ.สุรัตน์ โคมินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนวิทยาคลินิกและโรคเบาหวาน อดีตหัวหน้าหน่วยโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีการโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้ประชาชนผิดว่า การดื่มกาแฟแล้วจะทำให้รูปร่างผอมเพรียว ซึ่งต้องบอกว่าไม่เป็นความจริงทั้งหมด แม้ว่ากาแฟจะมีส่วนต่อระบบการเผาผลาญของร่างกาย แต่หากดื่มเป็นปริมาณมาก โดยหวังว่าจะให้ร่างกายผอม หุ่นดีนั้นอาจเกิดอันตรายกับร่างกายได้ แทนที่จะผอม เพราะกาเฟอีนจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานดีขึ้น แต่หากทานมากไปจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ
“นอกจากนี้ หากดื่มกาแฟก็อาจอ้วนได้เช่นกัน เพราะหากส่วนผสมของกาแฟนั้นมีครีมเทียม น้ำตาลผสมอยู่มากก็จะมีพลังงานหลายกิโลแคลอรี ดังนั้น ทำให้อ้วน จะผอมได้อย่างไร ก็ ถ้าอยากดื่มกาแฟดำ ไม่ใส่น้ำตาลและครีม ก็ถือว่าพอมีประโยชน์ในการช่วยเผาผลาญบ้าง แต่ก็ไม่ควรดื่มหลายๆ แก้วต่อวัน”ศ.นพ.สุรัตน์ กล่าว
ด้าน นพ.ฆนัท ครุธกูล ผู้จัดการศูนย์หัวใจหลอดเลือดและเมตาบอลิก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากข้อมูลพบว่า กาแฟมีส่วนช่วยให้ระบบเมตาบอลิซึม ซึ่งเป็นการเผาผลาญของร่างกายทำงานได้ดีขึ้นในระดับสัตว์ทดลองและมนุษย์ด้วย แต่ก็ไม่ได้กระตุ้นให้ระบบการเผาผลาญของร่างกายดีจนทำให้ร่างกายผอมเพรียว แถมหากดื่มมากเกินไปอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูงและระดับไขมันในกระแสเลือดมากกว่าปกติ เหตุเพราะส่วนผสมในการดื่มกาแฟด้วย
นายสง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการระดับ 9 กรมอนามัย กล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ที่กาแฟจะทำให้ลดน้ำหนักได้ เพราะไม่มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ยืนยันเช่นนั้น ทั้งนี้ ถ้าหากกินกาแฟสูตรใดสูตรหนึ่งแล้วสามารถลดน้ำหนักได้จริงคงเป็นการเติมสารอะไรบางอย่างทำให้มีผลต่อร่างกาย ซึ่งอาจเป็นยาลดน้ำหนัก ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก
“ทุกวันนี้ยังไม่มีอาหารเสริมใด รวมถึงกาแฟที่เป็นการลดน้ำหนักได้อย่างถาวรและยั่งยืน เท่ากับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ทั้งนี้ อาหารเสริมจะทำให้ลดน้ำหนักได้เฉพาะช่วงที่ทานหรือดื่มอาหารเสริมเหล่านั้นอยู่ แต่หลังจากเลิกแล้วก็จะเกิดโยโย่เอฟเฟกต์ ทำให้น้ำหนักกลับมาอ้วนเหมือนเดิม ทั้งนี้ ความเชื่อกันว่า ดื่มกาแฟกับแซนด์วิชแล้วจะทำให้น้ำหนักลดลงนั้น น้ำหนักลดลงแน่แต่ลดจากการอดอาหารอื่นๆ ทานแต่กาแฟมันก็ย่อมลด แต่ไมได้ลดจากกาแฟโดยตรง จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงกับการโหมโฆษณาที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทานกาแฟ” นายสง่า กล่าว
นายสง่า กล่าวว่า นอกจากนี้ อาจมีผลเสียกับร่างกายได้ หากดื่มกาแฟมากกว่าวัน 2 แก้วต่อวัน เพราะหากร่างกายได้รับปริมาณกาเฟอีนเกินไปก็อาจเป็นอันตรายได้ และหากมีการเติมสารหรือตัวยาสำหรับการลดน้ำหนัก ก็อาจเป็นอันตรายกับร่างกายในระยะยาวด้วยเช่นกัน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2551 07.06 น.
สรุปประเด็นและเสนอแนะโดย นายจิรวัฒน์ ฤทธานนท์ นศ.คณะเภสัชศาสตร์
ปัญหาคุ้มครองผู้บริโภค
ขณะนี้มีการโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้ประชาชนผิดว่า การดื่มกาแฟแล้วจะทำให้รูปร่างผอมเพรียว ซึ่งต้องบอกว่าไม่เป็นความจริงทั้งหมด แม้ว่ากาแฟจะมีส่วนต่อระบบการเผาผลาญของร่างกาย แต่หากดื่มเป็นปริมาณมาก โดยหวังว่าจะให้ร่างกายผอม หุ่นดีนั้นอาจเกิดอันตรายกับร่างกายได้ แทนที่จะผอม เพราะกาเฟอีนจะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายทำงานดีขึ้น แต่หากทานมากไปจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ
“นอกจากนี้ หากดื่มกาแฟก็อาจอ้วนได้เช่นกัน เพราะหากส่วนผสมของกาแฟนั้นมีครีมเทียม น้ำตาลผสมอยู่มากก็จะมีพลังงานหลายกิโลแคลอรี ดังนั้น ทำให้อ้วน จะผอมได้อย่างไร ก็ ถ้าอยากดื่มกาแฟดำ ไม่ใส่น้ำตาลและครีม ก็ถือว่าพอมีประโยชน์ในการช่วยเผาผลาญบ้าง แต่ก็ไม่ควรดื่มหลายๆ แก้วต่อวัน
หมอได้ออกมาเตือนอย่าหลงเชื่อดื่มกาแฟแล้ว “ผอม” ชี้ ดื่มมากเกิดไป เจอปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้านนักโภชนาการระบุดื่มมากระวังอันตรายจากกาเฟอีน หรือส่วนผสมอื่นที่เป็นยาลดน้ำหนัก ส่งผลระยะยาวต่อร่างกาย ยันไม่มีอาหารใดลดน้ำหนักได้ถาวร
การแก้ไขปัญหา
- ไม่หลงเชื่อคำโฆษณาที่เกินความเป็นจริง
- ห้ามประชาสัมพันธ์สรรพคุณที่เกินความเป็นจริง
- ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการลดน้ำหนัก
- หากไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านผลิตภัณฑ์การสามารถร้องเรียนผู้ที่เกี่ยวข้องได้
- ผลิตภัณฑ์ควรมีฉลากที่ครบถ้วนและถูกต้อง
- บริษัทกาแฟควรให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่ประชาชน
Relate topics
- เปิดศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.ควนรู อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
- ตลาดนัดอุทยานอาหาร “วิถีแห่งสุขภาพ วิถีแห่งวัฒนธรรม”
- ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย
- หาดใหญ่จัดงานเทศกาลอาหารหรอย ผลไม้อร่อย ครั้งที่ 2 หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ
- อึ้ง! “น้ำมันทอดซ้ำ” หายเกลี้ยงเหลือทำไบโอดีเซลแค่ 5%