ภายหลังจากการประชุมสภาความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหารโซนคาบสมุทรสทิงพระแล้ว ทางกลุ่มเครือข่ายเกษตรอำเภอระโนดก็เร่งทำงานสานต่อที่เคยพูดคุยในหลักการไว้ จนกระทั่งสามารถรวมกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจในการทำงานกลุ่มจนกระทั่งสามารถเปิดตัวในนาม"เครือข่ายเกษตรอินทรีย์สีเขียวอำเภอระโนด"ขึ้น โดยมีการให้ตัวแทนคือ คุณชัยวัฒน์ ชนะสงคราม ระดมความคิดเห็นเรื่อง การออกแบบตราสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม ก่อนที่จะออกมาเป็นสัญลักษณ์อย่างที่เห็นผ่านการพูดคุยหลายรอบครับและผมเองมีส่วนช่วยเสริมด้วยการใช้เทคโนโลยีคือการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ออกมาเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม
เครื่อข่ายเกษตรอินทรีย์สีเขียวอำเภอระโนด มีการพูดคุยกันตลอด กล่าวคือทุกวันพุธ เหตุที่เป็นวันพุธ เพราะเห็นว่าเกษตรกรที่เป็นสมาชิกมาจำหน่ายอาหารแล้วก็เป็นโอกาสที่ดีในช่วงบ่ายจะได้ประชุมเลยที่เดียว แต่บางช่วงที่สภาพอากาสไม่เอื้อก็จะไม่ประชุม ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เข้าใจ หากไม่สามารถมีการประชุม
จากการขับเคลื่อนงานที่ผ่านมา พวกเราคงต้องยอมรับว่า เกษตรกรมีทั้งตัวจริงและตัวจริงน้อย เพราะคงต้องยอมรับว่าหลายคนมีข้อจำกัดหลายประการ ทำให้การรวมกลุ่มบางคนขาดหายไปบ้าง แต่ด้วยความตั้งใจแล้วหากโครงการจำหน่ายผักปลอดสารพิษเห็นผล คงจะมีเกษตรกรหลายคนที่เฝ้าดูอยู่ห่างจะมีความไว้วางใจเข้ามาร่วม
ในการพูดคุยต่อเนื่อง 6 ครั้งของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์สีเขียวอำเภอระโนด คือ การจะขับเคลื่อนให้ได้ผลต้องอาสัยเวลา ความอดทน และจริงใจ เราพบว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามามีส่วนร่วมที่ขาดไม่ได้ กล่าวคือ ต้องมาช่วยบริหารจัดการเรื่องเอกสาร เช่น ประชุมทุกครั้งต้องเก็บเป็นเอกสาร ต้องสรุปเป็นเอกสารรายงานการประชุม ต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกเครือข่ายได้มีส่วนร่วม เช่น กรณีคุณชัยวัฒน์ที่ร่วมกันออกแบบสัยลักษณ์เครือข่ายเกษตรอินทรีย์สีเขียวอำเภอระโนด หรือกรณีคุณพี่สุรินทร์ที่คิดแบบฟอร์มการสมัครสมาชิกเครือข่าย
หลายคนบอกว่า ไม่มีเงินทำได้อย่างไร เงินเป็นแค่น้ำมันเครื่องที่คอยหล่อลื่น ตอนนี้เครื่อข่ายฯมีการบริหารจัดการระดับหนึ่ง เงินมาจากไหน ก็มาจากข้อตกลงของเครือข่ายว่าหากนำเอาผลิตผลมาจำหน่ายจะต้องหักเข้ากองกลางร้อยละ 5 มีระบบบริหารจัดการที่โปร่งใส่ และที่กำลังพัฒนาไปคือ การร่วมลงหุ้นหุ้นละ 100 บาทแต่ห้ามเกิน 5 ห้น เพื่อให้มีงบประมาณดำเนินการกิจกรรมต่อไปได้
บางครั้งภาครัฐก็ต้องเข้ามาซื้อใจ กล่าวคือ เต็นท์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลอดสาร ทางโรงพยาบาลสนับสนุนโดยให้ยืมเงิน แล้วค่อยคืนในช่วงมีกำไร หรือการให้ยืมโต๊ะพับสำหรับตั้งจำหน่ายอาหารปลอดสารมีกำหนด 3 เดือน แล้วค่อยให้กลุ่มฯซื้อเป็นของเครือข่ายเอง อันนี้ถือเป็นกลยุทธ์ที่ดี เพราะภาครัฐส่วนใหญ่เวลาจะทำอะไรมักจะเน้นการทุ่มเงินลงไปไม่เคยคิดถึงผลที่ตามมา การที่ทำแบบนี้จะทำให้กลุ่มนั้นอยู่ได้ไม่นาน แต่หากเราให้ทุกคนมาร่วมลงทุนทุกคนจะรู้สึกอยากเป็นเจ้าของกลุ่มเครือข่าย
สิ่งหนึ่งที่ได้รับคือ ภาครัฐมีอำนาจทุกอย่าง คือ มีคน มีเงิน หรือแม้แต่อุปกรณ์แต่สำคัญรัฐเองต้องใจเย็นและอาศัยการซื้อใจของผู้ที่ทำงานด้วยให้ใช้พระคุณแทนที่จะใช้พระเดช
เขียนโดย เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ โรงพยาบาลระโนด
- รายงานการประชุมคร้งที่ 1 - ดาวน์โหลด
- รายงานการประชุมครั้งที่ 2 - ดาวน์โหลด
- รายงานการประชุมครั้งที่ 3 - ดาวน์โหลด
- รายงานการประชุมครั้งที่ 4 - ดาวน์โหลด
- รายงานการประชุมครั้งที่ 5 - ดาวน์โหลด
- ใบสมัครสมาชิก - ดาวน์โหลด
- แนวทางการขับเคลื่อนงานเกษตรอินทรีย์สีเขียวอำเภอระโนด - ดาวน์โหลด
- mindd map.ประชุมขับเคลื่อนอาหารปลอดภัยโซนคาบสมุทรสทิงพระ โรงพยาบาลสทิงพระ 31-8-51.pdf - ดาวน์โหลด
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)