มีรายงานข่าวจากสมาคมเพื่อผู้บริโภครัฐปีนัง(CAP:Consumer Association of Penang)ถึงการเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งชาติมาเลเซีย ยกเลิกการนำเข้าและใช้สารฆ่าแมลง คาร์โบฟูแรน
เมื่อต้นปีที่ผ่านมาชาวนาในเมือง เปดัง รัฐเคดาห์ ต้องสูญเสียเงินกว่า 30,000 ริงกิตมาเล เนื่องจากวัวจำนวน 18 ตัวได้ตายลงเนื่องจากการไปเข้าไปกินหญ้าในนาข้าวที่อยู่ในบริเวณหมู่บ้านดังกล่าวซึ่งมากใช้สารเคมีในการเกษตร
จากการสำรวจล่าสุดพบว่า มีการใช้สารคาร์โบฟูแรนในการปลูกข้าวโพดเพื่อการป้องกันการกัดกินของแมลงศัตรูพืช ที่สำคัญที่พบบ่อย คือการปลูกแตงโมซึ่งเกษตรกรจะผสมคาร์โบฟูแรนลงในดินเพื่อป้องกันการถูกแมลงทำลายผลผลิตของเกษตรกร
ขณะนี้หลายประเทศซึ่งตระหนักถึงพิษเฉียบพลันของคาร์โบฟูแรน จนทำให้ประเทศในยุโรป ประเทศแคนนาดา ได้ยกเลิกการใช้สารดังกล่าวตั้งแต่ ค.ศ.2008 จนล่าสุด กรมควบคุมมลพิษ(EPA:Environmental Protection Agency) แห่งสหรัฐอเมริกาได้มีคำสั่งยกเลิกการใช้และนำเข้าสารดังกล่าว
คาร์โบฟูแรน (Carbofuran) เป็นยาฆ่าแมลงประเภทคาร์บาเมต มีลักษณะเป็นเม็ดคล้ายทรายหยาบสีม่วงวางจำหน่ายในชื่อการค้าว่า ฟูราดาน (Furadan) โดยบริษัท เอฟเอ็มซี คอร์ปอเรชัน และชื่อการค้า คูราแทร์ (Curater) นิยมใช้กำจัดศัตรูพืชหลายชนิด ทั้ง มันฝรั่ง ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าว พริกไทย(ทั้งดำและขาว) มะม่วง แตงโม กล้วย อ้อย และมะเขือม่วง เป็นต้น
คาร์โบฟูแรนเป็นยาฆ่าแมลงชนิดดูดซึมเข้าสู่ราก ลำต้น และใบ มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบประสาทที่รวดเร็วและรุนแรง มีฤทธิ์การทำลายสูง (มีค่า LD50 สำหรับหนู ประมาณ 8-14 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับสุนัข ประมาณ 19 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) แค่ฟูราดาน 1/4 ช้อนชา ส่งผลให้เกิดอาการพิษ คือ อาการต่อระบบประสาททำให้เกิดอาการวิงเวียน อาเจียน สับสน มึนงง หากมีการรับสารพิษจากฟูราดานบ่อยๆจะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ อาจก่อให้เกิดอาการอัมพาตของอวัยวะที่ควบคุมการหายใจ ที่สำคัญคือ จะมีพิษทำลายระบบประสาทแบบถาวรและระบบสืบพันธุ์ได้
สถานการณ์ที่ผู้บริโภคในปัจจุบันในมาเลเซีย พบว่า มีความเสี่ยงต่อการได้รับพิษจากคาร์โบฟูแรน(ฟูราดาน) เนื่องจากการปนเปื้อนในน้ำและผลิตผลทางการเกษตรที่มีการใช้สารเคมีดังกล่าวอย่างกว้างขวางและขาดระบบการควบคุมที่ดีพอ
สารฟูราดานถือเป็นสารก่อเกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมมาก เนื่องจากหากมีการใช้จะพบว่าจะมีฤทธิ์ความเป็นพิษคงค้างในดินยาวนาน(ค่าครึ่งชีวิตยาวนานกว่า 60 วัน) คาร์โบฟูแรนจะมีการตกค้างในดินและบริเวณบริเวณผิวน้ำ มีรายงานในปี ค.ศ.1967 พบว่า ส่งผลให้นกหลายล้านตัวตายเนื่องจากไปกินเมล็ดของผลผลิตที่เกษตรปลูกโดยใช้สารคาร์โบฟูแรน และส่งผลเป็นลูกโซ่กับสิ่งมีชีวิตอื่นของห่วงโซ่อาหาร
แปลและเรียบเรียงโดย เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ ผู้ประสานงานด้านวิชาการศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสงขลา
Relate topics
- ใบสำคัญรับเงิน
- ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติ จะนะ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย อ.จินตนา เจริญเนตรกุล ได้จัดอบรมการแปรรูปอาหารทะเล เช่น การทำข้าวเกรียบ
- บรรยากาศการแสดงโขนเฉลิมพระเกียรติ สุดยอดความอลังการ หนึ่งในกิจกรรมงานอาหารของแม่ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่ของแผ่นดิน ณ ถนนสเน่หานุสรณ์
- บรรยากาศงานตลาดนัดเกษตรกรโอเดียน ประจำเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ 4 ก.ค.58 โดยภายในตลาดไดมีคุณวรรณา สุวรรณชาตรี ผู้ประสานงานโครงการประชุมและเยี่ยมชมตลาด
- วันนี้ โครงการอาหารเป็นยา ปีที่ 2 อาหารเป็นยาสมุนไพร: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา (Food as herbal medicine: A case study of Songkhla province)