ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

นักวิชาการชี้ “โทลูอีน” ระยะยาวมีผลต่อไขกระดูกและโลหิต อาจกลายเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด

by twoseadj @May,07 2012 13.47 ( IP : 110...27 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , อื่น ๆ
photo  , 400x267 pixel , 44,161 bytes.

นักวิชาการชี้ “โทลูอีน” ระยะยาวมีผลต่อไขกระดูกและโลหิต อาจกลายเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด ถือเป็นบทเรียนการขนถ่ายสารโทลูอีนของบีเอสที พร้อมเผยประกาศนียบัตร ISO ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันเรื่องความปลอดภัยได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แนะหน่วยราชการเข้มงวดอย่าให้โรงงานเอาเปรียบโดยเน้นแต่เศรษฐกิจมากกว่าคุณภาพชีวิต

นายสนธิ คชวัฒน์ เลขาสมาคมอนามัยสิ่งแวดล้อมไทย เปิดเผยว่า ตามที่เกิดระเบิดภายในบริษัท บีเอสที อิลาสโตเมอร์ส จำกัด (BST) ในเครือบริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมานั้น ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากระหว่างการขนการถ่ายสารโทลูอีน ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่ผลิตยางรถยนต์และเกิดความร้อนขึ้นทำให้สารดังกล่าวซึ่งเป็นวัตถุไวไฟมีจุดวาบไฟต่ำ (6-10 องศาเซลเซียส) เกิดติดไฟและระเบิดขึ้นซึ่งปัญหาเหล่านี้มีโอกาสเกิดได้เสมอ สำหรับโรงงานประเภทปิโตรเคมีหรือโรงกลั่นน้ำมัน

ดังนั้น เรื่องความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัยเป็นสิ่งที่ต้องเน้นหนักเป็นพิเศษ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการระเบิดของโรงงานที่ตามมา คือ มีไอระเหยของสารโทลูอีนกระจายออกสู่บรรยากาศมากมาย โดยลักษณะมีกลิ่นคล้ายกลิ่นหอมอะโรเมติก เมื่อโทลูอีนเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบสมอง และประสาทส่วนกลาง ระบบการหายใจ ตับ ไต ตา และผิวหนัง ผลต่อสุขภาพเหมือนเบนซีน คือ ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง หากสูดดมนานๆ หรือสูดดมในสภาพความเข้มข้นสูงหรือเข้าผิวหนัง ระยะยาวมีผลต่อไขกระดูกและโลหิต อาจกลายเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ การสูดดมระยะสั้นๆ เช่น อยู่ในโรงงานที่มีไอระเหยจางๆ ทำให้อ่อนเพลีย อาการเหมือนมึนเมา คลื่นไส้ ความจำเสื่อม แม้ว่าจะสูดเข้าไปชั่วขณะ แต่ถ้าไอเข้มข้นมากก็ทำให้วิงเวียน หมดสติ และอาจตายได้ เพราะหายใจไม่ออก ดังนั้น กรณีการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้สิ่งที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนต่อสุขภาพอนามัยของพนักงานของโรงงานและประชาชนที่คาดว่าอาจได้รับผลกระทบ คือ

  1. ชุมชนที่อยู่ใต้ทิศทางลม ได้แก่ ชุมชนตลาดมาบตาพุด วัดมาบตาพุด ชุมชนตลาดลาว สถานีอนามัย และชุมชนริมถนนสุขุมวิททางเข้าหาดทรายทอง และพนักงานที่ได้รับสัมผัสที่ในที่เกิดเหตุ ต้องได้รับการตรวจสุขภาพทุกคนโดยที่นิยม คือ การตรวจ hippuric acid ในปัสสาวะ, o-cresol ในปัสสาวะ และ toluene ในเลือด หรือวิธีอื่นที่แพทย์กำหนด และรีบทำการรักษาอย่างทันท่วงทีซึ่งมาตรฐานที่กำหนดสำหรับพนักงานคือ ACGIH BEI - o-cresol ในปัสสาวะหลังเลิกงาน 0.5 mg/L, Hippuric acid ในปัสสาวะหลังเลิกงาน 1.6 g/g Cr, Toluene in blood ก่อนเข้างานวันสุดท้ายของสัปดาห์ 0.05 mg/L

  2. เนื่องจากในพื้นที่มาบตาพุดมีโรงงานประเภทปิโตรเคมีจำนวนมาก เมื่อเกิดอุบัติเหตุและสารพิษรั่วไหลแล้วจึงมาทำการตรวจวัดหาค่าสารพิษ ส่วนใหญ่จะพบว่าไม่เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งในแนวทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมแล้ว การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะต้องติดตั้งสถานีตรวจวัดค่าไอระเหยสารอินทรีย์โดยแยกประเภทตามที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดแบบอัตโนมัติในพื้นที่เสี่ยงหลายๆ จุด หรือกำหนดให้โรงงานดำเนินการก็ได้ ซี่งต้องสามารถอ่านผลได้ทันทีแม้จะเป็นค่าสแกนก็ตาม ไม่ใช่มาตรวจวัดแต่ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งตรวจอย่างไรก็ไม่พบ หากดำเนินการได้ดังกล่าวจะทำให้ประชาชนมั่นใจในระดับหนึ่งว่ามีปลอดภัยจากไอระเหยสารอินทรีย์

  3. โรงงานกรุงเทพ ซินธิติกส์ หรือบีเอสที ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ได้รับประกาศนียบัตร ISO 14001 และ ISO/OHSAS 18001 อันเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ถึงความรับผิดชอบในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และความปลอดภัยสำหรับพนักงานของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างที่เกิดขึ้นประกาศนียบัตรก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันเรื่องความปลอดภัยได้100เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะการซ่อมบำรุงของโรงงานตามช่วงที่กำหนดส่วนใหญ่ใช้บริษัทรับจ้างเหมาจากภายนอก ดังนั้นการทำงานให้ถูกขั้นตอน และการฝึกอบรมจึงต้องเคร่งครัดเป็นพิเศษซึ่งหน่วยราชการโดยฉพาะหน่วยงานอนุญาตจะต้องมีมาตรการในการกำกับดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยให้เข้มงวด อย่าให้โรงงานเอาเปรียบโดยเน้นแต่เศรษฐกิจมากกว่าคุณภาพชีวิต

  4. การอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ทำได้ค่อนข้างช้ามาก หน่วยงานราชการต้องสั่งอพยพประชาชนโดยพิจารณาดูทิศทางและความเร็วลมตลอดจนความรุนแรงของปัญหา และคาดการณ์ก่อนที่ควันและไอระเหยสารพิษจะพัดไปถึงชุมชน ซึ่งกรณีดังกล่าวแสดงถึงความไม่พร้อมของแผนฉุกเฉินระดับ 3 ดังนั้น ราชการที่เกี่ยวข้องต้องรีบขอโทษและเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เช่นต้องทำการตรวจรักษาสุขภาพของประชาชนโดยด่วน เป็นต้น

  5. โรงงานในพื้นที่มาบตาพุดที่เคยเกิดเหตุซ้ำซาก เช่น กรณีปล่อยก๊าซคลอรีนรั่วเป็นประจำต้องสั่งปิด และปรับปรุงพร้อมให้ผุ้เชี่ยวชาญตรวจสอบรวมทั้งกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง