อย.เดินเครื่อง มาตรการคุมฉลากอาหาร GDA เตรียมบังคับใช้ 24 ส.ค.นี้ เร่งอบรมผู้ประกอบการทำความเข้าใจ
วันนี้(4 ส.ค.) ที่รร.ริชมอนด์ จ.นนทบุรี นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการกว่า 400 คน เกี่ยวกับการใช้ฉลากโภชนาการ GDA(Guideline Daily Amount ) ว่า การที่ต้องเร่งให้ความรู้ ก็เพื่อจะเข้าใจในหลักการและนำไปปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง ซึ่ง อย.ออกเป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 ไปแล้วและจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 24 ส.ค. เป็นต้นไป โดยกำหนดให้แสดงค่าพลังงานตามรูปแบบฉลาก GDA ซึ่งต้องมีการแสดงค่า น้ำตาล ไขมันและโซเดียม กับอาหาร 5 ชนิด ได้แก่ มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ ข้าวโพดคั่วหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบหรือ อาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต และเวเฟอร์สอดไส้
"ฉลาก GDA ถือว่าเป็นบันไดขั้นแรกในการก้าวสู่วิธีคุมเข้มเรื่องรายละเอียดโภชนาการในอาหารซึ่งในอนาคตอาจจะมีฉลากรูปแบบอื่นที่เชิงเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งยังไม่อาจกล่าวได้ในตอนนี้ โดยในหลายๆประเทศ ก็มีการใช้ฉลาก GDA กันมานานกว่า 10 ปีแล้ว ทั้งนี้สำหรับผู้ประกอบการอาหารประเภทอื่น ที่นอกเหนือจาก 5 ชนิดที่สนใจในการใช้ฉลาก GDA ก็สามารถทำได้แต่ขอย้ำว่า ควรจะมีการขออนุญาตจาก อย.ก่อน เพื่อให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกกัน โดยขณะนี้มีอาหารแช่แข็ง และอาหารท้องถิ่น ที่นำเข้าจากต่างประเทศบางส่วนที่มีการใช้ GDA บ้างแล้ว” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
เลขาธิการ อย.กล่าวด้วยว่า หลังจากที่ประกาศของ อย.มีผลบังคับใช้แล้ว หากผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตาม จะต้องได้รับโทษปรับเป็นเงิน 3 หมื่นบาท อย่างไรก็ตามทันทีที่ประกาศมีผล อย.จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อดูว่า มีแนวโน้มอย่างไร ผู้ปฏิบัติการให้ความร่วมมือมากน้อยเพียงใด โดยจะเน้นตามห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นหลัก
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)