ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

องค์การหมอไร้พรมแดนหนุน ประเทศที่ถูกกีดกันจากสิทธิบัตรร่วม ประกาศใช้ซีแอล

by twoseadj @July,13 2011 09.31 ( IP : 182...15 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 250x249 pixel , 17,117 bytes.

องค์การหมอไร้พรมแดนเห็นว่า ข้อตกลงที่บริษัทยา กิลิแอด (Gilead) อนุญาตให้ยาต้านไวรัสติดสิทธิบัตรหลายตัว จัดการโดยองค์กรจัดการสิทธิบัตรยาร่วม (Medicine Patent Pool) จะสามารถพัฒนาการเข้าถึงยาได้ในประเทศยากจน แต่ได้จำกัดสิทธิของผู้ติดเชื้อในประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากออกไป


“ข้อตกลงดังกล่าว ถือเป็นการพัฒนาขึ้นจากสิ่งที่บรรษัทยาข้ามชาติกำลังทำเพื่อการเข้าถึงยาต้านไวรัสของผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนา” นางมิเชล ไชด์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายของฝ่ายรณรงค์เข้าถึงยาจำเป็น องค์การหมอไร้พรมแดนกล่าว “แต่ข้อน่าห่วงใยคือ บ.กิลิแอดไม่ได้ทำมากกว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่เดิม ทั้งที่จริงควรทำมากกว่านี้เพื่อให้ระบบจัดการร่วมสิทธิบัตร หรือ Patent Pool สามารถเป็นทางออกเพื่อการเข้าถึงยาของผู้ติดเชื้อถ้วนหน้า ดังนั้น ข้อตกลงนี้จึงไม่ควรเป็นต้นแบบของข้อตกลงอื่นๆในอนาคต”


ในด้านบวก ข้อตกลงดังกล่าวได้ครอบคลุมถึงยาต้านไวรัสตัวใหม่ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลอง 2 ตัว คือ cobicistat และ elvitegravir นอกเหนือจากยาต้านไวรัส Tenofovir ที่สำคัญแล้ว ซึ่งนี่จะสามารถสร้างความมั่นใจให้ประเทศกำลังพัฒนาในการเข้าถึงยาเทียมเท่ากับประเทศร่ำรวย


ข้อตกลงดังกล่าว อนุญาตให้บริษัทยาชื่อสามัญมาขอเพื่อไปผลิตยาสูตรรวมเม็ด หรือขนานสำหรับเด็ก แต่ยังระบุถึงกลไกยืดหยุ่นในความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยหากประเทศใดถูกยกเว้นไม่ให้เข้าใช้สิทธิบัตรยานี้ บริษัทยาชื่อสามัญสามารถจำหน่ายให้ประเทศนั้นๆได้ หากรัฐบาลของประเทศนั้นประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิหรือ CL และหากในประเทศที่กิลิแอดไม่ได้สิทธิบัตรบริษัทยาชื่อสามัญก็สามารถยกเลิกข้อตกลงได้ทันที โดยข้อตกลงทั้งหมดต้องเปิดเผยต่อสาธารณะเพื่อความโปร่งใส


ในด้านลบ ข้อตกลงนี้ละเลยเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาสาธารณสุขจากปัยหาเอชไอวีเอดส์ โดยจำกัดการแข่งขันด้านราคา โดยอนุญาตให้ประเทศอินเดียเท่านั้นที่ทำการผลิตได้ และจำกัดแหล่งวัตถุทางยา และที่สำคัญที่สุด ยังละเลยผู้ติดเชื้อในประเทศกำลังพัฒนาที่มีฐานะปานกลางออกไปจำนวนมาก อาทิ ประเทศแถบละตินอเมริกา, ยุโรปตะวันออก และ อาเซียน รวมทั้งจีนด้วย หลายประเทศในจำนวนนี้คือประเทศที่มีโครงการให้ยาต้านไวรัสกับผู้ติดเชื้อมานานกว่าทศวรรษ ซึ่งต่างจากใบอนุญาตใช้สิทธิบัตรฉบับแรกของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIH) ที่ให้กับประเทศกำลังพัฒนาทุกประเทศ หากกลไกสมัครใจเช่น ระบบการจัดการสิทธิบัตรร่วม หรือ Patent Pool ไม่สามารถรับรองการเข้าถึงยาของประชาชนได้ ประเทศที่ถูกกีดกันออกไปต้องตัดสินใจใช้มาตรการที่เข้มข้น เช่น การประกาศซีแอล


“หลายประเทศดูแลให้การรักษาผู้ป่วยของตัวเองพอได้ แล้ว หากประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาถูกกีดกันออกไปจากข้อตกลงเช่นนี้ รัฐบาลในประเทศนั้นๆต้องพิจารณาใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิหรือซีแอลเพื่อแก้ปัญหาสิทธิบัตรที่ขวางการเข้าถึงยาอยู่”


สำหรับแนวความคิดเริ่มแรกในการจัดการสิทธิบัตรยาร่วม (Patent Pool) นั้นมุ่งหมายให้ใบอนุญาตสิทธิบัตรครอบคลุมทุกประเทศ โดยบริษัทยาชื่อสามัญใดที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดสามารถขออนุญาตเพื่อผลิตและจำหน่ายยาที่ติดสิทธิบัตรโดยจ่ายค่าสิทธิบัตรในราคาที่ไม่แพงนัก แต่ในข้อตกลงครั้งนี้ ประเทศที่มีศักยภาพด้านการผลิตยาชื่อสามัญอย่างไทยและบราซิลถูกกีดกันออกไป และยังไม่แก้ปัญหาให้ประเทศอย่างจีน ที่ยาเทโนฟโฟเวียร์ติดสิทธิบัตรอยู่ (ยาดังกล่าวไม่มีสิทธิบัตรในไทยและบราซิล)

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง