ปลัด สธ.สั่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีเร่งหาสาเหตุการเสียชีวิตของชายชาวต่างชาติวัย 66 ปี เก็บตัวอย่างอุจจาระสงตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานี และรพ.อุดรธานี จะทราบผลใน 2-3 วันนี้ เบื้องต้นสันนิษฐานเหตุเสียชีวิตไม่น่าจะใช่เชื้ออี.โคไล โอ 104 ยันยังไม่มีผู้ป่วยจากเชื้อนี้ในไทย
จากกรณีที่มีชายชาวต่างชาติ อายุ 66 ปี เสียชีวิตหลังมีอาการถ่ายเหลว ขณะพักที่โรงแรมในจังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา ส่วนความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว วันนี้ (21 มิ.ย.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี ส่งหน่วยสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว ลงตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตของชายดังกล่าว ร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น อย่างไรก็ตาม จากรายงานเบื้องต้นคาดว่าไม่น่าจะมีสาเหตุจากเชื้ออี.โคไล โอ 104 เนื่องจากรายนี้เดินทางเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย. และเกิดอาการท้องเสียเมื่อวันที่ 18-19 มิ.ย. ซึ่งหากเป็นเชื้ออี.โคไล โอ 104 จากต่างประเทศ น่าจะมีอาการไม่เกิน 10 วัน หลังเดินทางเข้าประเทศ เพราะเชื้อนี้มีระยะฟักตัว 2-10 วัน ส่วนสภาพของอุจจาระที่ถ่ายเหลวออกมานั้น ยังบอกไม่ชัดเจนว่ามีมูกเลือดหรือไม่
“เจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างจากอุจจาระตามห้องน้ำ เสื้อผ้าของผู้เสียชีวิต ส่งตรวจเพาะเชื้อที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์จังหวัดอุดรธานี และรพ.อุดรธานี จะทราบผลใน 2-3 วัน พร้อมกันนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีได้ให้เจ้าหน้าที่ทำการเฝ้าระวังผู้สัมผัสอื่นที่เกี่ยวข้องเช่นแม่บ้านโรงแรม หรือร้านอาหารที่ผู้เสียชีวิตไปรับประทาน เพื่อติดตามอาการป่วยอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนประชาชนให้ดูแลความสะอาดของอาหารและน้ำดื่ม ล้างมือก่อนปรุงหรือรับประทานอาหาร และหลังจากใช้ห้องน้ำห้องส้วม ให้รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนกลางเมื่อกินอาหารร่วมกับคนอื่น และขอยืนยันว่าจนถึงขณะนี้ ในประเทศไทยยังไม่พบผู้ป่วยจากเชื้ออี.โคไล โอ 104” นพ.ไพจิตร์กล่าว
นพ.ไพจิตร์กล่าวว่า จากวิกฤติเชื้ออี.โคไล โอ 104 ที่เกิดขึ้นในยุโรป และประเทศต่างๆ ได้ตื่นตัวในเรื่องความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม นับเป็นโอกาสที่ไทยจะเร่งรัดมาตรการด้านความสะอาดของระบบสุขาภิบาลอาหารและน้ำดื่มทั้งประเทศ เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารอื่นๆที่พบในประเทศไทยอยู่แล้วด้วย ได้สั่งการให้เร่งยกระดับมาตรฐานความสะอาดร้านอาหาร แผงลอย ตลาดสดทุกประเภททั่วประเทศ ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งล่าสุดนี้มีนโยบายให้กรมอนามัยจัดหลักสูตรอบรมผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหาร เช่น ผู้ปรุงอาหาร พนักงานเสิร์ฟเป็นต้น และให้บัตรประจำตัว เป็นการแสดงว่าได้ผ่านการอบรม มีความรู้ในการประกอบอาหารอย่างถูกหลักอนามัยมาแล้ว เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในเรื่องความสะอาดยิ่งขึ้น
ด้าน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (22 มิ.ย.) จะมีการประชุมวอร์รูมโรคจากเชื้ออี.โคไล โอ 104 ที่กรมควบคุมโรคเวลา 08.00 น. เพื่อประเมินสถานการณ์และวางมาตรการควบคุมป้องกันที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย จากการเฝ้าระวังสถานการณ์โรคทางเดินอาหารที่สำคัญในประเทศตั้งแต่ 1 มกราคม ถึงปัจจุบัน มีทั้งหมด 633,206 ราย เสียชีวิต 28 ราย พบมากที่สุดคือโรคอุจจาระร่วง จำนวน 583,501 ราย เสียชีวิต 26 ราย รองลงมาคือ โรคอาหารเป็นพิษ ป่วย 44,555 ราย โรคทางเดินอาหารที่พบเกิดจากการติดเชื้อในประเทศ เช่น เชื้อบิดชิเกลลา (Shigella) เชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส (Vibrio Parahaemolyticus) เชื้ออี.โคไลซึ่งเป็นชนิดไม่รุนแรง ยังไม่พบเชื้ออี.โคไลชนิดรุนแรงโอ
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)