เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ ภายใต้การนำของสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมติดตามความคืบหน้าเรื่อง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2554 อันเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการเสวนา เรื่อง สังคมไทยไร้แร่ใยหินทำอย่างไร..เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554 ณ ห้องกังดาร โรงแรมเอเชี่ยน หาดใหญ่ จ.สงขลา เวลา 13.00-15.00 น. โดยมีตัวแทนผู้ร่วมเสวนา คือ รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปนานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ในฐานะกรรมการพิจารณาร่าง กม. อีกท่านคือ อาจารย์ชะโลม เกตุจินดา สมาคมเพื่อผู้บริโภคจังหวัดสงขลา หนึ่งในกรรมาธิการภาคประชาชน มีเภสัชกร สมชาย ละอองพันธ์ ผู้ประสานงานวิชาการศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา มีผู้เข้าร่วมฟังการเสวนาในครั้งนี้ ประมาณ 60 คน ประกอบด้วย กลไกจังหวัดทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้
"องค์การอิสระฯถือเป็นเครื่องมือใหม่ มาแก้ปัญหาหรืออุดช่องโหว่ด้านคุ้มครองผู้บริโภค"
รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปนานนท์ ได้ให้ความรู้ถึงที่มาของ การจัดตั้งองค์การอิสระฯว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงเจตนาของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 61วรรคสอง"ให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นในการตรา ออก กฎ ระเบียบ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค การตรวจสอบการกระทำหรือละเว้นการกระทำ อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค" ถือเป็นองค์การอิสระที่ต้องมีการตรากฎหมายตามที่รัฐธรรมนูญ การแสดงเจตนาเรื่อง องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนับเป็นครั้งที่ 2 แล้ว นับแต่มีการบัญญัติไว้ใน ม.57 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540
การมีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค แล้วอย่างนี้ต้องยุบหน่วยงานอื่นทิ้งหรือเปล่า
รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปนานนท์ ได้ให้ความชัดเจนในประเด็นเรื่องนี้ว่า หน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน เช่น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ยังคงทำหน้าที่ต่อไปเช่นเดิม แต่องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จะมาช่วยเสริมหรืออุดช่องโหว่ของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค
ยกตัวอย่าง กรณี การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น แร่ใยหิน หรือ การแสดงฉลากสีของซองขนม ที่พบว่า มีความเกี่ยวพันกับหลายหน่วยงาน การมีองค์การอิสระฯจะทำให้มาตรการที่มีฉันทามติได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
หรือกรณีการมีข้อมูลผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมา พบว่า หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจะไม่กล้าเปิดเผยผลการวิเคราะห์หรือข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคได้ เพราะองค์การอิสระฯดังกล่าว มีหน้าที่ที่กฎหมายให้การรองรับ
ภาคประชาชนใช้เวลาต่อสู่กับการให้ได้มีองค์การอิสระฯ มาอย่างน้อย 14 ปี
อ.ชะโลม เกตุจินดา ที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บริโภคจังหวัดสงขลา กล่าวในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการธิการตัวแทนภาคประชาชน ซึ่งมีโอกาสเข้าไปประชุมร่วมกับตัวแทนคณะกรรมการพิจารณาร่าง กม.ฉบับนี้ ว่า การต่อสู้และรอคอยของตัวแทนผู้บริโภคเป็นมาอย่างยาวนาน อย่างน้อย 14 ปี รัฐมนตรีอย่างน้อย 8 คน หลายรัฐบาลการเข้าไปเป็นหนึ่งในคณะกรรมการธิการพิจารณาร่างกม. พบว่า คณะกรรมการตัวแทนจากภาคประชาชนมีความมุ่งมั่นตั้ืงใจ และขยันมาก แต่ประเด็นที่มีการโต้แย้งกันมากที่สุดคือ ประเด็นเรื่องจำนวนรายได้ขององคืการอิสระฯที่จะตกลงกันอยู่ที่กี่บาท เพราะในที่ประชุมเห็นว่า ควรจัดสรรให้รายหัวประชากรละ 3 บาท ส่วนประเด็นอื่นก็มิได้มีการถกเถียงกันมากนัก
สำหรับผู้บริโภคที่จะเข้าไปมีบทบาทคือ การต้องเตรียมองค์กร ชมรมหรือกลุ่มผู้บริโภค เพื่อการคัดเลือกเป็นตัวแทนองค์กรผู้บริโภค เพื่อเป็น
Relate topics
- เทป สงขลาโมเดล เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ลุงประสิทธิ เชิงแส
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรโอเดียน ประจำเดือนตุลาคม 58 ณ ห้างฯโอเดียน เมือวันเสาร์ที่ 3 ต.ค.58 ลูกค้าคึกคักทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
- สจรส.ม.อ.ร่วมงานสนับสนุนเทศกาลกินเจ หาดใหญ่ 2558 กินเจ ถูกปาก ถูกใจ ถูกอนามัย ไร้แอลกอฮอล์ โดยมีงานแถลงข่าว เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 24 ก.ย.58 ณ วัดถาวรวร
- คณะศึกษาดูงานจากเทศบาลตำบลกำแพงเพชร ณ ตลาดเกษตร ม.อ.
- อาจารย์มนทิรา คณะอุตสาหกรรมเกษตร ลงพื้นที่สวนกง เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจกับชุมชนเพื่อเตรียมอบรมเรื่องมาตรฐานการผลิตอาหารทะเลแปรรูป