บทความ

กระเบื้องลอนกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง

by twoseadj @April,12 2011 23.54 ( IP : 202...65 ) | Tags : บทความ
photo  , 200x200 pixel , 55,647 bytes.

โดย ตรัย สัตตวัฒนา และ ณิชยา สุทธิพันธุ์

ในช่วงระยะเวลา 1-2 เดือนที่ผ่านมา มีข่าวเล็กๆ ที่อาจจะไม่เป็นที่สนใจของประชาชนและผู้บริโภคเท่าไหร่นัก  นั่นคือข่าว ว่าด้วยกระทรวงอุตสาหกรรมและรัฐบาลแสดงท่าทีต้องการที่จะ "แบน" แร่ใยหินประเภท Chrysotile ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบของกระเบื้องมุงหลังคาที่ชาวบ้านอย่างเราใช้กันมาช้า นาน  หลายคนอาจคิดว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องของผู้ผลิตกระเบื้องมุงหลังคา แต่แท้จริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวผู้บริโภคอย่างพวกเราชนิดที่เรียก ว่าประชิดติดศีรษะกันเลยทีเดียว

จุดเริ่มต้นของปัญหานี้มาจาก  เริ่มจากกลุ่มสมัชชาสุขภาพ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค และสมาพันธ์อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้ร่วมกันผลักดันให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติให้เสนอการยกเลิกการผลิตนำเข้า และส่งออกแร่ใยหินทุกชนิดเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เนื่องจากกล่าวอ้างข้อมูลว่าสินค้าที่มีส่วนผสมของแร่ใยหินอาจก่อให้เกิดโรค เป็นอันตรายต่อสุขภาพทางเดินหายใจและอาจเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ซึ่งปัจจุบันเรื่องดังกล่าวนี้ได้บรรจุอยู่ในวาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เรียบร้อยแล้ว โดยเข้าใจว่าหนึ่งในมาตรการสำคัญที่คณะกรรมการสุขภาพเสนอคณะรัฐมนตรีไปนั้น คือ การดำเนินการเปลี่ยน "กระเบื้องมุงหลังคาบ้าน" ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ "ทั่วประเทศ"

โดยในช่วงที่ผ่านมาผู้ผลิตกระเบื้องมุงหลังคาหลายราย ได้ออกมาให้ข้อมูลตอบโต้ว่าแร่ใยหินประเภท Chrysotile ไม่ใช่สารอันตรายและไม่ได้เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง นอกจากนี้ยังเป็นสารที่ทำให้กระเบื้องมุงหลังคามีความแข็งแรง คงทน และราคาถูก  และทำให้ชาวบ้านอย่างเราๆ ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคากันบ่อยๆ

มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระเบื้องมุงหลังคาที่มี ส่วนประกอบของ Chrysotile ที่รัฐบาลและพวกเราผู้บริโภคควรตระหนัก คือ คนไทยใช้กระเบื้องที่มีส่วนประกอบของ Chrysotile มา 70 กว่าปี โดยนอกจากจะไม่เคยมีปัญหาเรื่องสุขภาพแล้ว ในทางตรงกันข้าม ยังมีรายงานการวิจัยว่า ไม่เคยมีการพบโรคบิย์สสิโนสิส และโรคแอสเบสโทสิส (ซึ่งเอ็นจีโอที่สนับสนุนการห้ามใช้แร่ใยหินอ้างว่าเป็นโรคภัยที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพคนไทย) ในประเทศไทย (ดู รังสรรค์ ปุษปาคม, สมชัย บวรกิตติ “โรคบิย์สสิโนสิส และโรคแอสเบสโทลิส ไม่เคยพบในประเทศไทย”, สารศิริราช 2536; 45: 660-1 และ Somchai Bovornkitti, Mesothelioma without Exposure to Asbestos in Thailand, วารสารวิจัย ระบบสาธารณสุข ปีที่ 5, ฉบับที่ 1, มกราคม-มีนาคม 2554)  แต่อย่างใด

การที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับสุขภาพ สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องมั่นใจว่ารัฐบาลคิดครบถ้วนแล้วทุกประเด็น เพราะทันทีที่รัฐบาลโดยการแนะนำของเอ็นจีโอทางการแพทย์ ตัดสินใจประกาศห้ามใช้ ห้ามนำเข้าสาร Chrysotile (ซึ่งก็ยังมีการใช้ในหลายๆ ประเทศทั่วโลกอย่าง แคนาดา, บราซิล, อินเดีย, จีน หรือแม้แต่สหรัฐเอง) ก็จะทำให้เกิดกระบวนการรื้อถอนปรับเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาครั้งใหญ่ใน สังคมไทย ซึ่งจะมีปัญหาและคำถามจากคนในสังคมที่ตามมาคือ

ข้อแรก  รัฐบาลจะหาเงินที่ไหนมาเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาอาคารสถานที่ราชการทั่วประเทศ ข้อถัดมา คือ แล้วประชาชนอย่างพวกเราละ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาบ้านทั่ว ประเทศ และในเมื่อโรงเรียนรัฐบาลทั่วประเทศใช้กระเบื้องมุงหลังคาที่มีสาร Chrysotile อยู่ ผู้ปกครองจะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลหรือไม่ที่กระเบื้องมุง หลังคาโรงเรียน "อาจ" ทำให้ลูกหลานเป็นมะเร็ง หรือจะปล่อยให้เอ็นจีโอออกหน้าฟ้องรัฐบาลเรียกค่าเสียหาย หรือให้หยุดโครงการต่างๆ จนช็อคไปทั้งประเทศเหมือนกรณีมาบตาพุดอีก นอกจากนี้ ถ้าไม่ใช้สาร Chrysotile ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมกับอากาศร้อนชื้นแบบบ้านเราและราคาถูก การใช้สารทดแทนจะทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นแค่ไหน และเอกชนรายใดที่จะได้ประโยชน์

และที่น่าสนใจ คือ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันกับ  "บุหรี่" ซึ่งยอมรับกันทั่วไปว่า เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้อย่างชัดเจน รัฐบาลก็ยังไม่สามารถสั่ง "ห้ามการสูบบุหรี่" ได้ เพียงแต่มีมาตรการจำกัดอายุผู้ซื้อบุหรี่ หรือมาตรการเตือนผู้สูบบุหรี่ให้ตระหนักถึงภัยที่ "อาจ" เกิดจากการสูบบุหรี่

แต่สาร Chrysotile ซึ่งจนถึงตอนนี้ก็ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ากระเบื้องมุงหลังคาจะทำให้คนไทยเป็น มะเร็งปอดได้อย่างไร กลับกำลังจะถูกห้ามใช้ ห้ามนำเข้า ห้ามจำหน่าย คำถามก็คือ มาตรการของรัฐบาลนั้น "เหมาะสม" กับความเสี่ยงต่อสุขอนามัยจริงหรือไม่

ถึงแม้ว่าจะมีกลุ่มผู้ที่สนับสนุนการห้ามการใช้สารแร่ใยหินต่างพากันอ้าง ว่า หลายๆ ประเทศทั่วโลกก็ห้ามการใช้แร่ใยหิน แต่เราคงต้องถามต่อไปว่า แล้วมีอีกกี่ประเทศทั่วโลกที่ยังคงอนุญาตให้ใช้แร่ Chrysotile อยู่ และสำหรับประเทศที่มีการห้ามใช้แร่ใยหินนั้น รัฐบาลเขาประกาศล่วงหน้ากัน 5 ปี 10 ปี พร้อมทั้งต้องใช้งบประมาณรัฐมากมายแค่ไหนในการชดเชยค่าเสียหายแก่ภาคเอกชน และภาคประชาชน

ข้อมูลล่าสุดที่น่าสนใจคือ ศาลสูงสุดของอินเดีย เพิ่งมีคำสั่งเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาโดยปฏิเสธที่จะสั่ง "ห้ามใช้สาร Chrysotile" ตามที่กลุ่มเอ็นจีโอในอินเดียร้องขอโดยระบุว่า การ "แบน" สาร Chrysotile นั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และสั่งว่าแทนที่จะ "ห้ามใช้" รัฐบาลกลับมีหน้าที่ในการออก "มาตรการที่เหมาะสม" ในการ "ควบคุมการใช้" สาร Chrysotile และยังระบุว่า คำร้องขอให้ห้ามใช้สาร Chrysotile ที่ยื่นโดยกลุ่มเอ็นจีโอของอินเดียนั้นเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต มีเจตนาเพื่อเอื้อประโยชน์เอกชนบางราย และเป็นการใช้กระบวนการศาลเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน!

ก่อนที่รัฐบาลจะตัดสินใจทำอะไรลงไป คงต้องตรวจสอบและหาข้อมูลให้รอบคอบทุกฝ่าย ไม่ควรเลือกฟังแต่เอ็นจีโอและนักวิชาการที่สนับสนุนการห้ามใช้สารตัวนี้ จนกว่าจะมีการนำเสนอข้อมูลต่อสาธารณะอย่างรอบด้านเสียก่อน

หมายเหตุ ข้อมูลทางกฎหมายเพิ่มเติม อ่านได้จาก www.prachatai.com

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง