ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์

ผลวิจัยพบ "บัตรทอง" ทำโรงพยาบาลใหญ่เสี่ยงขาดดุลในอนาคต ยิ่งใช้ยิ่งขาดทุน

by twoseadj @April,09 2011 12.01 ( IP : 202...65 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 800x492 pixel , 85,524 bytes.

เมื่อ วันที่ 8 เม.ย. ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการอภิปรายและนำเสนอทางวิชาการ"สิงห์ดำ-สิงห์แดงสัมพันธ์ (โครงการนักบริหาร)" ครั้งที่ 1 มีการนำเสนองานศึกษาวิจัยของนิสิต-นักศึกษาป.โท คณะรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จำนวน 4 ผลงานด้วยกัน

นาวาอากาศเอก นพ. จักรกริช สีห์สุรไกร นิสิตป.โท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นำเสนอหัวข้อ "ผลกระทบของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อสถานะการคลังของโรงพยาบาลรัฐ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช" หัว ข้องานศึกษาดังกล่าวมีที่มาจากสภาพปัญหาที่นโยบายนี้ทำให้ประชากรผู้มีราย ได้น้อยเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีราคาแพงอย่างทั่วถึง แต่รัฐบาลกลับมีรายจ่ายงบประมาณสุขภาพเพิ่มมากขึ้น บางโรงพยาบาลไม่สามารถแบกรับได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อ สถานะการคลังของโรงพยาบาล

การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสำรวจเอกสารจากหน่วยงานต่างๆในรพ.ภูมิพลอดุลยเดชพบว่า โดย รวมแล้วนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชมีแนว โน้มที่จะขาดดุลการคลังในอนาคตและทำให้ขีดความสามารถในการให้บริการด้าน สุขภาพลดลง

ทั้งนี้ นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้เกิดการขาดดุลการคลัง ขาดดุลรายรับ-รายจ่าย เพราะ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายให้น้อยกว่าที่รพ.เบิกไป จากการเก็บข้อมูลยังพบอีกว่า รายจ่ายที่จ่ายจริงมีมากกว่ารายจ่ายที่เบิกได้ และยังเกิดค่าสาธารณูปโภคจากการให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอีก ด้วย

แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยในของรพ.ลดลง แต่ด้วยต้นทุนการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นจึงทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยใน ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสูงขึ้น นอกจากนี้ ดุลการคลังในระบบประกันยังมีแนวโน้มที่จะขาดดุลการคลังมากขึ้นเรื่อยๆ

ในด้านดุลการคลังในการดำรงขีดความสามารถการให้บริการของโรงพยาบาล เมื่อดูจากผลการศึกษาแล้วพบว่า นโยบาย หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสถานะการคลังของโรงพยาบาลจริง แม้ว่าดุลการคลังในระบบการบริการโดยรวมจะเกินดุลก็ตาม จากรายจ่ายด้านบุคลากรทางการแพทย์ที่จ่ายประมาณ 60-100 ล้านบาทต่อปีมีแนวโน้มคงที่ แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ประกอบกับรายจ่ายด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้รายจ่ายค้างจ่ายสำหรับการดำรงขีดความสามารถในการให้บริการมีแนวโน้ม ขาดดุลในอนาคต

ข้อสรุปจากการศึกษาผลกระทบของสถานะการคลังจากนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสามารถสรุปได้ 3 ข้อคือ

หนึ่ง ดุลการคลังโดยรวมของโรงพยาบาลยังไม่ขาดดุลในปัจจุบันแต่มีความเสี่ยงว่าจะขาดดุลในอนาคต

สองคือ พบว่ารพ.ขาดดุลการคลังในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพราะ สปสช.ทำให้เกิดหนี้สูญ กล่าวคือ จ่ายให้น้อยกว่าที่รพ.เบิกไป, มีค่าสาธารณูปโภคที่เกิดจากคนไข้ที่เพิ่มขึ้นในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และต้นทุนการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม รพ.ยังมีขีดความสามารถทางการคลังในปัจจุบัน สามารถรองรับการขาดดุลการคลังในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปอีกระยะหนึ่ง จึงทำให้มองไม่เห็นการขาดดุลนั้น

สามคือ ปัจจุบันโรงพยาบาลอยู่ในภาวะขาดดุลการคลังในการดำรงขีดความสามารถการให้ บริการทางการแพทย์ กล่าวคือ บริการทางการแพทย์อยู่ต่ำกว่าความต้องการการใช้บริการโดยรวม ผู้ป่วยจำเป็นต้องรอเมื่อมาขอใช้บริการ

สาเหตุของปัญหาดังกล่าวมาจาก ผลกระทบจากการขาดดุลในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และต้นทุนการให้บริการทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่าหากรัฐบาลยังต้องการดำเนินนโยบายนี้ต่อไปควรเพิ่ม จำนวนบุคลากรทางการแพทย์, เพิ่มจำนวนอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้พอกับความต้องการ, ให้ทางสปสช. หรือกรมบัญชีกลาง จ่ายหนี้ให้ครบนั่นคือ ค่ารายหัวผู้ป่วยนอกเพิ่ม และจ่ายค่าผู้ป่วยในให้ครบเพื่อรักษาระดับการคลังในการดำรงขีดความสามารถการ ให้บริการทางแพทย์

สุดท้ายคือ อาจจำกัดผู้ได้รับการบริการสุขภาพฟรี โดยจำแนกผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มรายได้น้อยให้รับบริการฟรี, กลุ่มรายได้ปานกลางให้ใช้ระบบร่วมจ่าย และกลุ่มรายได้สูงใช้ระบบจ่ายเองทั้งหมด

"จากที่วิจัยพบว่าโรงพยาบาลใหญ่มีแนวโน้มขาดดุลการคลัง แต่ก็ต้องมาเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลขนาดเล็กกว่าว่ามีผลเป็นอย่างไรจึงจะ เข้าใจผลกระทบมากขึ้น" นพ.จักรกริชกล่าว

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

กรุณาป้อน Username / Password ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้กับเว็บไซท์แห่งนี้ หรือ สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง