ป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันพอสมควรกับ การฉายโฆษณา ในโรงภาพยนตร์ที่นานเกินควร จนมีชาวโซเชียลเน็ตเวิร์คถึงกับตั้งหน้าเพจในเฟสบุคเป็น “เครือข่ายคนรักหนังต่อต้านการโฆษณามหาโหดของโรงหนังเครือหนึ่ง” ซึ่งว่าไปแล้ว โดยปกติก่อนจะเริ่มฉายภาพยนตร์ ต้องมีการโฆษณาสินค้า และตัวอย่างหนัง เป็นการเรียกน้ำย่อยและฆ่าเวลา รอผู้ชมเข้ามาในโรงภาพยนตร์ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะฉายเรื่องนั้นๆ
ก่อน หน้านี้ ผู้ชมเองก็เห็นว่าการโฆษณาเป็นเรื่องปกติ จนกระทั่งพักหลัง เครือภาพยนตร์หลายแห่งในประเทศไทย ฉายโฆษณากินระยะเวลานาน จนมีกระแสเริ่มบ่นกันว่า ต้องมานั่งชมโฆษณาไปกว่าครึ่งชั่วโมง ทั้งเสียเวลา เสียค่าตั๋วหนังแล้วยังจ้องเสียอารมณ์อีก กว่าจะเริ่มฉาย และนั่นเองเป็นที่มาของประเด็นที่พูดถึงกันว่า กรณีเช่นนี้ เป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคหรือไม่
เคยมีกรณีเช่นเดียวกันกับหญิงสาวชาวจีนรายหนึ่ง ชื่อว่า น.ส.เฉิน เฉียวเหมย ใจเด็ดเรียกร้องสิทธิโดยฟ้องโรงภาพยนต์ โพลีโบนา อินเตอร์เนชันแนล ซีเนมา ในเมืองซีอาน หลังจากที่ต้องมาอารมณ์เสียกับตัวอย่างภาพยนตร์นานกว่า 20 นาที ก่อนที่จะฉายภาพยนตร์เรื่อง อัฟเตอร์ช็อค ที่เธอต้องการจะดู
ทั้ง นี้ เฉียวเหมย ระบุว่า เธอถูกเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าของโรงภาพยนตร์ รวมถึงผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่เธอเข้าชม เพราะก่อนที่จะเข้าโรงหนัง ไม่มีแจ้งเตือนก่อนฉายภาพยนต์ว่า จะมีการฉายโฆษณาสินค้ายาวนานกว่า 20 นาที จนศาลเมืองซีอาน รับคำร้องของเธอเป็นที่เรียบร้อย โดยเรียกร้องให้คืนค่าตั๋วจำนวน 35 หยวน ค่าเยียวยาจิตใจ อีก 35 หยวน พร้อมทั้งคำขอโทษอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของโรงภาพยนตร์
ความ ใจกล้าของ เฉียวเหมย ทำให้ใครหลายๆคนมองว่าเธอเป็นคนสติเพี้ยน เพราะไม่มีใครกล้าทำเช่นนี้มาก่อน แต่แล้วจนกระทั่งเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อนับวันโฆษณาในโรงภาพยนตร์ยาวนานขึ้น มีการร้องเรียนไปยังสายด่วนราคาสินค้า 1569 ของกรมการค้าภายในเป็นจำนวนมาก ที่การกระทำดังกล่าวนั้น ประชาชนเริ่มรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม ยังไม่รวมถึงการจัดโปรโมชั่นสินค้าที่ไม่จริงใจและไม่ชัดเจน
อย่างไร ก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายออกมาควบคุม หรือห้ามฉายโฆษณายาวนานเกินควรของโรงภาพยนตร์ แต่มีพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เอาผิดกรณีที่ไม่ติดป้ายแสดงราคาชัดเจน ซึ่ง กรณีข้างต้นนั้นเข้าข่ายละเมิดสิทธิของผู้บริโภค หากไม่มีระบุระยะเวลาให้แน่ชัดว่า จะโฆษณานานเท่าใด ระยะเวลาของภาพยนตร์นั้นใช้เวลากี่ชั่วโมง
นอกจากนี้ มาตรการทางสังคมจากผู้บริโภคเอง เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะแสดงออกให้ผู้ประกอบการ ได้รับรู้ว่า สิทธิเหล่านี้ ผู้บริโภคกำลังถูกละเมิด แม้ว่า เสียงร้องเรียนจากผู้บริโภคจะไม่กระทบกับรายได้และกำไรจากผู้ประกอบการมาก นัก อย่างน้อย ผู้บริโภคหรือผู้ชมเท่านั้น ก็ได้รู้ว่า หากต้องเลือกดูภาพยนตร์สักเรื่อง คงจะไม่ไปใช้บริการอีก
และหากยังคงเป็นเช่นเดิม การแสดงออกของผู้บริโภคจะรุนแรงไปจนกลายไปสู่การ เลิก แบน ต่อต้าน ที่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ โดยหวังว่า ผู้ประกอบการจะเหลียวกลับมาให้ความสำคัญและความเป็นธรรมกับผู้บริโภค ในฐานะ “ผู้ให้บริการ” บ้าง ก่อนที่ปัญหาฝังลึกใน “ผู้ใช้บริการ” จนยากจะแก้ไข
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)