เรียบเรียงจากหนังสือเรื่อง Born to Buy แต่งโดย จูเลียต บี. ชอร์
เมื่อปี 2546 โครงการวิจัย Child Watch ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ระบุเด็กไทยเป็นนักบริโภค และติดวัตถุมากกว่าครอบครัวและศาสนา ในรอบ 1 เดือนพบว่า เด็กกินอาหารจานด่วนเฉลี่ยราว 3 ครั้ง ไปเดินห้างสรรพสินค้าประมาณ 4 ครั้ง ซื้อเครื่องสำอางค์บำรุงผิวประมาณ 2 ครั้ง นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กวัยรุ่นในต่างจังหวัดราวร้อยละ 50 ที่เข้าร้าน internet เป็นประจำ และร้อยละ 30 มีโทรศัพท์มือถือใช้และจากการที่เด็กวัยรุ่นใช้เวลาไปกับกระแสบริโภคนิยม และหมดเวลาไปกับการเดินห้าง หรือพูดคุยกับเพื่อน หรือเล่นเกมผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เด็กวัยรุ่นใช้เวลากับครอบครัวน้อยลงด้วย
กระแสบริโภคนิยมได้เข้าไปก่อร่างสร้างตัวในเด็กมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่เพียงแต่เด็กไทยเท่านั้นที่ต้องเผชิญวิกฤตนี้ เด็กทั่วโลกก็ไม่ต่างกัน
ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำผลงานวิจัยเชิงลึกของจูเลียต บี. ชอร์ ในหนังสือเรื่อง Born to Buy ที่ตีแผ่เทคนิคการโฆษณา และช่องทางในการเข้าถึงเด็กๆ ชาวอเมริกัน รวมถึงศึกษาผลกระทบจากวัฒนธรรมการบริโภคที่มีต่อจิตใจของเด็กเหล่านั้นด้วย โดยมีเด็กประถม 5 – 6 จำนวน 300 คนและผู้ปกครอง 25 คนเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ มานำเสนอ ท่านสามารถหาอ่านฉบับเต็มได้จาก คุณหนูนักช็อป เมื่อโฆษณาบอกให้ลูกคุณต้องซื้อ. จูเลียต บี. ชอร์ เขียน ศศิวรรณ ปริญญาตร แปล สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก,2553.
คุณหนูนักช้อป
งานวิจัย* ที่ทำกับเด็กอเมริกัน ฟันธงแล้วว่าเด็กที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการบริโภคมาก จะมีปัญหาทางจิตใจมากขึ้นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น หรือมีความรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า นอกจากนี้ยังมีสุขภาพแย่ลงด้วย
ในภาพรวมแล้วเด็กอเมริกันทุกวันนี้มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง ทั้งๆที่อัตราความยากจนไม่ได้สูงเหมือนเมื่อก่อน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีปัจจัยลบที่บั่นทอนสุขภาวะของพวกเขาอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่ว่านั้นได้แก่ค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับวัตถุและการบริโภค
ที่สำคัญการตลาดและโฆษณากำลังจู่โจมพวกเขามากขึ้นทุกวัน ในทุกที่ๆพวกเขาอยู่ จึงไม่ได้มีเพียง “เด็กมีปัญหา” เท่านั้นที่ถูกดึงเข้าสู่วังวนแห่งบริโภคนิยม
เรื่องที่คุณอาจรู้แล้วเกี่ยวกับกลยุทธ์การโฆษณา
1. โฆษณาจะนำเสนอภาพโลกของสินค้าดังกล่าวที่เป็นมิตรกับเด็ก โลกนั้นจะไม่มีครู ไม่มีพ่อแม่ที่น่ารำคาญ นี่คือโฆษณาที่สร้างขึ้นจากผลการวิจัยเรื่องเจตคติของเด็กต่อครูและพ่อแม่
โฆษณาจะต้องทำให้เด็กรู้สึกว่าพวกเขาจะไม่เอาไหน ไม่เท่ ถ้าพวกเขาไม่มีสินค้าตัวดังกล่าวในครอบครอง ขอบอกว่ากลยุทธ์นี้ได้ผลกว่าการบอกเด็กให้ไปซื้อสินค้านั้นมาด้วยซ้ำ
โฆษณาจะเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับความต้องการทางอารมณ์ของเด็กๆ เช่น การต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม โฆษณาจึงนิยมส่งสารไปยังเด็กๆว่า ซื้อสินค้าตัวนี้สิ แล้วหนูจะมีเพื่อนแน่นอน
โฆษณาที่จะได้ผลนั้นจะต้องทำให้เด็กเกิดความต้องการอย่างท่วมท้นด้วย เราจึงได้เห็นการสร้างความตื่นเต้นเร้าใจด้วยแสง เสียง หรือภาพคลื่นครีมมหึมา หรือทะเลช็อกโกแลต เสมอๆ
บริษัทมักอ้างว่าโฆษณาไม่ได้มีผลต่อเด็กมากมายอย่างที่ผู้ใหญ่หลายคนวิตกกัน แต่ก็ยังตอบคำถามไม่ได้ว่าทำไมถึงทุ่มเงินให้กับการโฆษณาเป็นเงินหลายพันล้านเหรียญต่อปี
กลยุทธ์การตลาดที่ผู้ประกอบการใช้ในการเข้าถึงเด็กๆ
สร้างอาณาจักรที่ทำให้เด็กรู้สึกเป็นอิสระได้โดยผ่านทางการบริโภค
เมื่อเด็กมีเงินใช้มากขึ้น หัวใจของวัฒนธรรมการบริโภคของพวกเขาคือการได้รู้สึกพิเศษเหนือคนอื่นๆ บริษัทต่างๆจึงพยายามปรับราคาสินค้าขึ้น เพื่อจะได้ดูเป็นสินค้า “เกินเอื้อม” และทำให้เด็กๆหลงใหล อยากเป็นเจ้าของมากขึ้น
สิ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จของการทำการตลาดสินค้าสำหรับเด็กคือความเท่ทันสมัย เพราะนาทีนี้มันคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ได้ในชีวิตของพวกเขา
นักการตลาดรู้ว่าเด็กเล็กก็ดูรายการสำหรับวัยรุ่น หรือรายการสำหรับผู้ใหญ่ และเด็กทุกคนก็มีความต้องการลึกๆที่ “อยากจะเป็นผู้ใหญ่” จึงจงใจนำเสนอสินค้าที่ “แก่กว่าวัย” ให้กับกลุ่มเป้าหมาย
5. การสื่อสารสองความหมายก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ เช่น ในการโฆษณาอาหารสำเร็จรูปยี่ห้อหนึ่ง เนื้อหาที่ส่งไปยังพ่อแม่คืออาหารดังกล่าวมีวิตามินและทำจากวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ในขณะที่บอกกับเด็กๆ ว่าอาหารนั้นทานแล้วสนุกสนาน มีเพื่อนมากมาย
มีงานวิจัยที่ระบุว่าครอบครัวที่มีเวลาให้ลูกน้อยจะให้เงินลูกใช้มากขึ้นเพื่อเป็นการ “ไถ่บาป” และการใช้เงินทดแทนเวลานั้นเป็นสิ่งที่แม่นิยมทำมากกว่าพ่อ นักการตลาดจึงไม่พลาดโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากความรู้สึกผิดดังกล่าว ด้วยการสื่อสารถึงเด็กๆว่าสินค้าต่างหากที่อยู่เคียงข้างพวกเด็กๆเสมอ (ไม่ใช่พ่อแม่)
นักการตลาดใช้วิธี “สร้างโลก 360 องศา” ด้วยการจู่โจมผู้บริโภคด้วยข้อมูลจากทุกด้าน ในสื่อทุกประเภท รวมถึงการตลาดแบบ “ใช้ดีแล้วบอกต่อ” ด้วย
เงินซื้อได้ทุกอย่าง นักการตลาดสามารถจ่ายเงินให้พ่อแม่เพื่อซื้อเวลาที่จะได้พูดคุยกับลูกของพวกเขาได้อย่างเป็นส่วนตัวแม้กระทั่งการมาถ่ายวิดีโอลูกของตนในห้องนอนหรือห้องอาบน้ำ
เด็กกับพลังตื๊อเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยกันดี แต่เรื่องใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นคือเด็กกำลัง “ฝึก” พ่อแม่ให้จัดหาสิ่งที่ต้องการให้โดยไม่ต้องร้องขออีกต่อไป เพราะเมื่อพ่อแม่เรียนรู้ว่าเด็กชอบหรือไม่ชอบอะไร ก็จะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ลูกไม่ชอบ เพราะไม่อยากเสียเงินหรือเวลาไปกับสิ่งที่ซื้อมาแล้วลูกจะไม่กิน ไม่ใช้ ซึ่งก็เข้าทางทั้งเด็กและทั้งคนที่จะหากำไรจากเด็ก
- สหรัฐอเมริกามีศูนย์การค้ากว่า 105,000 แห่ง เมื่อปลายปีพ.ศ. 2552 มีพื้นที่ช้อปปิ้งประมาณ 7,000 ล้านตารางฟุต เมื่อนำมาเฉลี่ยกับจำนวนประชากร 300 กว่าล้านคนแล้ว อเมริกันชนแต่ละคนจะมีพื้นที่ศูนย์การค้าประมาณ 23 ตารางฟุต - ข้อมูลจาก The International Council of Shopping Centers จากสถิติของกรุงเทพมหานคร เมื่อปีพ.ศ. 2551 กรุงเทพฯ มีศูนย์การค้าทั้งหมด 136 แห่ง (และตลาดนัดอีกนับไม่ถ้วน)
- อัตราการเป็นเจ้าของเครื่องรับโทรทัศน์ของอเมริกันชน เท่ากับ 740 เครื่องต่อ 1,000 คน (เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก เบอร์มิวดาและโมนาโค) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 86 ที่ 236 เครื่องต่อ 1,000 คน
Relate topics
- รณรงค์เลิกใช้โฟม
- รายการสงขลามหาชน ตัวอย่างอาหารของแม่ ตอน " บทบาทของพ่อ " อาหารของแม่ สร้างความอบอุ่นของครอบครัวกับมื้ออร่อยที่แม่บรรจงปรุงเพื่อลูก
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู( http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- ข่าวดีจะดัง ตอนที่ 265 โรงเรียนสุขภาพดี ของ อบต.ควนรู(7 เม.ย 5…: http://youtu.be/KsuLA7Fguy8 )
- รายการอาหารของแม่ ตอน " อาหารคือภาคีและพื้นที่ " เปิดอร่อยด้วย ยำบัวบก สูตรสมุนไพรภูมิปัญญาถิ่น อบต.ท่าข้าม ของป้ายุพา ผลชนะ