กิจกรรม

บรรยายแกนนำจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

by twoseadj @September,14 2011 10.44 ( IP : 118...50 ) | Tags : กิจกรรม

แม้เหตุการณ์ความไม่สงบจะส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนจาก 3 จังหวัด แต่เรื่องการละเมิดและเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลหรือ การถูกละเมิดสิทธิจากการบริโภคยังคงมีปรากฎให้เห็นไม่น้อยกว่าพื้นที่ใดของประเทศ การพัฒนาแกนนำเครือข่ายเพื่อการรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผู้บริโภคจาก 3 จังหวัดภาคใต้ขึ้น

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่ผ่านมา ทางศูนย์อบรมด้านสุขภาพภาคประชาชนจังหวัดยะลา ได้จัดนำเสนอผลการวิจัยชุมชนด้านคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ณ ห้อง สงขลา 1 โรงแรมบีพี สมิหลา บีช จังหวัดสงขลา บรรยายเรื่อง แนวทางการพัฒนาเครือข่ายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเภสัชกร สมชาย ละอองพันธุ์ ผู้ประสานวิชาการศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา มีแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้สนใจเข้าร่วมฟังจำนวน 60 คน รายละเอียด คือ

1)ความสำคัญของการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เหตุผลการพัฒนาระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มิใช่การที่ สคบ.หรือ อย.ถ่ายโอนภารกิจงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคแก่ท้องถิ่น แต่จุดมุ่งหมายสำคัญ คือ การต้องลดอำนาจรัฐ เพิ่มพลังอำนาจประชาชน ถือเป็นหลักสำคัญของการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2)เป้าหมายของการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคจำเป็นต้องมีเป้าหมายเช่นเดียวกับการเตะลูกฟุตบอลเข้าประตู สำหรับเป้าหมาย คือ การต้องสร้างการมีส่วนร่วมของ 3 ขา(ภาคส่วน)  คือ การอาศัยองค์ความรู้จากฝ่ายวิชาการ ภาคการเมืองต้องเปิดพื้นที่สาธารณะ และฝ่ายประชาสังคมต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างนโยบายสาธารณะด้านคุ้มครองผู้บริโภคในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่พึงประสงค์ คือ ต้องให้เกิดการเข้าถึง ความเป็นธรรม ความเสมอภาค และความปลอดภัย

3)รูปแบบด้านคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 3 รูปแบบ

3.1) ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3.2) ศูนย์พิทักษ์ผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำงานแบบกึ่งอิสระ

3.3) ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำงานในลักษณะองค์การอิสระ โดย

1) คณะทำงานศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคมีที่มาจากภาคประชาชนจากทุกกลุ่มในชุมชน ด้วยจิตอาสา

2 )บทบาทและหน้าที่ ดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ด้านคุ้มครองผู้บริโภค โดยอาศัยทุนทางสังคมในการขับเคลื่อนงานภายใต้กรอบภารกิจซึ่งได้รับถ่ายโอนงานจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สร้างกลไกด้านคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ ประกอบด้วย กลไกร้องเรียน ไกล่เกลี่ย  กลไกพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค แกนนำ  กลไกการชดเชยค่าเสียหาย เป็นต้น

3) งบประมาณ เน้นการพึ่งตนเองอาศัยเงินจากกองทุนสุขภาพระดับพื้นที่และกองทุนสัจจะออมทรัพย์ในพื้นที่ และควรต้องมีระบบการตรวจสอบที่ชัดเจน

การบรรยายครั้งนี้ผลที่ได้รับ

1.การร่วมแลกเปลี่ยนระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสบการณ์ และได้นำเสนอรูปแบบดังกล่าวแก่หน่วยงานระดับนโยบายด้านคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศเพื่อผลักดันให้เกิดการแพร่ขยายของแนวคิดและรูปแบบการทำงาน

2.ปลูกฝังแนวคิดการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคแก่เจ้าหน้าที่ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระ(องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล) ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 95 ยังไม่ขาดความพร้อมในดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ร่วมกันพัฒนาระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคใน อปท.ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง