เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2554 เวลา 08.30-12.00 น. ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินซ์ จ.เชียงใหม่ เภสัชกร สมชาย ละอองพันธุ์ ผู้ประสานงานศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีจำนวนผู้เข้าฟังการบรรยาย ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภาคเหนือ 19 จังหวัด
รายละเอียดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ถูกนำเสนอ ดังนี้
ความสำคัญของการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหตุผลการพัฒนาระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มิใช่การที่ สคบ.หรือ อย.ถ่ายโอนภารกิจงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคแก่ท้องถิ่น แต่จุดมุ่งหมายสำคัญ คือ การต้องลดอำนาจรัฐ เพิ่มพลังอำนาจประชาชน ถือเป็นหลักสำคัญของการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป้าหมายของการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคจำเป็นต้องมีเป้าหมายเช่นเดียวกับการเตะลูกฟุตบอลเข้าประตู สำหรับเป้าหมาย คือ การต้องสร้างการมีส่วนร่วมของ 3 ขา(ภาคส่วน) คือ การอาศัยองค์ความรู้จากฝ่ายวิชาการ ภาคการเมืองต้องเปิดพื้นที่สาธารณะ และฝ่ายประชาสังคมต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างนโยบายสาธารณะด้านคุ้มครองผู้บริโภคในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่พึงประสงค์ คือ ต้องให้เกิดการเข้าถึง ความเป็นธรรม ความเสมอภาค และความปลอดภัย
- รูปแบบด้านคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 3 รูปแบบ
3.1)ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.2)ศูนย์พิทักษ์ผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำงานแบบกึ่งอิสระ
3.3)ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำงานในลักษณะองค์การอิสระ โดย
1) คณะทำงานศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคมีที่มาจากภาคประชาชนจากทุกกลุ่มในชุมชน ด้วยจิตอาสา
2 )บทบาทและหน้าที่ ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ด้านคุ้มครองผู้บริโภค โดยอาศัยทุนทางสังคมในการขับเคลื่อนงานภายใต้กรอบภารกิจซึ่งได้รับถ่ายโอนงานจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สร้างกลไกด้านคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ ประกอบด้วย กลไกร้องเรียน ไกล่เกลี่ย กลไกพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค แกนนำ กลไกการชดเชยค่าเสียหาย เป็นต้น
3) งบประมาณ เน้นการพึ่งตนเองอาศัยเงินจากกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่และกองทุนสัจจะออมทรัพย์ในพื้นที่ และควรต้องมีระบบการตรวจสอบที่ชัดเจน
การบรรยายครั้งนี้ผลที่ได้รับ
การร่วมแลกเปลี่ยนระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสบการณ์ และได้นำเสนอรูปแบบดังกล่าวแก่หน่วยงานระดับนโยบายด้านคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศเพื่อผลักดันให้เกิดการแพร่ขยายของแนวคิดและรูปแบบการทำงาน
ปลูกฝังแนวคิดการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคแก่เจ้าหน้าที่ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระ(องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล) ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 95 ยังไม่ขาดความพร้อมในดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ร่วมกันพัฒนาระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคใน อปท.ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
Relate topics
- เทป สงขลาโมเดล เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ลุงประสิทธิ เชิงแส
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรโอเดียน ประจำเดือนตุลาคม 58 ณ ห้างฯโอเดียน เมือวันเสาร์ที่ 3 ต.ค.58 ลูกค้าคึกคักทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
- สจรส.ม.อ.ร่วมงานสนับสนุนเทศกาลกินเจ หาดใหญ่ 2558 กินเจ ถูกปาก ถูกใจ ถูกอนามัย ไร้แอลกอฮอล์ โดยมีงานแถลงข่าว เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 24 ก.ย.58 ณ วัดถาวรวร
- คณะศึกษาดูงานจากเทศบาลตำบลกำแพงเพชร ณ ตลาดเกษตร ม.อ.
- อาจารย์มนทิรา คณะอุตสาหกรรมเกษตร ลงพื้นที่สวนกง เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อเตรียมอบรมเรื่องมาตรฐานการผลิตอาหารทะเลแปรรูป