บทความ

รัฐล้มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ถอดบทเรียน 25 ปีหายนะเชอร์โนบิล

by twoseadj @April,28 2011 10.06 ( IP : 202...129 ) | Tags : บทความ
photo  , 250x188 pixel , 64,267 bytes.

ปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่กำลังจะผุดขึ้นในประเทศไทยเวลานี้ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนอย่างทั่ว ถึง....

มหันตภัยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ประเทศยูเครน เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2529 ซึ่งครบรอบถึง 25 ปีเต็ม ประกอบกับวิกฤตการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะที่กำลังเกิดขึ้น ณ เวลานี้ ปลุกกระแสความตื่นตัวของประชาชนทุกภาคส่วนให้หันกลับมาทบทวนว่า มนุษยชาติยังมีความต้องการพึ่งพาพลังงานชนิดนี้อีกหรือไม่ เพราะท้ายที่สุดก็เป็นที่พิสูจน์แล้วว่า นิวเคลียร์คือพลังงานที่แฝงเร้นไปด้วยรังสีอำมหิต สามารถกลืนกินชีวิตผู้คนได้ทั่วทั้งทวีป โดยที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้

ในโอกาสครบรอบ 25 ปีเชอร์โนบิล กลุ่มกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้จัดงานรำลึกถึงหายนะที่เกิดขึ้น เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งขณะ นี้มีอยู่ 52 แห่งทั่วโลก และหลายประเทศยังมีแผนการก่อสร้างขึ้นอีกหลายแห่ง

กล่าวเฉพาะในประเทศไทยได้มีแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2553-2573 (พีดีพี 2010) ซึ่งตั้งเป้าว่าจะผุดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้น 5 แห่ง ได้แก่ อุบลราชธานี นครสวรรค์ ตราด ชุมพร และสุราษฎ์ธานี เพื่อเพิ่มกำลังผลิตให้ได้ 5,000 เมกะวัตต์ ภายใน 20 ปีข้างหน้า

ทว่า...หากถามประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง เกือบร้อยทั้งร้อยไม่มีใครต้องการ!

ทั้งนี้ กลุ่มกรีนพีซได้ออกมาเรียกร้องรัฐบาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ยก เลิกแผนพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยของประชาชน โดยขอให้สนับสนุนพลังงานทางเลือกและการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลัง งงานไฟฟ้าที่มีอยู่ให้มากขึ้น แทนการใช้ไฟฟ้าจากถ่านหินและนิวเคลียร์ ซึ่งสุดแสนสกปรกและอันตรายอย่างถึงที่สุด

นอกจากนี้ กลุ่มกรีนพีซยังได้ร้วมกับภาคประชาสังคมเปิดตัว “เครือข่ายคนไทยไม่เอานิวเคลียร์” พร้อมจัดเวทีเสวนาสาธารณะ ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬสลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันหาทางออกในการพลังงานที่ยั่งยืนในอนาคต

นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ นักวิชาการเครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง กล่าวว่า เหตุการณ์วิกฤตโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลผ่านมา 25 ปี มีตัวเลขผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอย่างเป็นทางการ 4,000 คน แต่จากการสำรวจข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ พบว่า อาจมีผู้ป่วยพุ่งสูงถึง 9 แสนคน เนื่องจากเป็นการสะสมในระยะยาว โดยคนเหล่านี้เป็นผู้ที่ถูกหลงลืมและไม่มีใครแสดงความรับผิดชอบ

นายวิฑูรย์ กล่าวว่า สิ่งที่น่าจับตาคือแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ใหญ่อยู่ในแถบทวีป เอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีนจีนซึ่งมีเตาปฏิกรณ์ถึง 16 เตา และเตรียมจะสร้างอีก 62 เตา เพื่อเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า 8 หมื่นเมกะวัตต์

นอกจากนี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไต้หวันยังอยู่ใกล้ประเทศเทศไทยมากที่สุดเพียง 2,000 กิโลเมตร ซึ่งในช่วงที่มีการทดลองเดินเครื่องเมื่อปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าเกิดการรั่วไหลของกัมมันตรังสี โดยทางการไต้หวันก็ออกมายอมรับในเรื่องนี้

ขณะที่แผนพีดีพี 2010 ของประเทศไทย ได้มีการศึกษาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 แห่ง แม้ว่ารัฐจะประกาศให้เลื่อนการศึกษาออกไปอีก 3 ปี แต่ก็ไม่กล้าตัดสินใจยกเลิกเด็ดขาด

“ขอเรียกร้องให้ที่ประชุมคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติในวันที่ 27 เม.ย. ยุติแผนการศึกษาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด เนื่องจากในแผนพีดีพี 2010 มีการคาดการณ์ตัวเลขการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงเกินจริง และใช้เป็นข้ออ้างในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” เขากล่าว

เขากล่าวว่า ตามแผนพีดีพี 2010 ระบุว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 6.5 หมื่นเมกะวัตต์ แต่หากคำนวณตามสถิติการใช้พลังงานจริงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีค่าเฉลี่ยเพียง 830 เมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งจะพบว่าประเทศไทยต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเพียง 15% เท่านั้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และสามารถตัดงบประมาณก่อสร้างลง ได้ถึง 1.8 ล้านล้านบาท

“เข้าใจว่าการประชุมคณะกรรมการพลังงานแห่ง ชาติอาจจะเป็นนัดสุดท้ายของรัฐบาลชุดนี้ ถ้ารัฐบาลต้องการคะแนนเสียงก็ควรตัดแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทิ้งไป ไม่ใช้ให้เลื่อนการศึกษาเพิ่มเติมออกไปอีก 3 ปี” นายวิฑูรย์ กล่าว

นายวิฑูรย์ กล่าวว่า นอกจากนี้ภาคประชาชนสามารถมีส่วมร่วมในการใช้พลังงานได้ โดยพบว่าหากเปลี่ยนมาใช้หลอดผอม (ที 5) 83 ล้านหลอดทั่วประเทศ จะมีค่าเท่ากับกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 1 โรง ขณะเดียวกันกลุ่มอุตสากรรมขนาดใหญ่และอาคารพาณิชย์ต่างๆ ต้องลดการใช้ไฟฟ้าให้ได้ 100 หน่วยต่อตารางเมตรต่อปี

“รัฐต้องหามาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ ไฟฟ้ามากขึ้น โดยเชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายใหญ่มาหารือถึงแผนการลดพลังงานในอาคารร่วม กัน หรืออาจเริ่มต้นที่หน่วยงานภาครัฐเพื่อเป็นต้นแบบ เช่น อาคารกระทรวงพลังงาน ศูนย์ราชการ สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น” นายวิฑูรย์ กล่าว

เขาระบุว่า เหตุการณ์วิกฤตโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลและฟูกุชิมะแสดงให้เห็นชัดว่าโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ไม่ใช้พลังงานสะอาดอีกต่อไป ฉะนั้นต้องเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนอย่าให้ถูกมอมเมาด้วยมายาคติ เหล่านี้

ด้านนายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า แผนการสร้างโรงไฟฟ้า 5 แห่ง เพื่อผลิตไฟฟ้า 5,000 เมกะวัตต์ ต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 4.22 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 10% ของงบประมาณแผ่นดิน

“หากมีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นจริงเชื่อว่าประเทศไทยจะไม่สามารถ เตรียมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ เห็นได้จากปัญหาน้ำท่วมและดินถล่มภาคใต้ รัฐบาลยังไม่สามารถจัดการได้” นายธารา กล่าว

นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าสูงสุดคือภาคอุตสาหกรรม 50% อาคารพาณิชย์ 25% และภาคครัวเรียน 25% ซึ่งหากทุกฝ่ายสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ 10% ก็ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

นายเดชรัตน์ กล่าวว่า นอกจากนี้รัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 1.2 หมื่นเมกะวัตต์ ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แต่อย่างใด

ปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่กำลังจะผุดขึ้นในประเทศไทยเวลานี้ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนอย่างทั่ว ถึง ที่สำคัญรัฐจะต้องไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง เลิกมอมเมาประชาชน และต้องยอมรับเสียทีว่า แท้จริงแล้วนิวเคลียร์คือพลังงานสกปรก

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง