ผู้บริโภคร้อง อย. พบการโฆษณาขายยาน้ำสกัดโสมเกาหลีตังกุยจับและยาแองเจิลลา อวดอ้างรักษาโรคได้สารพัด หากใครเป็นสมาชิกก็จะร่ำรวยเป็นเศรษฐี เรื่องดังกล่าว อย.ได้เคยดำเนินคดีกับผู้โฆษณาโอ้อวดในลักษณะเช่นนี้บ่อยครั้ง แต่ก็ยังพบการขายตรง เปิดโรงแรมจัดสัมมนาพร้อมโฆษณาสรรพคุณเกินจริงซึ่ง ทำให้ผู้บริโภคเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อ หากพบเบาะแสการโฆษณาเกินจริงแจ้ง อย. เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ เพื่อจะได้ดำเนินการตามกฎหมาย ต่อไป
ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคบ่อยครั้งเกี่ยวกับการโฆษณาขายยาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง โดยมักใช้วิธีการขายตรง จัดประชุมสัมมนา พูดโฆษณาแบบปากต่อปาก หรือโฆษณาผ่านทางแผ่นพับ แผ่นปลิว และสื่อต่างๆ พร้อมทั้งเชิญชวนผู้สนใจสมัครเป็นตัวแทนจำหน่ายโดยให้ค่าตอบแทนสูง ซึ่งในเรื่องนี้ อย.ได้มีการดำเนินการตรวจสอบการโฆษณาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการโฆษณาขายยานั้น อย.ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการได้รับข้อมูลไม่ถูกต้องอาจทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากยานั้นได้และอาจเสียเงิน เสียทองจำนวนมากในการรักษาโดยโรคไม่หาย และยังเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์อีกด้วยล่าสุดผู้บริโภคร้องเรียนกรณีของยาน้ำสกัดโสมเกาหลีตังกุยจับและยาแองเจิลลา อ้างสรรพคุณว่ารักษาโรคได้สารพัด
อย.ขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ยาน้ำสกัดโสมเกาหลีตังกุยจับ จัดอยู่ในประเภทยาแผนโบราณ ทะเบียนตำรับยาเลขที่ G 579/45 สรรพคุณตามที่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับคือ บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต และยาแองเจิลลา จัดอยู่ประเภทยาสามัญประจำบ้าน ทะเบียนตำรับยาเลขที่ G 599/45 สรรพคุณที่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับคือ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ บำรุงโลหิต แต่ผู้ร้องเรียนพบการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณยาน้ำสกัดโสมเกาหลีตังกุยจับ ในรูปแบบวีซีดี และแผ่นพับ/ใบปลิว โดยระบุรรพคุณว่าสามารถรักษาได้สารพัดโรค เช่น ช่วยบรรเทาอาการหงุดหงิด ช่วยให้สมองตื่นตัว ทำให้หายจากการปวดหัวไมเกรน ปวดหลัง และหายจากโรคมะเร็ง โรคเบาหวานเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณยาแองเจิลลา ว่าสามารถแก้ปัญหาฝ้า ตกขาว ช่วยกระชับช่องคลอด แก้ปัญหามดลูกหย่อนยาน บวม อักเสบ ลดไขมันส่วนเกินในร่างกาย เป็นต้น
ซึ่งการโฆษณาดังกล่าวจัดเป็นการโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตแสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินจริง และในกรณีของยาน้ำสกัดโสมเกาหลีตังกุยจับดังกล่าว ยังถือเป็นการแสดงสรรพคุณยาว่าสามารถบำบัดบรรเทา รักษา หรือ ป้องกันโรค หรืออาการของโรคที่รัฐมนตรีประกาศห้ามโฆษณาอีกด้วย จึงขอให้ประชาชนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงดังกล่าว ซึ่ง อย.ก็ได้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้แทนจำหน่ายและทำการส่งเสริมการขายยาดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังคงพบปัญหาการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยผ่านการขายตรง เปิดโรงแรมจัดสัมมนาพร้อมโฆษณาหลอกลวงให้ผู้ฟังหลงเชื่อเป็นสมาชิกแบบลูกโซ่ โอ้อวดว่าหากใครเป็นสมาชิกก็จะร่ำรวยเป็นเศรษฐี การขายตรงดังกล่าวมักเกิดขึ้นในต่างจังหวัด
ที่มา ศูนย์วิยบริการ
สรุปประเด็นและเสนอแนะโดย นศ.คณะเภสัชศาสตร์ (5110710010)
ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคบ่อยครั้งเกี่ยวกับการโฆษณาขายยาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง โดยมักใช้วิธีการขายตรง จัดประชุมสัมมนา พูดโฆษณาแบบปากต่อปาก หรือโฆษณาผ่านทางแผ่นพับ แผ่นปลิว และสื่อต่างๆ พร้อมทั้งเชิญชวนผู้สนใจสมัครเป็นตัวแทนจำหน่ายโดยให้ค่าตอบแทนสูง ซึ่งในเรื่องนี้ อย.ได้มีการดำเนินการตรวจสอบการโฆษณาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการโฆษณาขายยานั้น อย.ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการได้รับข้อมูลไม่ถูกต้องอาจทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากยานั้นได้และอาจเสียเงิน เสียทองจำนวนมากในการรักษาโดยโรคไม่หาย และยังเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์อีกด้วยล่าสุดผู้บริโภคร้องเรียนกรณีของยาน้ำสกัดโสมเกาหลีตังกุยจับและยาแองเจิลลา อ้างสรรพคุณว่ารักษาโรคได้สารพัด
การจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพ
- ดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ผลิตที่โฆษณาโอ้อวดเกินจริงขั้นเด็ดขาด
- ประชาชนช่วยสอดส่องเป็นหูเป็นตาแทนรัฐ แจ้งเบาะแสผ่านสายด่วน อย. หรือ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือทางสาธารณสุขจังหวัด 3.ผ ู้บริโภคอย่าด่วนหลงเชื่อคำโฆษณาของสินค้า หรือบริการ ต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดอื่น ๆ ของตัวสินค้า หรือ บริการที่อาจไม่ได้ระบุไว้ในการโฆษณา เนื่องจากการโฆษณาสินค้าหรือบริการ ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่จะเสนอแต่ข้อดีและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคส่วนข้อเสีย มักจะไม่กล่าวถึงในการโฆษณา จึงจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จากการสอบถามผู้ขาย หรือบริษัทผู้ผลิต
Relate topics
- เครือข่ายผู้หญิงร้องทบทวนฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก-รมช.สธ.ยันจำเป็น
- นัก กม.อินเดีย ยัน ซีแอล ทำให้ยาถูกลง อย่าหลงเชื่อ บ.ยาข้ามชาติ
- กรณีศึกษา อย.เตือนยาคีไตรโซนผิดมาตรฐาน-อันตราย สั่งเก็บทุกสถานพยาบาล
- กรณีศึกษา อย.เผยพบแบคทีเรียปนเปื้อน “น้ำยาบ้วนปากออรัล-บี” เตือน ปชช.ระงับใช้
- กรณีศึกษา สลด!! ว่าที่ "นิสิตเภสัช" ม.มหาสารคาม กินยาลดความอ้วนดับ น้องสาวเผยกลัวใส่ชุดไม่สวย