ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) และอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการเสวนาวิชาการเรื่อง "ข้อเท็จจริงยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน” วันที่ 11 กรกฎาคม ว่า ตรวจสอบพบข้อมูลจากร้านขายยามีการซื้อยาคุมกำเนิดฉุกเฉินไปใช้ราวปีละ 8 ล้านแผง หรือราว 2 หมื่นแผงต่อเดือน สะท้อนว่าเป็นการใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ อีกทั้งยังพบว่าวัยรุ่นนั้นมีความเข้าใจผิดเรื่องการใช้ยาดังกล่าวอย่างมาก เช่น เข้าใจผิดว่ายานี้คุมกำเนิดได้ 100% ทั้งที่ในความเป็นจริงประสิทธิภาพของยาคลาดเคลื่อนได้ คือ อาจแปรผลเป็นร้อยละ 70-90 และหลายคนเชื่อว่า ยาคุมฉุกเฉินสามารถใช้ได้ทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งในความจริงเพื่อความปลอดภัยไม่ควรที่จะทานเกิน 2 แผงต่อเดือนต่อคน
นอกจากนี้ปัญหาที่ซับซ้อนมากกว่าการบริโภคยาดังกล่าวแบบพร่ำเพรื่อแล้ว ยังมีวัยรุ่นบางรายมีปัญหาเรื่องระยะเวลาในการกินยา และมักตีความหมายข้อบ่งชี้การใช้ยาตามที่ฉลากระบุผิดไป เพราะโดยทั่วไปยา 1 แผง จะมีตัวยาอยู่ 2 เม็ด และต้องแบ่งเวลาในการทานให้ถูกต้องตามข้อบ่งชี้ คือ เม็ดแรกทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์หรืออย่างน้อย 3 วัน เม็ดที่ 2 ทานหลังจากเม็ดแรก 12 ชั่วโมง แต่หลายคนเข้าใจคลาดเคลื่อน บางคนกินคู่กัน ขณะที่บางคนทานไม่ตรงต่อเวลา ส่งผลให้ประสิทธิภาพของยาลดลงไปด้วย ดังนั้น ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงพยายามหาทางแก้ไขข้อผิดพลาดและพยายามนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องออกเผยแพร่แก่ประชาชน
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)