บทความ

เติมเงินเหลือในมือถือลาภลอยให้เอกชนเดือนละ 6 พันล.

by twoseadj @October,22 2011 13.57 ( IP : 202...5 ) | Tags : บทความ
photo  , 275x278 pixel , 21,934 bytes.

คุณเคยสงสัยไหมว่าเงินที่เติมเข้าโทรศัพท์มือถือ แต่วันหมดทำให้โทรออกไม่ได้ เมื่อรวมๆกันแล้วต่อเดือนคิดเป็นมูลค่าเท่าไร

คุณรู้ไหมว่าตกเดือนละ 6 พันล้านบาททีเดียว

ในงานเสวนา 'เงินเหลือในมือถือ สิทธิของใคร?' เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.จัดโดยสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

โดยมีผู้ร้องเรียน สบท.บอกเล่าประสบการณ์ตรง กรณีถูกยึดเงินที่เหลือในโทรศัพท์มือถือระบบเติมเงิน (พรีเพด) ล่วงหน้าเนื่องจากวันใช้งานหมดอายุ 3 กรณีโดย

ผู้บริโภครายแรกเป็นข้าราชการบำนาญหญิงเปิดเผยว่า ใช้บริการฮัทช์ที่เติมเงินล่วงหน้าไว้ 3 ปี จำนวนหมื่นกว่าบาท แล้วมีการยกเลิกบริการเพราะยิ่งเติมเงินยิ่งเหลือมาก เนื่องจากเน้นรับสาย และเมื่อเลิกใช้บริการแล้วยังเหลือเงินอีก 7,500 บาท พอขอคืนทางฮัทช์บอกว่าไม่มีนโยบายคืนเงิน จึงต้องร้องเรียนที่สบท.

กรณีที่ 2 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ซึ่งใช้บริการดีแทคแล้วหยุดใช้ไปเนื่องจากเครื่องเสียเมื่อเดือน พ.ย. 52 แต่พอถึงเดือน เม.ย. 53 นึกได้ว่ามีเงินเหลืออยู่ในระบบ 1,500 บาท พอเปิดใช้ปรากฏว่าไม่เหลือทั้งเลขหมายและเงินในระบบ จึงร้องเรียนไปที่ดีแทคจนได้คืนในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา

กรณีที่ 3 เป็นข้าราชการบำนาญชายใช้ฮัทช์พอวันหมดอายุการใช้งานเป็นช่วงที่เดินทางไป ต่างจังหวัดแล้วหาซื้อบัตรเติมเงินไม่ได้ แต่ทางบริษัทได้มีการส่ง SMS เตือน แต่ก็ยังหาซื้อบัตรเติมเงินไม่ได้จึงถูกยึดเงินซึ่งเหลือ 1,213 บาท พอติดต่อไปบริษัทบอกว่าไม่มีนโยบายคืนเงิน แต่เมื่อให้เหตุผลแล้ว ฮัทช์บอกจะคืนให้ 200 บาท แต่ต้องรอสักระยะ เมื่อบอกจำเป็นต้องใช้จึงคืนให้ก่อน 50 บาทแล้วค่อยคืนอีก 150 บาท พอมีการร้องเรียนไปที่ สบท. ส่วนที่เหลือจึงยอมคืนให้

นายปิยบุตร บุญอร่ามเรือง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ประกาศกทช.เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 11 ระบุว่า การให้บริการโทรคมนาคมในลักษณะที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการเป็น การล่วงหน้าจะต้องไม่มีข้อกำหนดอันมีลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการ ต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่ผู้ให้บริการจะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเป็นการล่วงหน้า ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อนไขการให้บริการประกอบด้วยก็ได้ เช่น การถ่ายโอนมูลค่าที่เหลืออยู่ การคืนค่าบริการในส่วนที่ไม่ได้ใช้บริการ การกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำในการใช้บริการ การขึ้นทะเบียนชื่อที่อยู่ของผู้ให้บริการ เป็นต้น ในการนี้คณะกรรมการอาจจัดให้มีการรับฟังความเห็นสาธารณะหรือรับฟังความคิด เห็นจากผู้บริโภคด้วยก็ได้


ผู้บริการตามวรรคหนี่งต้องเผยแพร่แบบสัญญาที่คณะกรรมการเห็นชอบแล้วเป็นการ ทั่วไป และแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบเป็นหนังสือก่อนเริ่มใช้บริการ

'เรื่อง ลักษณะนี้ต่างประเทศก็เกิดขึ้นเช่นกัน เพราะผู้บริโภคอ่อนแอต่อรองไม่ได้ เนื่องจากตัวเล็กต้องยอมรับสัญญาเงื่อนไข อีกอย่างข้อมูลการโฆษณาแม้รู้ก็ยังเหมือนเดิม กฎหมายทั่วโลกเป็นเหมือนกัน เพราะผู้ประกอบการตัวใหญ่มากขณะที่ผู้บริโภคตัวเล็ก เมื่อมีกฎคุ้มครองผู้บริโภคค่อยดีขึ้น'

ด้าน นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนไปในธุรกิจมือถือหลังมีการปลดล็อกรหัสเครื่องลูกข่าย (อีมี่) ทำให้บริการแบบพรีเพดเป็นรายได้หลักของค่ายมือถือทั้งเรื่องของจำนวนเลขหมาย และรายได้ ขณะที่ต้นทุนบริหารจัดการก็ได้เปรียบเพราะผู้ใช้จ่ายเงินก่อนไม่ต้องเสีย เวลาติดตามหนี้เหมือนแบบรายเดือน

'การมีประกาศของกทช.ตามข้อ 11 ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการปกป้องผู้บริโภครายเล็กรายน้อย แต่ประกาศดังกล่าวยังมีมุมมืดอยู่เนื่องจากพนักงานของรัฐไม่ทำตามประกาศซึ่ง เป็นการละเลยหน้าที่'

ทั้งนี้ การเก็บเงินระบบพรีเพดกรณีของเอไอเอสจะทำเป็นรายได้ของบริษัทซึ่งคิดเป็น กำไรแล้วนำไปหักภาษีมูลค่าเพิ่ม ดีแทคเก็บเป็นรายได้แบบรับรู้จริงจากลูกค้า แต่ยังไม่รวมเป็นกำไร ซึ่งเป็นลักษณะของการกำเงินไว้ก่อน ส่วนทรูมูฟคือยังมีพันธะกับผู้ใช้บริการ ซึ่งมีการจัดเก็บเหมือนดีแทค จากการจัดเก็บดังกล่าวนอกจากการเสียภาษีแล้ว ยังนำไปคิดในการจ่ายค่าสัญญาสัมปทานตามเงื่อนไขของแต่ละราย ซึ่งการต่อสู้ของผู้ให้บริการก็อ้างเหตุผลตรงนี้

'ตามประกาศกทช.แล้วเงินที่เหลือในระบบเป็นลาภที่เอกชนมิควรได้ ต้องเป็นของผู้บริโภค'

นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สบท. กล่าวว่า กรณีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบกับภาพรวมในหลายด้านคือ 1.เร่งการใช้งาน 2.เร่งการเติมเงิน 3.เติมเดือนละ 300 บาท แต่ใช้เพียง 200 บาท 4.มีการเติมเกิน 60 ล้านเลขหมายต่อเดือนคิดเป็นมูลค่า 6 พันล้านบาทต่อเดือน 5.บางส่วนที่คงเหลือจะถูกยึดหากไม่เติมเพิ่ม

ผู้อำนวยการ สบท. มองทางออกว่า ควรกำหนดวันใช้งานขั้นต่ำ 6 เดือนหรือ 1 ปี กำหนดวิธีการคืนเงินที่สะดวกและเป็นธรรม กำหนดวิธีการลงทะเบียน กำหนดขั้นต่ำของการเติมเงินที่ไม่สูงเกินไป เช่น 30 บาท

ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะยังหาทางออกกที่ชัดเจนไม่ได้ในการคืนเงินกับผู้บริโภค แต่ก็ยังมีความพยายามในการแก้ปัญหา นั่นคือเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคกิจการโทรคมนาคม (สบท.) และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แถลงภายหลังการหารือกับผู้แทนนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้ โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินที่มีกว่า 60 ล้านเลขหมาย ซึ่งถูกตัดเงินหรือยึดเงินเนื่องจากจำนวนวันหมดอายุก่อน โดยมีมูลค่ามหาศาลว่า เบื้องต้นเห็นว่าผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือต้องปฏิบัติตามประกาศข้อ 11 ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่ไม่สามารถยึดหรือตัดเงินดังกล่าวได้ แต่ยังมีข้อโต้แย้งที่ผู้ให้บริการและผู้บริโภคอาจไม่สามารถตกลงกันได้ จึงเห็นช่องทางที่ สคบ.จะดำเนินการฟ้องร้องแทนผู้บริโภค หรือการไกล่เกลี่ยหรือฟ้องคดีแทนผู้บริโภคที่เสียหายเพื่อ เป็นการลดภาระและลดขั้นตอนในการทำงานลง

ทั้งนี้ก็เพื่อจะสร้างให้เกิดความเท่าเทียม แม้ว่าจะไม่ได้ร้องเรียนเข้ามา เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป

ก็ได้แต่หวังว่าจะคืนความยุติธรรมให้ผู้บริโภคได้ในเร็ววัน

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง