Akrapong Vechayanont Akrapong Vechayanont อัครพงษ์ เวชยานนท์ สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

เพื่อเป็นการแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และอื่น ๆ โปรดติดตามอ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/akrapong/toc และ http://gotoknow.org/blog/akrapong/toc?page=2

การส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อรองรับความร่วมมือในกรอบอาเซียน

บันทึกประสบการณ์งานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และการปฏิรูปกฎหมาย

by Akrapong Vechayanont @February,23 2012 10.49 ( IP : 123...154 )

ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อรองรับความร่วมมือในกรอบอาเซียน ในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ในการนี้ ผู้เขียนได้เสนอแนะและขอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคติดตามผลการดำเนินการในอดีตที่ผ่านมาเพื่อเป็นการดำเนินการคู่ขนานในระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ได้จดบันทึกไว้ในรายงานการประชุมฯ ตามความประสงค์ของผู้เขียนที่ได้เสนอในการประชุมฯ ผู้เขียนจึงขอสรุปไว้เป็นบันทึกช่วยจำไว้ ดังนี้

๑. ระบบการแจ้งและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการเรียกคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

  • แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์ข้อมูลผู้บริโภคแห่งประเทศไทยที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเคยดำเนินการเพื่อจะจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๒๕๔๐ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการจัดตั้งศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ (Product Testing Center) หรือพัฒนาศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ตามแนวทางที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้เคยให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งผู้เขียนเป็นผู้เสนอโครงการต่อรัฐบาลญี่ปุ่นในช่วง พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๖  และจะต้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน  ทั้งนี้ นอกจากเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์สำหรับเสนอผู้บริหารและคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายด้านกิจการผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่จะนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และกำหนดเป็นมาตรการเชิงป้องกันแก่ผู้บริโภคในลักษณะของการแจ้งเตือนและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ไม่ปลอดภัยได้ทั้งในมิติภายในและระหว่างประเทศ และการพัฒนากฎหมายด้วยในที่สุด  ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ ได้พัฒนาไปได้เพียงใด ก็ขอให้แจ้ง เผยแพร่ หรือประชาสัมพันธ์ให้แก่องค์กรสมาชิกภายในและต่างประเทศในภูมิภาคเอเชียนี้ไปเท่าที่มีอยู่ก่อน เพื่อจะได้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้มีความก้าวหน้าในระดับใด

๒. กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการค้าผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)

  • เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในฐานะหน่วยธุรการของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาทบทวนมติคณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมายในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเกี่ยวกับเรื่องที่ค้างการพิจารณาเรื่องมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์เมื่อหลายปีที่ผ่านมาไปพร้อมกัน ในสมัยที่ผู้เขียนทำหน้าที่เลขานุการในคณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย

๓.กำหนดแผนการพัฒนากฎหมายเพื่อปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๒

  • ในระยะยาวและการดำเนินการคู่ขนาน เห็นควรพิจารณาปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๑ โดยให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจหน้าที่โดยมีสาระสำคัญ เช่น จัดทำแผนแม่บทการบริหารงานคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ และแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศงานคุ้มครองผู้บริโภคเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เป็นสำคัญ  ทั้งนี้ เนื่องจากนับแต่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ผ่านมาตั้งแต่อดีต ยังไม่ปรากฏวิสัยทัศน์ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการคุ้มครองผู้บริโภค และให้แยกวิสัยทัศน์คณะกรรมการฯ ออกจากวิสัยทัศน์ของสำนักงานฯ ให้ชัดเจน

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง