จากข่าวการระบาดของเชื้อ Enterohaemorrhagic หรือ E.Coli ในประเทศเยอรมันพบมีผู้ติดเชื้อกว่า 1500 รายและเสียชีวิตไปแล้ว 17 ราย โดย 1 เสียชีวิตในประเทศสวีเดน เชื้อ E.Coli ที่เกิดการระบาดในครังนี้เป็นสายพันธุ์ O104 ซึ่งเป็นสายพันธุ์รุนแรงที่ก่อให้เกิดอาการ haemolytic-uraemic syndrome (HUS) คือ มีอาการ ท้องเสียอย่างรุนแรง ถ่ายเป็นเลือดและการทำงานของไตล้มเหลว และเป็นสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมกว่าสายพันธ์อื่นๆสามารถพบได้ในดินหรือปุ๋ยที่ปลูกพืชผัก
โดยปกติ E.Coli เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในลำไส้ของมนุษย์และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์แต่ก็สามารถสร้างพิษทำให้เกิดอาหารท้องเสียได้ ส่วนสาเหตุการระบาดในครั้งนี้สันนิษฐานว่าเกิดจากการปนเปื้อนของ E.Coli ในผักสด และแตงกวาที่นำเข้าจากประเทศสเปน โดยปกติการปนเปื้อน E.Coli นั้นพบได้ในอาหารที่ปรุงไม่สุก จำพวกเนื้อสัตว์ ไข่ไก่ และผัก,ผลไม้สด ในระหว่างที่มีการระบาดเกิดขึ้นในเยอรมัน นั้นได้ออกประกาศเตือนให้ประชาชนระมัดระวังในการบริโภคผักสด จำพวกแตงกวากระหล่ำ มะเขือเทศ และผักสลัดต่างๆ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มาจากตอนเหนือของประเทศ และหากจะบริโภคผักสด ควรปอกเปลือก และล้างให้สะอาดก่อนบริโภคทุกครั้ง
สาเหตุการระบาดของ E.Coli ที่ผ่านๆมานั้นเกิดจาก
1) เนื้อที่ผ่านกระบวนการจำพวก เคบับ, ซาลามี่ และ แฮมเบอร์เกอร์
2) ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม เนย ชีส โยเกิร์ต และไอศครีม
3) ผักสลัด โควสลอร์ กะหล่ำ ผักโขม หัวไชเท้า
4) ผลไม้ จำพวก แตงโม องุ่น และน้ำแอปเปิ้ล
5) การระบาดทางน้ำ เช่น น้ำในทะเลสาป, สระว่ายน้ำ
กลุ่มเสี่ยงต่อการรับเชื้อ E.Coli คือผู้สูงอายุและเด็ก หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง แต่จากสถานการณ์การระบาดในประเทศเยอรมัน พบผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อาจเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้สด สำหรับการระบาดในครั้งนี้พบผู้ติดเชื้อ 87% อยู่ในวัยผู้ใหญ่ และ 68% เป็นผู้หญิง
เคล็ดลับในการป้องกันการติดเชื้อ E.coli
1) ล้างมือทุกครั้งก่อน,ระหว่างและหลัง ปรุงอาหาร และทำความสะอาดอุปกรณ์ในครัว ภาชนะจาน ชาน มีด เขียง และพื้นผิวครัวด้วยน้ำร้อนหรือสบู่ ทุกครั้งหลังการเตรียมเนื้อสัตว์ดิบ หรือใช้กระดาษเช็ดทำความสะอาดและทิ้งทันที
2) ควรแยกภาชนะ และเขียงที่ใช้สำหรับเนื้อดิบและเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก อย่าใช้ภาชนะเดียวกัน หากจำเป็นควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง
3)ใช้เขียงที่แตกต่างกันสำหรับการเตรียมเนื้อสด ผักและผลไม้ เนื่องจากแบคทีเรียสามารถซึมเข้าไปในรอยแตกก็ผิวไม้
4) แยกเนื้อดิบ, สัตว์ปีก, และอาหารทะเลจากอาหารอื่น ๆ ในตู้เย็นของคุณ.
5) ปรุงอาหารให้สุกทุกครั้ง, ไข่, เนื้อสัตว์, สัตว์ปีก, เนื้อหมูและเนื้อ
6) ล้างผัก ผลไม้ ให้สะอาดทุกครั้งก่อนจะนำไปบริโภค
ที่มา http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/06/03/entry-1
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)