ร้องเรียนเรื่อง ปฏิเสธการรักษาผู้ป่วย
เรียน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนสราญรมย์
ข้าพเจ้านางอิษะฎา เอียดคง (081-8912238โทรมาสอบถามได้(E mail pry22a2512@hotmail.com.)
เป็นมารดาเด็กชายภณ เอียดคง อายุ 10 ปี แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นสมาธิสั้น HN 03623/51 ได้รับรักษาที่
รพ.สวนสราญรมย์มาตลอด ปัจจุบัน ON ยา concerta(36) 1xAM ( ที่อยู่ปัจจุบันอำเภอขนอม จ.นครศรีฯ)
เหตุการณ์เมื่อ 31 สิงหาคม 2554 เวลา ประมาณ 8.40-11.30 น ข้าพเจ้าและลูกชายได้ไปตรวจเพื่อรับยาต่อ
(กินยาเฉพาะไปเรียน ในช่างปิดเทอมและวันหยุด ไม่ได้กินยา ส่งเสริมด้วยการเรียนวาดรูป) นัดเมื่อ พ.ค.54 ข้าพเจ้ามารับยาไม่ตรงนัด แต่คิดว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะยังใช้ยาสม่ำเสมอมิได้ขาดในช่วงไปโรงเรียนและไม่มีอาการเร่งด่วน ประกอบกับข้าพเจ้าไปเรียนต่อ น่าจะใช้ยาที่เหลือให้หมดก่อน แล้วค่อยมาพบแพทย์
ข้าพเจ้ายื่นบัตรตามขั้นตอน และได้สอบถามถึงการรับบริการที่ OPD ว่าถ้ามาผิดนัด จะได้ตรวจมั้ย พยาบาล ตอบว่าได้ตรวจ แต่ต้องตามลำดับความแร่งด่วนได้แยกสีไว้ข้าพเจ้าได้สีขาว พยาบาลบอกไม่เกินเที่ยง เมื่อไปถึงจิตเวชเด็ก พยาบาล(พิชชาวดี เพ็ชรทอง) เรียกไป บอกว่าไม่ได้พบแพทย์เพราะมาผิดนัด ข้าเจ้าได้ชี้แจงเหตุผลแล้ว ผิดนัดจริงแต่ไม่ได้ขาดยา ขอยาไปกินช่วงเด็กไปเรียนจนถึงนัดได้มั้ย เพราะลูกอยู่ในช่วงใกล้สอบจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆ และร้องขอพบแพทย์ พยาบาลคนดังกล่าวปฏิเสธ (เลื่อนนัดเป็นวันที่ 22/09/2554 )จึงได้ร้องขออีก พยาบาล เข้าไปพบแพทย์และนำลายมือแพทย์มายืนยันว่าแพทย์ไม่ยอมให้พบ
ข้าพเจ้า : “ทำยังไงลูกถึงจะมียากิน มียาขายที่ไหนบ้างที่พอจะซื้อกินไปก่อนได้”
พยาบาล : “ไม่ทราบ แนะนำ รพ.มหาราช วันนี้ช่วงช่วงบ่าย มีคลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่นมีจิตแพทย์เด็กมาใหม่”
ข้าพเจ้า : “จะมียาตัวที่กินอยู่หรือเปล่า ประสานให้ได้มั้ย จะได้ไม่เสียเที่ยว”
พยาบาล : “คงไม่ได้ ต้องไปติดต่อเอาเอง”
ข้าพเจ้า : “ต้องไปนครหรือ ถ้าอย่างนั้นพอจะให้รายละเอียดข้อมูลการรักษาไปได้มั้ย จะได้สะดวกและ รวดเร็ว ไม่ทราบจะไปทันหรือเปล่าตอนนี้ใกล้เที่ยงแล้ว”
หลังจากนั้นพยาบาล กลับออกมาพร้อมกับใบส่งตัว มายื่นให้ข้าพเจ้าโทรไปประสาน รพ.มหาราช เรื่องยา บอกว่าไม่มียาตัวที่ลูกกินอยู่ ข้าพเจ้าจึงเข้าห้องหมอโดยไม่ได้รับอนุญาต(แพทย์หญิงณัฐกานต์ วิฑูรย์ )ซึ่งเป็นหมอที่ดูแลรักษาลูกอยู่และไม่ยอมให้พบ(ก่อนเข้าไป ข้าพเจ้ารอดูจนแน่ใจว่าไม่มีผู้รับบริการรายอื่นตรวจอยู่)
ข้าพเจ้า : “ทำไมหมอถึงไม่ยอมให้พบไม่ตรวจและไม่ยอมให้ยาลูกชาย”
หมอ : “ ต้องเข้าใจนะ หมอมีงานเยอะ น้องรักษาไม่ต่อเนื่อง ขาดนัด ต้องมาเริ่มกันใหม่”
ข้าพเจ้า : “ทำไมต้องเริ่มกันใหม่ ลูกไม่ได้ขาดยา มาวันนี้ลางานทั้งพ่อแม่ ลูกก็ลาเรียนถ้าหมอไม่ให้ยาวันนี้
เขาจะไม่มียากิน และจะเรียนไม่รู้เรื่อง”
หมอ : “ หมอเข้าใจแต่การจะให้ยาหมอก็ต้องประเมินเด็กก่อน และสามารถขาดยาได้ไม่อันตรายถึงชีวิต ”
ข้าพเจ้า : “ พาลูกชายมาด้วย หมอจะประเมินมั้ย”
หมอ : “ เงียบ...... จะให้หมอช่วยอะไร”
ข้าพเจ้า : “ช่วยสั่งยาให้ลูกกินจนถึงวันนัดก่อนได้มั้ย”
หมอ : “ได้ .. งั้นหมอให้ยาถึงวันนัดก่อน”
ข้าพเจ้าออกมารอข้างนอก พยาบาลหัวหน้าตึกเข้ามาถามสีหน้าไม่พอใจที่ข้าพเจ้าเข้าห้องหมอเอง
และอ้างกฎระเบียบ ข้าพเจ้าบอกว่า กฎของคุณ คุณไม่เคยแจ้งให้ผู้ปกครองหรือผู้ป่วยทราบ และไม่เคยทราบมาก่อนว่าการมาผิดนัด ต้องเจอกับเรื่องราวแย่ๆแบบนี้ สรุปวันนั้นข้าพเจ้าได้ยามาให้ลูกชายก็จริง แต่นี่หรืองานบริการ
ของท่าน ถ้าเป็นพี่น้องชาวบ้านตาดำๆ เขาจะทำอย่างไร
ประเด็นที่ 1 การไม่ไปตรวจรักษาตามนัด ต้องลงโทษผู้ป่วยและญาติ โดยการไม่ให้พบแพทย์และรับยาใช่หรือไม่
มีแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นที่ยอมรับ และประกาศให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนหรือไม่
ประเด็นที่ 2 เมื่อผู้ป่วยร้องขอพบแพทย์ ต้องการมารับบริการ ดูแล้วมีเวลาพอสำหรับการให้บริการแค่เพียง
5- 10 นาที แต่แพทย์กลับปฎิเสธ คิดว่ามีจรรยาบรรณในวิชาชีพหรือไม่
ประเด็นที่ 3 พยาบาลไม่ยินยอมให้ผู้ป่วยพบแพทย์เป็นการกระทำที่สมควรหรือไม่ ขาดซึ่งคุณธรรม และจริยธรรมของพยาบาลอย่างยิ่ง ทั้งที่ทราบเหตุผลของผู้ป่วยแล้ว เรียกได้ว่ายังห่างไกลความเป็นพยาบาลวิชาชีพ
ประเด็นที่ 4 การให้ผู้ป่วยไปรับยาที่อื่นซึ่งไม่เคยมีประวัติการรักษา ซึ่งมีระยะทางมากกว่า 200 กิโลเมตร ทั้งยังไม่ประสานให้ว่ามียาหรือไม่ เป็นการผลักใสไล่ส่งผู้ป่วยใช่หรือไม่ และไม่อยากให้บริการผู้ป่วย
สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับในวันนั้นข้าพเจ้าไม่เคยพบ และไม่คิดว่าจะได้พบ นี้เป็นเพียงสิ่งที่ข้าพเจ้าถ่ายทอด จากเหตุการณ์ในวันนั้น ความรู้สึกดีๆกับการบริการจิตเวชเด็ก หายไปจนหมดสิ้นที่เคยคิดว่านี่คือที่พึ่ง และความหวังก็กลายเป็น......... ข้าพเจ้าและลูกยังต้องมารับบริการต่อที่รพ.ของท่าน ขอให้ทานโปรดเห็นใจและให้บริการอย่าเท่าเทียม ตามสิทธิที่ได้รับตามสิทธิของผู้ป่วยอันพึงควรได้รับ และตักเตือนบุคลากรในแผนกจิตเวชเด็ก ไม่ควรปฏิบัติเช่นนี้กับผู้ป่วยทุกคน ผู้ป่วยอยู่ในมือท่านอยู่แล้ว จะบีบก็ตายจะคลายก็รอด ก่อนเขียนบันทึกฉบับนี้ ได้คิดทบทวนมา 2 สัปดาห์แล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงได้รับความกรุณา
ขอขอบพระคุณล่วงหน้าอย่างยิ่ง
อิษะฎา เอียดคง
14/09/2554