ไทยพร้อมผลิตวัคซีนหวัดใหญ่ “เชื้อเป็น” ในระดับอุตสาหกรรมปี 57 ยันผลทดลอง ปลอดภัยสูง แถมผลิตได้เร็วกว่า เชื้อตาย 30 เท่า เผย อย.ขึ้นทะเบียนแล้ว
จากกรณีที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้สนับสนุนงบประมาณ 150 ล้านบาท ให้ประเทศไทย เพื่อทำการพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อเป็น เพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ตั้งแต่ปี 2552 นั้น ขณะนี้ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้ดำเนินการแล้ว
โดยวันนี้ (3 ส.ค.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวในการแถลงข่าว “ความสำเร็จในการพัฒนาและผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อเป็น” ว่า หลังจากองค์การอนามัยโลก และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาวัคซีนชนิดนี้ อภ.ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยการแพทย์ หรือ IEM (Institute of Experimental Medicine) ที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัสเซีย ในการรับเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งเมื่อวันที่ 16 ก.ค.2552 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้นำหัวเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอช1เอ็น1 (H1N1 2009) มาถึงประเทศไทย ซึ่งเป็นเวลาที่ใกล้เคียงกับที่ประเทศไทยได้รับไข่ไก่ปลอดเชื้อจากประเทศเยอรมนี เพื่อใช้ในการผลิตวัคซีน
“สำหรับการพัฒนาและผลิตวัคซีนครั้งนี้ มี ดร.ไอรินา วี.คิเซเลวา นักวิทยาศาสตร์จากรัสเซีย เป็นผู้ทำการผลิตวัคซีนล็อตแรก และฝึกสอน ซึ่ง อภ.ยังได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ คือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้เวลาในการทดลองราว 2 ปี ในที่สุดจึงประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 ชนิดเชื้อเป็น แบบพ่นทางจมูก และได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้วเมื่อวันที่ 12 ก.ค.2554 อย่างไรก็ตาม แม้วัคซีนดังกล่าวที่ผลิตขึ้นมาได้ยังเป็นเพียงหัวเชื้อที่ยังไม่สามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ แต่ทางรัฐบาลได้อนุมัติงบ 1,411.7 ล้านบาท ในการสร้างโรงงานผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตาย ขึ้นที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ซึ่งโรงงานดังกล่าวมีศักยภาพในการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อเป็นได้ในกรณีที่เกิดการระบาดขึ้น” นพ.วิชัย กล่าว
ประธาน อภ.กล่าวด้วยว่า วัคซีนชนิดเชื้อเป็นมีข้อดี คือ ผลิตได้เร็วกว่าแบบเชื้อตายถึง 10-30 เท่า เนื่องจากสามารถพ่นเข้าจมูกได้เลย ขณะที่ประสิทธิผลในการรักษานั้น มีผลวิจัยรับรองจากทั่วโลกแล้วว่ามีประสิทธิผลไม่แตกต่างจากวัคซีนเชื้อตาย โดยคาดว่า โรงงานดังกล่าวจะสามารถเริ่มผลิตวัคซีนได้ในปี 2557 ส่วนวัคซีนชนิดเชื้อตาย อภ.จะนำไปทดลองต่อยอด และคาดว่า จะประสบความสำเร็จในปี 2555
พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม หน้าภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยามหิดล กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนในการทดลองวัคซีนเชื้อเป็นนั้น ใช้อาสาสมัครทั้งสิ้น 324 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กอายุ12-18 ปี กลุ่มอายุ 18-49 ปี และกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 49 ปีขึ้นไป และต้องไม่มีภูมิต้านทานเชื้อหวัด ใช้เวลาในการติดตามผลการทดลองทั้งหมดประมาณ 1 ปีครึ่ง พบว่าอาสาสมัครทุกคนปลอดภัย ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)